อยากรู้ไหมว่า...! คุณเป็นโรคกรดไหลย้อนจริงหรือเปล่า ?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร หรือที่นิยมเรียกว่า โรค กรดไหลย้อน ( Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD ) คือภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยใน กระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณ หลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาน 1 ใน 5 คน พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็น มะเร็งหลอดอาหาร ได้
          จะมีอาการอย่างไร ?
          อาการ ในหลอดอาหาร :
          • ปวดแสบปวดร้อนในหน้าอก หรือที่เรียกว่า Heart Burn เนื่องจากกรดไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ
          • มีอาการจุกแน่นบริเวณหน้าอก เหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ หายใจไม่ออกเวลานอน
          • มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรู้สึกถึงรสขมของน้ำดี รสเปรี้ยวของกรดในปากหรือลำคอ
          • กลืนอาหารลำบาก
          • คลื่นไส้
          อาการ นอกหลอดอาหาร บริเวณกล่องเสียงและหลอดลม :
          • ไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง
          • เสียงแหบ โดยเฉพาะในตอนเช้า เนื่องจากเวลานอน กรดจะไหลย้อนขึ้นมาได้มาก
          • เป็นโรคปอดอักเสบ เจ็บหน้าอก
          จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน จริงหรือเปล่า ?
          วีธีการตรวจแบบเดิม
          • การกลืนแป้งตรวจกระเพาะ
          • การส่องกล้องตรวจกระเพาะ
          เป็นการตรวจเบื้องต้นเพียงแค่ดูความบาดเจ็บของเนื้อเยื่อเท่านั้น ไม่สามารถบอกปริมาณกรดที่ไหลย้อนได้
          เทคนิคใหม่ในการตรวจวัดกรดไหลย้อนในหลอดอาหาร
          • ตรวจวัดกรดที่หลอดอาหาร 24 ชั่วโมง ด้วยการใส่สายวัดกรดที่หลอดอาหาร เป็นการวินิจฉัยกรดไหลย้อนที่แม่นยำที่สุด
          ทำไมต้องตรวจวัดกรดไหลย้อนในหลอดอาหาร ?
          การตรวจวัดกรด หรือน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารตลอด 24 ชั่วโมง ถือเป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน และเป็นเทคโนโลยีใหม่ โดยการใส่สายตรวจที่เป็นสายขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 2 มิลลิเมตร ผ่านจมูกแล้วค้างไว้ที่หลอดอาหารนาน 24 ชั่วโมง ที่สายจะมีตัวบันทึกค่าความเป็นกรดนำเข้าเครื่องอ่านเพื่อแปลผล และทราบผลได้ทันที ทำให้ทราบว่า
          • อาการที่เป็นใช่โรคกรดไหลย้อนจริงหรือไม่
          • มีกรดไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารเป็นจำนวนครั้ง และระยะเวลานานมากกว่าปกติหรือไม่
          • การเกิดกรดไหลย้อนสัมพันธ์กับการเกิดอาการของผู้ป่วยหรือไม่
          • การให้ยาเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน สามารถควบคุมโรคได้เพียงพอหรือไม่
          ใครบ้างที่ต้องรับการตรวจด้วยเครื่องวัดกรดไหลย้อน (24 hr Gastric pH monitoring) ?
          • ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ที่กินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
          • ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่หยุดยา ลดกรดไม่ได้ อาการจะกำเริบทันที
          • ผู้ป่วยอายุน้อยที่ไม่อยาก กินยาต่อไประยะเวลานาน
          • ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก คล้ายเป็นโรคหัวใจ แต่ตรวจแล้วว่าไม่เป็นโรคหัวใจ
          • ผู้ป่วย ที่มีอาการเสียงแหบเรื้อรัง , เหมือนมีก้อนที่คอ , แสบคอ ที่ได้รับการตรวจแล้วจากแพทย์ หูคอจมูก ไม่พบความผิดปกติใดๆ
          • ผู้ ป่วยที่ส่องกล้องแล้วพบว่า ปลายหลอดอาหารมีการอักเสบที่รุนแรง
          ขั้นตอนสำคัญอันดับแรกในการรักษาโรค คืออะไร ?
          การวินิจฉัยโรคให้ถูกต้องแม่นยำเสียก่อนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถึงจะรักษาโรคนั้นให้หายขาดได้ การที่มีเครื่องมือที่ทันสมัยนี้ ทำให้สามารถช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโรค กรดไหลย้อนได้อย่างถูกต้อง แน่นอน ทราบผลทันที ต่างจากในอดีตที่ได้แต่ปรับยาไปเรื่อยๆ และยังทำให้การทำนายผลการวินิจฉัยโรคต่างๆ ถูกต้องชัดเจน เป็นข้อมูลให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญวางแผนดูแลสุขภาพผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ทำให้คุณภาพชีวิต และสภาพจิตใจของผู้ป่วยกรดไหลย้อนจะดีขึ้น

อยากรู้ไหมว่า...! คุณเป็นโรคกรดไหลย้อนจริงหรือเปล่า ?

ข่าวโรงพยาบาลรามคำแหง+โรคกรดไหลย้อนวันนี้

ปรับพฤติกรรมการกินสักนิด พิชิตกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุมาจากหูรูดกระเพาะอาหารบางส่วนผิดปกติทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหาร ภาวะเช่นนี้ส่งผลให้เกิดอาการที่เรียกว่า Heart Burn นั่นคือความรู้สึกจุกแน่น ปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกไปจนถึงลิ้นปี่ เปรี้ยวหรือขมในคอ เรอบ่อย โดยอาจมีอาการเวียนหัวและคลื่นไส้ร่วมด้วย การหลีกเลี่ยงกรดไหลย้อนนั้นทำได้ไม่ยาก แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ทั้งเรื่องปริมาณและชนิดของอาหาร ไม่ทานอาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารหมักดอง อาหารมัน อาหารย่อยยาก ชา กาแฟ น้ำอัดลม ฯลฯ รวมทั้งควรงดทานอาหารก่อน

โรงพยาบาลรามคำแหง ขอเชิญคุณแม่ตั้งครรภ์ อ... อบรม "ครรภ์คุณภาพ 2025 Healthy Moms and Babies" วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2568 — โรงพยาบาลรามคำแหง ขอเชิญคุณแม่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 7-9 เดือน เข้าร่วมงานอบรม ...

ดร. ฤกขจี กาญจนพิทักษ์ CEO กลุ่มบริษัท โร... ดร.ฤกขจี กาญจนพิทักษ์ ได้รับรางวัล Best Women CEO in Strategic Leadership - Healthcare — ดร. ฤกขจี กาญจนพิทักษ์ CEO กลุ่มบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหงและบริษัท...

สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิ... สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 53 — สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 53 วันอังคารที่...

เพราะสุขภาพไตดี..เท่ากับสุขภาพดี มาดูแลไต... World Kidney Day 2025 ชวนกันมาฟังเรื่องไต! "ดูแลไตอย่างไรให้แข็งแรง" — เพราะสุขภาพไตดี..เท่ากับสุขภาพดี มาดูแลไตให้แข็งแรงกันเถอะ โรงพยาบาลรามคำแหงขอเชิญช...

อบรมครรภ์คุณภาพ 2025 "Healthy Moms and Ba... อบรมครรภ์คุณภาพ 2025 "Healthy Moms and Babies" สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 1-6 เดือน — อบรมครรภ์คุณภาพ 2025 "Healthy Moms and Babies" สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 1-6 ...

สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิ... สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 52 — สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 52 วันจันทร์ที่...

สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิ... สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 51 — สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 51 วันจันทร์ที่...