สศก. เผย ราชบุรี แหล่งเพาะเลี้ยงปลาสวยงามมากที่สุดของประเทศ ปัจจุบัน มีฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงแล้ว 159 ฟาร์ม มูลค่าการผลิตปลาสวยงามของจังหวัดขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดย ตลาดส่งออกสำคัญ คือ สิงคโปร์และฮ่องกง และมีความมั่นใจว่า แนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นหลังจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว
นายธวัชชัย ประยูรสิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 จังหวัดราชบุรี (สศท.10) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามของจังหวัดราชบุรี ว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรเพาะเลี้ยงมากที่สุดของประเทศ สร้างรายได้ปีละกว่า 150 ล้านบาท โดยมีฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงแล้ว จำนวน 159 ฟาร์ม รวม 36,682 บ่อ และเนื้อที่เพาะเลี้ยงประมาณ 120 ไร่ ใน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอเมือง อำเภอบางแพ อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอปากท่อง และอำเภอสวนผึ้ง
สำหรับปลาสวยงามยอดนิยม 8 อันดับเพื่อการส่งออก ได้แก่ ปลาทอง ปลาหางนกยูง ปลาหางไหม้ ปลาหมอสี ปลาทรงเครื่อง ปลาคาร์พ ปลาน้ำผึ้ง ปลาสอด และจากความได้เปรียบทางสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และด้านทรัพยากรแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีความพร้อมต่อการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามอย่างมาก ซึ่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการผลิตปลาสวยงามของจังหวัดราชบุรีขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 โดยเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 89.17 ล้านบาทในปี 2555 เป็น 166.88 ล้านบาท ในปี 2557 ตลาดส่งออกที่สำคัญ ยังคงเป็นตลาดสิงคโปร์และฮ่องกง ที่เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปยังยุโรป ญี่ปุ่น และอเมริกา โดยมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นหลังจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว
นอกจากนี้ จังหวัดราชบุรี ได้มีการจัดตั้งตลาดกลางปลาสวยงาม "Fish Village Ratchaburi" หรือ "ฟิชวิลเลจ ราชบุรี" เป็นศูนย์กลางการซื้อขายในภูมิภาคที่จะช่วยยกระดับการเจริญเติบโตของทั้งผู้เพาะเลี้ยง และผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้ง การดำเนินงานของตลาดปลาสวยงามเพื่อขยายตลาดโดยตรงให้มากขึ้น โดยมีแนวทางในการส่งออกไปยังตลาดยุโรป ญี่ปุ่น และอเมริกา ซึ่งจะลดลการพึ่งพาตลาดสิงคโปร์และฮ่องกง ทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน และที่สำคัญช่วยให้สภาพเศรษฐกิจทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศดีขึ้นอีกด้วย นายธวัชชัย กล่าว
นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมะม่วงส่งออกหนองแซง หมู่ที่ 9 ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตและแปรรูปมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ได้รับการรับรองมาตรฐานแหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP และได้รับมาตรฐาน อย. ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้างความมั่น
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร
—
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยกา...
สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...
'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า
—
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...
"ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" สินค้า GI เริ่มออกตลาดปลาย พ.ค. นี้ สศท.11 เชิญชวนเที่ยวงาน "เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ปี 2565" 9 - 15 มิ.ย. นี้
—
นางประเทือง...
สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...
'ลองกองวังขุม' แปลงใหญ่ จ.สุราษฎร์ธานี คุณภาพมาตรฐาน GAP รสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สศท.8 เชิญชวนบริโภค ขณะนี้ออกตลาดแล้ว
—
นางพัชรารัตน์ ลิ้มศิริกุล ผู้...
ปีนี้อากาศดี ลำไยภาคเหนือติดดอกมาก ผลผลิตรวมกว่า 9.7 แสนตัน ออกตลาดมากสุด ส.ค. 64 สศท.1 เชิญชวนบริโภคลำไยคุณภาพ ช่วยเหลือเกษตรกร
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำ...
กองทุน FTA หนุนเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคเนื้อบ้านแสนแก้ว จ.ศรีสะเกษ สร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานการผลิตโคเนื้อ
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงาน...
สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
—
นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...