บอร์ดบีโอไอเห็นชอบมาตรการเร่งรัดการลงทุน ครอบคลุมคำขอตั้งแต่ 1 มกราคม 57 - เพิ่ม 10 กิจการเป้าหมายใน SEZ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเห็นชอบมาตรการเร่งรัดการลงทุน ครอบคลุมโครงการที่ยื่นขอส่งเสริมตั้งแต่ 1 ม.ค. 57 ถึง 30 มิ.ย. 59 ที่เริ่มผลิตหรือให้บริการได้ภายในปี 2560 โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีกไม่เกิน 4 ปี พร้อมเพิ่ม 10 ประเภทกิจการเป้าหมายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
          นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ภาคเอกชนเร่งเปิดโครงการ ทั้งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่ทั่วไป ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้มีการปรับปรุงเงื่อนไขในการให้ส่งเสริม โดยโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ที่เริ่มมีการผลิตหรือให้บริการภายในปี 2560 จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 1-4 ปี ซึ่งวิธีการให้สิทธิประโยชน์จะขึ้นอยู่กับมูลค่าเงินลงทุนจริงในแต่ละช่วงเวลาที่กำหนด ดังนี้

กรณี

เงื่อนไข

สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

พื้นที่ทั่วไป

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

1

มีการลงทุนก่อสร้างอาคารหรือซื้อเครื่องจักร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเงินลงทุนภายในมิ.ย.2559 

ยกเว้นเพิ่มเติม 4 ปี +ลดหย่อนร้อยละ 50 
5 ปี

ยกเว้นเพิ่มเติม 4 ปี +

ลดหย่อนร้อยละ 50

5 ปี

2

มีการลงทุนก่อสร้างอาคารหรือซื้อเครื่องจักร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเงินลงทุนภายในมิ.ย.2559

ยกเว้นเพิ่มเติม 3 ปี +ลดหย่อนร้อยละ 50 
5 ปี

ยกเว้นเพิ่มเติม 3 ปี +

ลดหย่อนร้อยละ 50

5 ปี

กรณี

เงื่อนไข

สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

พื้นที่ทั่วไป

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

3

มีการลงทุนก่อสร้างอาคารหรือซื้อเครื่องจักร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเงินลงทุนภายในธ.ค.2559

ยกเว้นเพิ่มเติม 2 ปี +ลดหย่อนร้อยละ 50 
5 ปี

ยกเว้นเพิ่มเติม 2 ปี +

ลดหย่อนร้อยละ 50

5 ปี

4

มีการลงทุนก่อสร้างอาคารหรือซื้อเครื่องจักร ไม่ถึงร้อยละ 50 ของเงินลงทุน ภายในธ.ค.2559 แต่สามารถเริ่มผลิตหรือให้บริการภายในปี 2560

ยกเว้นเพิ่มเติม 1 ปี

ยกเว้นเพิ่มเติม 2 ปี


เพิ่ม 10 กิจการเป้าหมายใน SEZ
          นางหิรัญญากล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้เพิ่มกิจการเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 10 ประเภทกิจการ ซึ่งเป็นธุรกิจที่สามารถเริ่มดำเนินการได้เร็ว นักลงทุนในท้องถิ่นมีศักยภาพที่จะดำเนินการผลิตและเป็นการผลิตสินค้าที่อยู่ในความต้องการของตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ 1. กิจการอบพืชและไซโล 2. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้หรือเศษวัสดุทางการเกษตร 3. กิจการผลิตโครงสร้างโลหะสำหรับงานก่อสร้างหรืองานอุตสาหกรรม 4. กิจการผลิตสิ่งพิมพ์ทั่วไป 5. กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์ 6. กิจการผลิตวัสดุก่อสร้าง และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงสำหรับงานสาธารณูปโภค (ยกเว้นกระเบื้องมุงหลังคาเซรามิกส์และกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง) 7. กิจการผลิตสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกาย เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน (ยกเว้นเครื่องสำอาง) 8. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับสินค้าอุปโภค 9. กิจการผลิตสิ่งของจากเยื่อหรือกระดาษ 10. กิจการพัฒนาอาคารสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและ/หรือคลังสินค้า
          ทั้งนี้ กิจการ 1-4 เป็นกลุ่มกิจการที่เปิดให้การส่งเสริมอยู่แล้วในปัจจุบัน จึงให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีและลดหย่อนร้อยละ 50 ในปีที่ 9-13
          ส่วนกิจการที่ 5-10 เป็นกลุ่มกิจการที่ถูกยกเลิกให้การส่งเสริม ไปแล้ว จึงได้กำหนดเงื่อนไขให้ยื่นขอรับการส่งเสริมภายในเดือนมิถุนายน 2559 และให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี
          เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 1-2 ครอบคลุม 90 ตำบล 23 อำเภอ ใน 10 จังหวัด ได้แก่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 1 จ.ตาก จ.มุกดาหาร จ.สระแก้ว จ.ตราด จ.สงขลา เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 จ.เชียงราย จ.หนองคาย จ.นครพนม จ.กาญจนบุรี จ.นราธิวาส
 

ข่าวหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการ+เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษวันนี้

บีโอไอเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่น จัดทัพสื่อญี่ปุ่นพิสูจน์ความพร้อมลงทุนในไทย

บีโอไอนำทัพผู้สื่อข่าวจากญี่ปุ่นพิสูจน์ความพร้อมลงทุนในไทย ย้ำนโยบายส่งเสริมการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย การลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งจัดเยี่ยมชมกิจการผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ในไทย และลงพื้นที่จังหวัดตากสร้างความเชื่อมั่นแผนรองรับลงทุนมุ่งสู่ศูนย์กลางการค้าและลงทุนในภูมิภาค นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้จัดกิจกรรมนำคณะผู้สื่อข่าวของประ

บีโอไอปลื้มผลสำเร็จจัดงานพบนักลงทุนในจังห... บีโอไอปลื้มผลพบนักลงทุนภาคตะวันออก มั่นใจนโยบายและมาตรการภาครัฐปลุกเศรษฐกิจปี 59 — บีโอไอปลื้มผลสำเร็จจัดงานพบนักลงทุนในจังหวัดชลบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ...

บอร์ดบีโอไออนุมัติส่งเสริมลงทุน 28,000 ล้าน

บอร์ดบีโอไอให้ส่งเสริมการลงทุน 3 กิจการใหญ่ รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 28,000 ล้านบาท ค่ายรถยนต์ "ซูบารุ" ขยายการลงทุนในไทย 5 พันล้านบาท นิคมอุตสาหกรรมเกิดใหม่ในชลบุรี ลงทุนรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่ง...

บอร์ดบีโอไอส่งเสริม “การเกษตรสมัยใหม่” พร้อมส่งเสริมให้เพิ่มขีดแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม - การเกษตร

บอร์ดบีโอไอสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรก้าวสู่ "อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่" โดยเปิดประเภทกิจการให้ส่งเสริม คือ "กิจการผลิตหรือให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่" พร้อมส่งเสริมให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและ...

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักน... วว.ลงนาม BOI สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์บุคลากรทักษะสูง — ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้...