ปูพรมพื้นที่บุณฑริก สศท.11 ศึกษาข้อมูล เนื้อที่-ต้นทุน-รายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 แจงผลศึกษาข้อมูลบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ระบุพื้นที่เหมาะสม-ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว เผยต้นทุนการผลิตและรายได้ของเกษตรกร แนะบริหารจัดการปรับปรุงบำรุงดิน และพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสู่การลดต้นทุน 
          นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 จังหวัดอุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาข้อมูล "การศึกษาการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี" โดยวิเคราะห์ศักยภาพทางกายภาพและเศรษฐกิจ ความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกข้าว ปี 2558 เพื่อเป็นฐานข้อมูลแนวทางในการวางนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน 
          ผลการศึกษา พบว่า อำเภอบุณฑริก มีเนื้อที่ความเหมาะสมของดินสำหรับปลูกข้าว รวมทั้งสิ้น 283,285 ไร่ โดยแยกเป็นดินสำหรับการปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมมาก (S1) จำนวน 1,588 ไร่ เหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 30,209 ไร่ เหมาะสมน้อย (S3) จำนวน 195,716 ไร่ ไม่เหมาะสม (N) จำนวน 55,772 ไร่ 
          เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่เหมาะสมมากและปานกลาง รวม 3,200 บาท/ไร่ จำแนกเป็นต้นทุนผันแปร 2,196 บาท/ไร่ ต้นทุนคงที่ 1,004 บาท/ไร่ ปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย 332 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ย 12.2 บาท/กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีรายได้หรือผลตอบแทนจากการผลิต 4,053 บาท/ไร่ ซึ่งเมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้วจะได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 852 บาท/ไร่ 
          สำหรับพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตข้าวนาปี รวม 2,631 บาท/ไร่ จำแนกเป็นต้นทุนผันแปร 1,627 บาท/ไร่ และเป็นต้นทุนคงที่ 1,004 บาท/ไร่ มีปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย 289 กิโลกรัม/ไร่ ด้านราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ย 11.78 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรมีรายได้หรือผลตอบแทนจากการผลิต 3,409 บาท/ไร่ และเมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้วได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 778 บาท/ไร่ 
          ทั้งนี้ เขตอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง ที่ดอน การบริหารจัดการน้ำยังมีประสิทธิภาพไม่ทั่วถึง และพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ส่งผลให้ทำนาได้ 1 ครั้ง/ปี ซึ่งแนวทางพัฒนา คือ บริหารจัดการปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มสารอินทรีย์วัตถุใส่ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดิน วิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน โดยวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับพื้นที่การปลูกพืช เช่น ยางพารา และมันสำปะหลัง อีกทั้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจากเป็นอินทรีย์วัตถุที่ช่วยปรับโครงสร้างดิน ตลอดจนจัดถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการผลิตที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ ลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ซึ่งท่านที่สนใจผลการศึกษาเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ สศท.11 โทร. 045 344 654 หรืออีเมล [email protected]


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

สศท.2 เกาะติดสถานการณ์ผลิตทุเรียนภาคเหนือตอนล่าง ปี 68 รวม 6 จังหวัด แตะ 55,000 ตัน เพิ่มขึ้น 12.47%

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตทุเรียนภาคเหนือตอนล่าง ปี 2568 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ พิษณุโลก ตาก และน่าน (ข้อมูล ณ 4 มิถุนายน 2568) โดย สศท.2 ประชุมร่วมกับคณะทำงาน ย่อยพัฒนาระบบข้อมูลปริมาณการผลิตและโลจิสติกส์ไม้ผล ภาคเหนือ ครั้งที่ 2/2568 พบว่า มีเนื้อที่ยืนต้นรวม 100,559 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 92,474 ไร่ (เพิ่มขึ้น 8,085 ไร่ หรือร้อยละ 9)

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเ... 'กระท้อนนาปริก' จ.สตูล สินค้า GI มุ่งยกระดับคุณภาพ พัฒนาตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน — นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา...

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง... สศท.10 เกาะติดสถานการณ์มะพร้าวผลแก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปีนี้ ผลผลิตรวม 252 ล้านผล — เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง นายกิจษารธ อ้นเงินทยากร ผู้อำ...