เทรนด์ไมโคร อินเตอร์เนชั่นแนล (TYO: 4704; TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกในด้านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย ลงนามในข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการของ เอชพี ทิปปิ้งพอยต์ (HP TippingPoint)ผู้นำด้านระบบป้องกันการบุกรุกรุ่นอนาคต (Next-Generation Intrusion Prevention Systems - NGIPS) รวมถึงโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ข้อตกลงมูลค่าราว 300 ล้านดอลลาร์นี้ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย ทรัพย์สินทางปัญญา ความรู้ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และฐานลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ที่เป็นลูกค้าเดิมของบริษัท การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้จะทำให้เทรนด์ไมโครกลายเป็นผู้นำด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซลูชั่นด้านการป้องกันภัยคุกคามแบบไดนามิก ซึ่งครอบคลุมทั้งในส่วนของอุปกรณ์ลูกข่าย ระบบเครือข่าย ดาต้าเซ็นเตอร์ และระบบคลาวด์ นอกจากนี้ เทรนด์ไมโครจะผสานรวมความเชี่ยวชาญที่มีอยู่และที่ได้รับจากการเข้าซื้อกิจการ เพื่อสร้างกลุ่มธุรกิจการป้องกันบนระบบเครือข่าย (Network Defense) โดยจะให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรกว่า 3,500 ราย
ในปัจจุบัน องค์กรข้ามชาติต่างๆ ต้องรับมือกับภัยคุกคามที่ซับซ้อนมากขึ้น ทั้งยังต้องเตรียมพร้อมเพื่อป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามสมัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของการโจมตีแบบเจาะจงเป้าหมายและภัยคุกคามขั้นสูง ซึ่งสามารถหลบเลี่ยงระบบรักษาความปลอดภัยรุ่นเก่า และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายภายในองค์กรเพื่อเข้าถึงและสร้างรายได้จากข้อมูลสำคัญ การสื่อสาร และทรัพย์สินทางปัญญา
"ในการเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้ องค์กรต่างๆ ต้องการระบบป้องกันภัยแบบหลายชั้น ซึ่งทำงานอย่างสอดประสานกันทั่วทั้งองค์กร เพื่อที่จะสามารถระบุถึงภัยคุกคามทั้งก่อนหน้า ระหว่าง และหลังจากที่เกิดการโจมตี" เอวา เฉิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทรนด์ไมโคร กล่าว "โซลูชั่นการป้องกันเครือข่ายแบบ next-generation นี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานะผู้นำตลาดของเราในด้านเทคโนโลยีการคุ้มครองศูนย์ข้อมูลและอุปกรณ์ลูกข่าย1 โดยจะผสานรวมระบบตรวจจับการบุกรุกบนเครือข่ายที่เหนือชั้นของเรา2 เข้ากับเทคโนโลยีการป้องกันการบุกรุกและตอบสนองของทิปปิ้งพอยต์ ภายใต้ความร่วมมือของเรากับทั้งเอชพีและทิปปิ้งพอยต์ เราคาดว่าการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้จะสำเร็จลุล่วงด้วยดี และจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อลูกค้าของเรา"
ด้วยการผนวกรวมระบบป้องกันและตรวจจับการบุกรุกเข้าด้วยกัน เทรนด์ไมโครกำลังสร้างแนวทางที่รอบด้านสำหรับการรับมือกับการโจมตีที่ซับซ้อน โดยหากมีการโจมตีเกิดขึ้น โซลูชั่นดังกล่าวจะสามารถตรวจจับและแก้ไขช่องโหว่ภายในเครือข่ายได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้น
ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา เทรนด์ไมโครและทิปปิ้งพอยต์ได้ร่วมมือกันอย่างจริงจังในฐานะพันธมิตร โดยภายหลังการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ เอชพีและเทรนด์ไมโครจะยังคงสานต่อความร่วมมือที่แข็งแกร่งนี้ต่อไป ทั้งนี้ โดยบริษัททั้งสองจะจัดตั้งความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ร่วมกับทิปปิ้งพอยต์ ในส่วนของการจัดจำหน่าย บริการเอาต์ซอร์ส และกิจกรรม OEM รวมไปถึงระบบข่าวกรองด้านความปลอดภัย ความปลอดภัยบนแอพ และการปกป้องข้อมูล
"การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความเชี่ยวชาญของเทรนด์ไมโครสำหรับการต่อสู้กับภัยคุกคามต่างๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ในส่วนของการรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์ลูกข่าย ระบบคลาวด์ ศูนย์ข้อมูล และการตรวจจับการเจาะระบบเครือข่าย" ไมค์ สแปนบาวเออร์ รองประธานฝ่ายวิจัยของ NSS Labs กล่าว"การผสานรวมแบรนด์ที่แข็งแกร่งทั้งสองแบรนด์เข้าด้วยกันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเทรนด์ไมโครในการเจาะเข้าสู่เซ็กเมนต์ใหม่ๆ ในตลาดองค์กร และนำเสนอโซลูชั่นป้องกันภัยคุกคามแบบครบวงจรและเป็นเอกเทศ สำหรับองค์กรที่ต้องการลงทุนในเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยที่จำเป็นอย่างยิ่ง"
นอกเหนือจากระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายแล้ว ข้อตกลงนี้ยังครอบคลุมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคามและ Digital Vaccine LABS (DVLABS) ของทิปปิ้งพอยต์ ซึ่งจัดหาข้อมูลข่าวกรองด้านความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ พร้อมด้วยความสามารถในการคัดกรองข้อมูลด้านความปลอดภัยที่ชาญฉลาดสำหรับการวิเคราะห์ช่องโหว่และจุดอ่อนต่างๆ อีกหนึ่งคุณประโยชน์ที่จะได้รับก็คือ โครงการ Zero Day Initiative ซึ่งสามารถเปิดเผยช่องโหว่ใหม่ๆ ได้มากกว่าบริษัทคู่แข่งทุกรายรวมกัน โดยเป็นผลมาจากความทุ่มเทและความเชี่ยวชาญของกลุ่มนักวิจัยจำนวนมาก ความเชี่ยวชาญและความสามารถที่โดดเด่นนี้ จะทำงานร่วมกับกับเครือข่าย Smart Protection Network ขนาดใหญ่ของเทรนด์ไมโคร และทีมงานฝ่ายวิจัยภัยคุกคาม เพื่อช่วยให้บริษัทฯ เป็นผู้นำด้านอัตราการตรวจจับภัยคุกคามได้เหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ ในตลาด
การเข้าซื้อกิจการดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 โดยจะต้องได้รับการตรวจสอบว่าเป็นไปตามข้อกำหนด เงื่อนไข และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงฯ และนางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมเปิด "ศูนย์บริการทรัพย์สินทางปัญญาครบวงจร (IP One)" เพื่อยกระดับบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้ครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การรับคำขอ การให้คำปรึกษา ไปจนถึงการส่งเสริมการใช้เชิงพาณิชย์และการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจทุกขนาดและประชาชนทั่วไปให้ได้รับการบริการที่ครบวงจร
กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือกองปราบฯ จัดชุดปฏิบัติการพิเศษ ปราบสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา งัดกฎหมายที่เกี่ยวข้องปราบผู้กระทำผิด
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญา หา...
กรมทรัพย์สินทางปัญญาลงพื้นที่แหล่งผลิต "ลิ้นจี่นครพนม" ผลไม้ GI สินค้าดีเมืองพระธาตุพนม จับมือกลุ่มพันธมิตร Tops Market ขยายช่องทางการตลาด
—
กรมทรัพย์สินท...
กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมจัดกิจกรรม "วันทรัพย์สินทางปัญญาโลก" ประจำปี 2568จัดเสวนา "จังหวะดนตรี จังหวะ IP" ต่อยอด Soft Power ด้วย Music IP
—
กรมทรัพย์สินทา...
ก.ล.ต. ร่วม Meta และ Facebook ประเทศไทย เสริมสร้างการปกป้องแบรนด์และทรัพย์สินทางปัญญา
—
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศ...
กรมทรัพย์สินทางปัญญาหารือร่วมกับเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ผลักดันการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดกา...
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ FAO หนุนพัฒนา GI ภูฏานผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ต่อยอดการส่งเสริมสินค้า GI ไทยสู่ตลาดโลก
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้การต้อน...
ซานริโอ เปิดตัวแคมเปญระดับภูมิภาค มุ่งเสริมสร้างการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
—
กรุงเทพฯ, 19 มีนาคม 2568 ซานริโอ (Sanrio) ประกาศเป...