ไซดักขยะ นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ศรีสะเกษ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ไซดักขยะ นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน บ้านนาดี อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
          ที่บ้านนาดี ตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านร่วมกันคิดหาแนวทางการจัดการขยะโดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านดัดแปลงแนวคิดจากไซดักปลาเปลี่ยนเป็นไซดักขยะ
          มานะ ศรีบริบูรณ์ ผู้ใหญ่บ้านนาดีเล่าว่า ไซดักขยะเป็นการคิดค้นอุปกรณ์เพื่อมาใช้ในการจัดการขยะของชุมชน โดยคิดคำจากคำว่า "ไ​​​​​​​​ซ" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการดักปลาตามท้องไร่ท้องนา ต่อมาพอมีกิจกรรมที่ทำเรื่องการจัดการขยะในชุมชนจึงได้มีการดัดแปลงรูปแบบโดยใช้ตาข่ายพลาสติกมาผูกติดกับขาเหล็กทำเป็นถังขยะ แต่ความพิเศษคือเป็นถังขยะที่โปร่งแสงสามารถมองเห็นขยะข้างในเพื่อความสะดวกในการคัดแยก ที่สำคัญไซดักขยะแต่ละตัวจะมีก้นที่ทำเป็นลักษณะหูรูดสามารถเปิด-ปิดได้ คล้ายกับไซดักปลาเพื่อความง่ายในการนำขยะไปขายและจัดการในรูปแบบอื่นๆ
          สังวาล สีสัน ส.อบต บ้านนาดีหนึ่งในสมาชิกแกนนำหมู่บ้านกล่าวว่า "ไซดักขยะที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้นมานี้มีข้อเด่นคือ นอกจากเราจะรู้ว่าขยะที่ทิ้งลงไปเป็นขยะประเภทไหนที่ทำให้ง่ายต่อการคัดแยกแล้ว ขยะที่ถูกทิ้งเหล่านี้จะไม่มีกลิ่นอับเนื่องจากถุงที่นำมาใช้เป็นลักษณะโปร่งมีรูระบายและที่ก้นถุงขยะยังเปิด-ปิดง่ายไม่ต้องยุ่งยากในการยกขยะมาเท"
          บ้านนาดีเป็นชุมชนขนาดกลางมีอาชีพหลักคือการทำเกษตร มีจำนวนครัวเรือน 118 หลังคาเรือน จากการสำรวจปริมาณขยะของชุมชนนาดีเมื่อต้นปี 2556 พบว่า มีปริมาณขยะของแต่ละครัวเรือนประมาณ 10 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ที่มีทั้งขยะทั่วไป ขยะเปียก ขยะรีไซเคิลและขยะอื่นๆ จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนที่ดูแลเขตพื้นที่หมู่บ้านพบว่า ในช่วงที่ผ่านมามีชาวบ้านที่ป่วยด้วยโรคติดต่อเรื้อรังไม่ว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออกและโรคอุจจาระร่วง ซึ่งพอมีการพูดคุยในเวทีประชาคมหมู่บ้านก็พบว่าชุมชนมีปัญหาเรื่องการปล่อยน้ำเสียในครัวเรือนไหลราดลงไปตามถนนในหมู่บ้าน ไม่มีระบบการระบายน้ำทั้งน้ำเสียและน้ำฝนทำให้ถนนชื้นแฉะไปด้วยน้ำครำ นอกจากนี้ยังมีปัญหาขยะจากครัวเรือนไม่มีการคัดแยก บางครั้งพบเห็นการลักลอบนำไปทิ้งข้างถนน ลำคลองและที่สาธารณะประโยชน์ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำและแมลงนำโรคโดยเฉพาะยุง
          27 กันยายน 2557 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งวงคุยเพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันในนามสภาผู้นำชุมชนบ้านนาดี จากการสนับสนุนโครงการของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ภายใต้ชุดโครงการร่วมสร้างชุมชนอีสานน่าอยู่ ทำให้ชาวบ้านมีโอกาสถกเถียงเพื่อหาทางออกโดยอาศัยสภาหมู่บ้านเป็นพื้นที่กลางในการขับเคลื่อน ในที่สุดก็เกิดเป็นกติกาชุมชนที่ทุกคนต้องปฏิบัติร่วมกันโดยเริ่มจากบ้านแต่ละหลังจะต้องมีการคัดแยกขยะและแบ่งเขตดูแลตามคุ้มต่างๆทั้ง 4 คุ้ม มีกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านร่วมกันพร้อมกับเชิญภาคีเครือข่ายมาร่วม เช่น โรงเรียน รพสต. อบต. เพื่อเป็นการหนุนเสริมชาวบ้านให้ตื่นตัวอยู่เสมอ
          นอกจากนี้ในหมู่บ้านยังได้มีการประกวดแข่งขันทำความสะอาดและพัฒนาบ้านเรือนแต่ละหลัง ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกครัวเรือนตื่นตัว สวัสดิ์ อินยอด ข้าราชการบำนาญที่ตอนนี้กลายมาเป็นสมาชิกแกนนำสำคัญในหมู่บ้านอีกคนกล่าวว่า "เราจัดให้มีการแข่งขันกันในหมู่บ้าน ซึ่งการแข่งขันของเราก็ไม่ได้แข่งขันเอาเป็นเอาตาย หากแต่เป็นการแข่งขันเพื่อเสริมกำลังใจซึ่งกันและกัน โดยรางวัลของผู้ชนะก็ไม่ได้เป็นเงินเป็นทอง แต่เป็นอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านเรือน เช่น ไม้กวาด บุ้งกี๋ และอุปกรณ์อื่นๆแล้วแต่โอกาส แค่นี้ก็ทำให้ชาวบ้านมีกำลังใจในการพัฒนาบ้านของตนแล้ว"
          นอกจากสภาผู้นำชุมชนบ้านนาดีจะช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องขยะในหมู่บ้านแล้ว พวกเขายังได้ขับเคลื่อนเรื่องอื่นๆอันเป็นการต่อยอดงาน โดยเฉพาะการส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ศรี ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนปรางค์กู่และพัฒนาชุมชนอำเภอ ดังนั้นพอขับรถเข้าเขตหมู่บ้านนาดีแห่งนี้สิ่งแรกที่สะดุดตาก็คือผักสวนครัวบนกระถางหน้าบ้านแต่ละหลังที่วางข้างๆกับไซดักขยะและพอจอดรถเดินเข้าไปดูบ้านแต่ละหลังก็จะพบบ่อเลี้ยงกบ บ่อเลี้ยงปลาและบ้านบางหลังก็มีผักสวนครัวสารพัดชนิดอยู่บริเวณรอบๆ เรียกได้ว่าถ้าเข้ามาหมู่บ้านนี้รับรองได้ว่าทุกคนจะทั้งสะอาดตา สะอาดใจและท้องใส้ก็มีให้กินอิ่มแบบไร้สารเคมี​





ไซดักขยะ นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ศรีสะเกษ

ข่าวมูลนิธิสื่อสร้างสุข+จังหวัดศรีสะเกษวันนี้

สุดทึ่ง!! เปลี่ยนรั้วเป็นสวนผักประหยัดปีละล้าน

พบหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เปลี่ยนรั้วบ้านเป็นสวนผักกระถางปลอดสาร ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือนถึงปีละกว่าหนึ่งล้านบาท ที่บ้านโนนรัง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ ชุมชนขนาดเล็กมี 65 ครัวเรือน ที่มีอาชีพทำนา ทำไร่ และทำสวนเหมือนชุมชนส่วนใหญ่ในภาคอีสาน นายคูณ ก้อนทอง ผู้ใหญ่บ้านกล่าวว่า เดิมชาวบ้านโนนรังทำนา ปลูกข้าว ซื้อผักและอาหารจากตลาดกิน ฝากปากท้องไว้รถพุ่มพวง 3-4 คันวิ่งเข้ามาขายอาหารในหมู่บ้าน และร้านค้าในหมู่บ้านรับผักจากภายนอกมาขายให้คนในชุมชนกิน จากการเก็บข้อมูล พริก ข่า หอม ตะใคร้ ผักสวนครัว

ชุมชนบ้านโพธิ์ศรีใต้ จังหวัดอุบลราชธานี ร... บ้านโพธิ์ศรีใต้ จ.อุบลฯ รวมพลังชุมชน แก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ — ชุมชนบ้านโพธิ์ศรีใต้ จังหวัดอุบลราชธานี รวมพลังชุมชน ตั้งสภาคู่ "ผู้นำ-เยาวชน" แก้ปัญหาเด็กติด...

​สสส.หนุน โคราชโมเดล "ปลอดบุหรี่โดยใช้ชุม... สสส.หนุน โคราชโมเดล "ปลอดบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน" โชว์นวัตกรรมดีเด่น ช่วยคนเลิกบุหรี่ — ​สสส.หนุน โคราชโมเดล "ปลอดบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน" โชว์นวัตกรรมด...

ดงจงอางหมู่บ้านแฝด 3 หมู่บ้านในตำบลบึงแก ... “ดึงวัยโจ๋ ฟื้นกลองยาว” เปลี่ยนหมู่บ้านกลุ่มเสี่ยง สู่ชุมชนน่าอยู่ ที่ดงจงอาง ยโสธร — ดงจงอางหมู่บ้านแฝด 3 หมู่บ้านในตำบลบึงแก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธ ...

ชุมชนหนองกองแก้ว ขอนแก่น หมู่บ้านย้อมไหม ... ชุมชนหนองกองแก้ว ขอนแก่น ผุด “หลุมซึม” กรองสารเคมีจากการย้อมผ้าไหม — ชุมชนหนองกองแก้ว ขอนแก่น หมู่บ้านย้อมไหม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผุด "หลุมซึม" กรองสารเคมีก่...

บ้านด้ามพร้า ชุมชนชานเมือง ในเขตเทศบาลตำบ... ชุมชนด้ามพร้า เมืองอุบล ตั้งสภาหมู่บ้าน แก้ขยะล้นชุมชน — บ้านด้ามพร้า ชุมชนชานเมือง ในเขตเทศบาลตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่เติบโตอย่างรวด...

บ้านสำโรง สุรินทร์ จากแชมป์ไข้เลือดออก ขยะกองราวสลัม พ่นยาฆ่าแมลงจนแทบจะฆ่าคนด้วยกันเอง กลายเป็นชุมชนน่าอยู่ ด้วยประชาธิปไตยชุมชน

3 ปี 5 สัญญาใจ เปลี่ยนความขัดแย้งเป็นรอยยิ้ม สร้างชุมชนให้น่าอยู่ สัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมสื่อสารฯ ภาคอีสาน ได้มีโอกาสไปเยือนชุมชนน่าอยู่ ที่บ้านสำโรง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง...