เปิดอันซีนสาทรใต้ เที่ยวสนุกกับ 4 ศาสนา 5 วัฒนธรรม กับเด็ก-ฟื้น-เมือง

07 Oct 2015
เยาวชนไฟ ฟ้า (FAI-FAH) ในนามกลุ่มเด็ก-ฟื้น-เมือง โครงการซีเอสอาร์ของทีเอ็มบี ร่วมกับอาสาสมัครทีเอ็มบี และ "เดอะ เจอ-นี่"(The Jour-ney) ชุมชนสาทรใต้ ชวนย้อนรอยเส้นทางประวัติศาสตร์ กับทริป "ปั่น-ฟื้น-เมือง" ย้อนรอย ๙ รัชกาล ปั่นจักรยานตามหาความหลัง กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ทำให้เรื่องราวเก่าๆ ของประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่อ และยังพกพาความสนุกสนานกับการทัวร์ด้วยจักรยาน โดยมีเด็ก-ฟื้น-เมืองเป็นมัคคุเทศก์คอยไกด์เส้นทางและแนะนำประวัติความเป็นมา ทริปนี้เป็นการสานต่อจากการจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสาทรใต้ โปรเจกต์การเปลี่ยนชุมชน ตามแนวคิด Make THE Difference ในปีที่ผ่านมา โดยทริปปั่น-ฟื้น-เมือง ย้อนรอย 9 รัชกาล ได้พาเที่ยวสัมผัส 4 ศาสนาได้แก่ พุทธ อิสลาม ฮินดู และคริสต์ กับ 5 วัฒนธรรม ไทย จีน มอญ ทวาย และฮินดู สนใจทริปท่องเที่ยววัฒนธรรมสาทรใต้ โทร เดอะ เจอ-นี่ (The Jour-ney) 089-479-8784, หรือwww.facebook.com/TheJour-ney อีเมล [email protected], www.facebook.com/เด็กฟื้นเมือง

อันซีนแรกทริปปั่น-ฟื้น-เมือง เยี่ยมชม โบสถ์เซ็นต์หลุยส์ ของคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 9 ด้านในมีลายปูนปั้น ที่แสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์ 12 วันสุดท้ายก่อนที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ ที่หาชมได้ยาก ส่วนอาคารโบสถ์หากมองจากมุมสูง เด็ก-ฟื้น-เมือง เล่าว่า อาคารนี้ถูกสร้างในฟอร์มของไม้กางเขน ถ้าเราไปในช่วงที่มีพิธีกรรมรื่นเริง อย่างเช่นงานสมรส เราก็อาจจะได้เห็นพิธีการในโบสถ์ คล้ายๆ กับแบบที่เห็นกันในละคร เพียงแต่ครั้งนี้ จะเป็นของจริง เห็นบ่าวสาวให้คำสัญญาต่อกัน ต่อหน้าองค์พระผู้เป็นเจ้า รับประกันว่ามีความหมายลึกซึ้งแน่นอน จากนั้นเข้าเยี่ยมชม วัดยานนาวา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เดิมเรียกว่า วัดคอกควาย เพราะ ชาวทวายที่อาศัยอยู่มักจะนำกระบือที่เลี้ยงมาซื้อขายกัน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดคอกกระบือ ให้มีความไพเราะมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้บูรณะปฎิสังขรณ์พระอุโบสถ พร้อมสร้างสำเภาเจดีย์ยานนาวา ซึ่งมีขนาดเท่า ของจริง เพราะในยุคนั้น มีความเจริญและทำการค้ากับชาวจีน มูลเหตุที่ทรงสร้าง เพราะพยากรณ์ว่าเรือสำเภา จะสูญหายไป อยากให้คนภายหน้าได้เห็นว่าเรือสำเภาเป็นอย่างไร และทรงคุมการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด โดยมีศาลาประทับเล็กๆ ทางใต้เรือสำเภา ซึ่งปัจจุบันวัดยังเก็บรักษาศาลาน้อยนี้เป็นอย่างดี ลัดเลาะเข้าตรอกซอกซอย แล้วมาโผล่ที่ อู่ต่อเรือบางกอกด๊อก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันเป็นกิจการของบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัดเป็นอู่แห้งเพียงแห่งเดียวในประเทศ ปัจจุบันการเยี่ยมชมจะต้องขออนุญาตก่อน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ร่วม ทริปปั่น-ฟื้น-เมือง จากจุดยุทธศาสตร์แล้ว เราเดินทางบุกฐานทัพทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่โรงเรียน วัดสุทธิวราราม ที่ยังเห็นซากหลงเหลือของเสาลำโพงเครื่องขยายเสียงของกองทัพตั้งอยู่ด้านหน้าประตูโรงเรียนฯ และได้แวะสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ แต่เดิมวัดนี้ชื่อว่า วัดลาว เนื่องจากชาวลาวเวียง ที่ถูกกวาดต้อนจาก กรุงเวียงจันทน์ ตั้งแต่สงครามเจ้าอนุวงศ์ สมัยรัชกาลที่ 2 อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

จากนั้น ตามรอยอดีตกันไปถึงชามก๋วยเตี๋ยวปลา ที่ร้าน "ใช่ฮะ" กับคุณลุงสมทัศน์ เลาหรัตนาหิรัญ เจเนอเรชั่นที่ 2กับก๋วยเตี๋ยวปลาสูตรโบราณที่เปิดให้บริการมากว่า 60 ปี มีเคล็ดลับน้ำซุปต้มจากหัวปลา กระดูกหนังปลาถึง 3 ชนิดด้วยกัน ดับกลิ่นด้วยถั่วงอกหัวโต ที่อร่อยและสุขภาพดีเพราะไม่มีการปรุงด้วยผงชูรสอย่างเด็ดขาด เมื่อ ท้องอิ่มก็ถึงเวลาที่ต้องผจญภัยกันต่อ กับตำนานผีดุที่สุดในกรุงเทพมหานคร ที่วัดดอน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 และต่อกันที่ วัดวิษณุ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยชาวอุตตรประเทศจากอินเดีย, วัดปรก วัดสำคัญของชาวมอญที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 7 ชาวมอญดั้งเดิมอพยพมาจากกรุงหงสาวดี เห็นความงามของสถาปัตยกรรมหงสาวดี, สุสานแต้จิ๋ว สุสานจีนที่ใหญ่ที่สุดในย่านสาทรใต้ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เราไม่เห็นภาพของความน่าสะพรึงกลัวในความเป็นสุสาน หากแต่เป็นความร่มรื่น เขียวขจี เข้ามาแล้วสบายตา สบายใจ อย่างไรไม่รู้ เป็นแหล่งพักผ่อนและออกกำลังกายขนาดใหญ่ของชาวสาทร ปิดท้ายด้วยการสัมผัสกับวิถีชีวิตชาวยะวา ด้านหลังมัสยิดยะวา ชมความเก๋ของบ้านไม้ในสวนสวยอายุกว่า 100 ปี ที่ต้อนรับอย่างอบอุ่นพร้อมขนมจะล้อ ขนมชาวยะวา

นอกจากทริปปั่น-ฟื้น-เมือง ย้อนรอย 9 รัชกาล ที่รวมจักรยาน อุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุ อาหารหลัก 2 มื้อ อาหารว่างและประกันอุบัติเหตุ ในราคา 1,800 บาท ยังมีทริปอื่นๆให้เลือกอีกมาก อาทิ หลงรักสาทร ซีเครทการ์เด้น ฯลฯ รับโบรชัวร์ท่องเที่ยวฯ ได้ที่ อาคารไฟ ฟ้า จันทน์ บ้านพระนนท์ ร้านขนม Choco Rang, FAB Hostel Bangkok ร้าน Koffe Bike Cafe ร้าน Moon Ride หรือ โทร089-479-8784, www.facebook.com/TheJour-ney อีเมล[email protected], www.facebook.com/เด็กฟื้นเมือง