มทร.ธัญบุรี จัดภูมิทัศน์ รอบสังเวชนียสถานจำลอง

19 Oct 2015
สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ทำบุญร่วมกันครั้งใหญ่ จูงมือกันจัดภูมิทัศน์ วัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี

พระมหาสมพงษ์ กนฺตธมฺโม เจ้าคณะตำบลคลองหก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม เปิดเผยว่า โดยทางวัด จัดตั้ง "พุทธอุทยาน สังเวชนียสถานจำลอง" เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นการจำลององค์จริงมากจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยได้เป็นดำริของท่านพุทธทาสภิกขุ เมื่อหลายสิบปีก่อนที่ต้องการตอบแทนพระคุณของพระพุทธเจ้า โดยคณะศิษยานุศิษย์ได้สืบทอดเจตนารมย์ของท่านด้วยการระดมศรัทธาจากสายบุญทั่วประเทศ สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558

สำหรับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ได้เข้ามารับผิดชอบ 2 ส่วน ได้แก่ส่วนงานประติมากรรมตกแต่งพระอุโบสถ นำทีมโดยผศ.ดร.ไชยพจน์ หวลมานพ อาจารย์และนักศึกษา ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และส่วนของแลนด์สเคปรอบ "สาลวโนทยาน" สถานที่ปรินิพนานของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็น 1 ใน 4 สังเวชนียสถานจำลอง นำทีมโดยนายพิศาล ตันสิน อาจารย์และนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งทางวัดมีโจทก์แนวคิดในการจัดสวน คือ ดูแลรักษาง่าย โดยพระและเณรสามารถดูแลรักษาได้ พยายามทำให้ดูเรียบง่าย

นายพิศาล อาจารย์ผู้ออกแบบและควบคุมดูแลนักศึกษาในการจัดภูมิทัศน์ เล่าว่า เมื่อได้รับโจทก์จากทางวัด ทางคณะทำงานได้แบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เรื่องของการวางแผนการออกแบบ ส่วนที่ 2 เรื่องการวางแผนเรื่องคน ตามความต้องการของวัดต้องการความเรียบง่าย จึงได้ออกแบบมาเป็นสวนสไตล์อินเดีย ยกตัวอย่างต้นไม้ เช่น เข็ม พิกุล หญ้านวลน้อย ไทรจีนที่เน้นรูปทรง โดยเป็นนักศึกษาประมาณ 240 คน ได้แก่ ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 ตรงกับวิชาที่นักศึกษาชั้นนั่นเรียน เช่น วิชาหญ้าสนาม วิชาจำแนกวัสดุพืชพันธ์ ซึ่งเป็นวิชาเรียนที่นักศึกษา ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน คณะทำงานได้วางแผนการทำงานมานาน แต่ต้องมีการเปลี่ยนแบบเปลี่ยนหน้างานตลอดเวลา เนื่องจากต้นไม้แต่ละชนิด ทางวัดได้รับบริจาคมาจากผู้ที่มีจิตศรัทธา จึงมีความหลากหลาย ในการจัดภูมิทัศน์ในครั้งนี้ เป็นปัญหาพิเศษ ที่นักศึกษาจะได้ศึกษาจริง ปฏิบัติงานจริง ตามนโยบายบัณฑิต Hand On ฝึกการทำงานในสายงานวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ เป็นการร่วมกันทำบุญครั้งใหญ่ ตามนโยบายหลักของสาขาว่าด้วยการบริการสังคม บนรากฐานคุณธรรม จริตธรรม และศิลปวัฒนธรรม

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 "โบ้" นายวัชรินทร์ กลิ่นแก่นจันทร์ ประธานสาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ เล่าว่า ส่วนใหญ่จะช่วยงานตลอด เพราะว่า เรียนทางด้านนี้การลงมือทำ จะทำให้มีประสบการณ์และรู้เทคนิคต่างๆ สำหรับงานวันนี้ เป็นงานค่อนข้างใหญ่ เพราะว่า มีพื้นที่เยอะ ต้องใช้คนจำนวนมาก ในการช่วยกันคนละไม้ละมือ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เรียนมา วิชาชีพในการจัดสวนต้องมีความอดทน เจอสภาพภูมิอากาศ ไม่เหมือนกัน เดียวฝนตก เดียวแดดออก เรียนในห้องเรียน รับรองไม่ได้รับประสบการณ์แบบนี้ สำหรับงานที่มาช่วยวัดในวันนี้ อาจารย์จะมีแผนงานให้ เนื่องจากอาจารย์เป็นผู้ออกแบบ ต้องทำงานตามแผนของอาจารย์ ในฐานะของประธานสาขา เวลามีงาน พี่ๆ น้อง จะช่วยกันทำงาน เป็นงานบุญครั้งใหญ่ที่ได้ทำร่วมกัน ได้จัดภูมิทัศน์บริเวณ "สาลวโนทยาน" สถานที่ปรินิพนานของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็น 1 ใน 4 สังเวชนียสถานจำลอง ไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้ามากราบไหว้

เช่นเดียวกับ "โอ๊ต" นายนัฏฐพล จันทร์ส่องแสง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เล่าว่า มีหน้าที่เกี่ยวกับขุดดิน ปลูกต้นไม้ เป็นกิจกรรมที่ดี ที่ได้ทำงานกิจกรรมกับน้องๆ สร้างความสามัคคีในสาขา และยังได้ช่วยทำให้วัดมีทัศนียภาพที่สวยงาม ครั้งแรกที่เคยเห็น "สาลวโนทยาน" ซึ่งได้จำลองมาจากประเทศอินเดีย ความรู้สึกตนเอง เป็นสถานที่สงบ มีความเรียบง่าย ตลอดเวลาที่ได้จัดสวนอยู่ที่วัด พระอาจารย์ที่วัดจะเข้ามาถาม ได้แนะนำและสอดแทรกธรรมะ ปกติจะไม่ค่อยได้เข้าวัด วัดถือเป็นสถานที่ทำบุญ บางคนทุกข์ใจ จะเข้ามาทำบุญที่วัด ดังนั้นความร่มรื่น การปลูกต้นไม้ให้กับวัด เป็นการสร้างบุญให้กับตนเองและเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวเทคโนโลยีภูมิทัศน์

"มิว" นางสาวธันย์ชนก หวั้นกัวะ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เล่าว่า ครั้งแรกที่ได้เข้ามาวัดปัญญานันทาราม ภายในวัดมีสถานที่ปฏิบัติธรรม เป็นวัดที่มีความสงบ มีต้นไม้เยอะ รู้สึกอิ่มบุญมาก ช่วยอาจารย์ในการจัดตั้งกิ่งไม้ ตัดแต่งให้เรียบร้อย ทุกครั้งที่มีงาน จะช่วยอาจารย์ทำงาน จัดภูมิทัศน์ที่วัด เป็นครั้งแรก แตกต่างกับการจัดสวนที่เคยทำอาจารย์ เนื่องจากต้นไม้ที่ปลูก ต้องเป็นต้นไม้ที่ดูแลรักษาง่าย เพราะว่า พระและเณรในวัดเป็นผู้ดูแล แต่อย่างไรก็ตามถ้ามีโอกาสในการเข้ามาจัดสวนในวัดอีก จะมาจัดอีก "ในฐานะของชาวพุทธ การทำนุงบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนควรปฏิบัติ"

ทางด้าน "พลอย" นางสาวสุพิชชา จันทร์มา เฟรรชี่น้องใหม่ที่ได้ลงพื้นที่จัดภูมิทัศน์ครั้งแรก เล่าว่า ครั้งแรกที่ได้ลงหน้างานจริง เมื่อได้ลงหน้างานรู้สึกชอบสาขานี้มากขึ้น เป็นสาขาที่เหมาะกับตนเอง ส่วนตัวเป็นคนชอบออกแบบ ชอบต้นไม้ ซึ่งมีความฝันหลังจบการศึกษาอยากมีหน้าร้านขายต้นไม้ และรับงานจัดสวน หน้าที่รับผิดชอบ คือปลูก "ต้นเข็ม" เป็นกิจกรรมที่ดี ส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้รู้ว่า การทำงานเป็นทีม เมื่อเห็นผลงานที่ออกเสร็จสมบูรณ์ เกิดความภาคภูมิใจ ส่วนใหญ่จะเข้าวัด ทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ ครั้งแรกที่ได้เข้ามาที่วัดนี้ เนื่องจากเป็นคนต่างจังหวัด ซึ่งถ้ามีเวลาว่าง จะชวนคุณพ่อคุณแม่ มาทำบุญที่วัดนี้ "สิ่งที่ได้คือสุขที่ได้ทำ"

ในการทำกิจกรรมของนักศึกษา "ทำบุญ ทำสุข" ระหว่างที่นักศึกษาได้ทำกิจกรรมร่วมกันในการช่วยการจัดสวน "ก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ" ซึ่งกิจกรรมที่นักศึกษาทำจะให้นักศึกษารู้สึกถึงสุขที่ได้ทำ เกิดความภาคภูมิใจ ตัวของคณาจารย์และนักศึกษา จะได้รับความภาคภูมิใจในวิชาเรียนได้ลงมือจริง ฝึกการแก้ปัญหา ของจากการทำงานจริงเกิดแหล่งเรียนรู้ มทร.ธัญบุรี เป็นต้นแบบของการเรียนของนักศึกษา พระมหาสมพงษ์ กนฺตธมฺโม กล่าวทิ้งท้าย