นักวิจัย มจธ. พัฒนาเอนไซม์ย่อยชีวมวลที่เหนือกว่าท้องตลาด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้มีความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.ในการวิจัยและพัฒนา "กรรมวิธีการผลิตเอนไซม์เชิงซ้อนที่ย่อยสลายชีวมวลจากวัสดุเหลือจากทางการเกษตร" ซึ่งได้รับการจดอนุสิทธิบัตรร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ รศ.ดร.กนก รัตนะกนกชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวเคมี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มจธ. กล่าวในฐานะผู้ร่วมพัฒนางานวิจัยนี้ว่าผลงานชิ้นนี้เป็นกรรมวิธีการผลิตเอนไซม์เชิงซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียที่เจริญเติบโตในสภาวะมีออกซิเจน ซึ่งเอนไซม์ที่ได้มีคุณสมบัติต่างจากที่วางขายในท้องตลาด และผ่านการทดสอบคุณภาพแล้วว่าดีกว่าแน่นอน
          "โดยปกติการผลิตเอนไซม์เชิงซ้อนมักผลิตได้จากแบคทีเรียสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตในสภาวะไม่ใช้ออกซิเจน แต่งานวิจัยของเราสามารถผลิตเอนไซม์เชิงซ้อนจากแบคทีเรียในสภาวะที่ใช้ออกซิเจนในอาหารทั่วไปที่มีราคาถูกและเพาะเลี้ยงได้ง่าย โดยใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและเกลือแร่เป็นแหล่งอาหารเพาะเลี้ยงในสภาวะปกติ เหมาะกับระบบอุตสาหกรรมที่ผลิตในปริมาณมาก นอกจากนี้เอนไซม์จากแบคทีเรียมีคุณสมบัติในการย่อยพอลิแซ็กคาไรด์ในชีวมวลได้ดีกว่าเอนไซม์ที่มีขายในท้องตลาด"
          รศ.ดร.กนก กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเป็นหนทางหนึ่งในการสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเอนไซม์ที่ได้จากกรรมวิธีที่พัฒนาขึ้นนี้ ทางสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. จะนำไปใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายชีวมวลต่างๆ หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด ซังข้าวโพด หรือกากมันสำปะหลัง ให้กลายเป็นน้ำตาลและนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเอทานอล เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือสารมูลค่าเพิ่มชนิดอื่นๆ ในเชิงพาณิชย์ต่อไป 
          "เอนไซม์เชิงซ้อนของเรามีคุณสมบัติการย่อยที่ดีกว่าเอนไซม์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด และย่อยได้โดยไม่ต้องผ่านการปรับสภาพก่อน ทำให้สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและลดมลพิษที่เกิดขึ้นได้ ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้าเอนไซม์จากต่างประเทศมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆเป็นจำนวนเงินหลายพันล้านบาทต่อปี จากผลงานวิจัยที่ได้จดสิทธิบัตรร่วมกันระหว่าง มจธ. กับ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. นี้ ทาง ปตท. จะนำเอนไซม์เชิงซ้อนที่ได้ไปต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ต่อไป"
          อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของ มจธ. ที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้วงการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของประเทศก้าวไปอีกขั้น
นักวิจัย มจธ. พัฒนาเอนไซม์ย่อยชีวมวลที่เหนือกว่าท้องตลาด
 
นักวิจัย มจธ. พัฒนาเอนไซม์ย่อยชีวมวลที่เหนือกว่าท้องตลาด
 
นักวิจัย มจธ. พัฒนาเอนไซม์ย่อยชีวมวลที่เหนือกว่าท้องตลาด
นักวิจัย มจธ. พัฒนาเอนไซม์ย่อยชีวมวลที่เหนือกว่าท้องตลาด

ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวันนี้

สอวช. ผนึก มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ

สอวช. ร่วมกับ มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง หนุนสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นได้จริง ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช. ร่วมกับ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดหลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รุ่นที่ 7 (STI Policy Design: STIP07)

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมส... 'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...

ไดกิ้นจับมือกรมอนามัย กรมการปกครอง สมาคมส... ไดกิ้นเดินหน้าพัฒนา "ห้องเรียนปลอดฝุ่น" ต้นแบบศูนย์การเรียนรู้คุณภาพอากาศภายในอาคาร ระดับภาคเหนือ ยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพของเด็กเล็ก — ไดกิ้นจับมื...

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งช... สวทช. จับมือ มจธ. เปิดรับสมัคร SMEs เพื่อยกระดับเทคโนโลยี พัฒนาโรงงาน และปรับปรุงการผลิตใน 4 จังหวัดภาคกลาง — สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ...

ในวาระครบรอบ 65 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลย... 65 ปี มจธ. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (Lifelong Learning University) ตลอดชีวิตเต็มรูปแบบ — ในวาระครบรอบ 65 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า...

TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการ... TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้งที่ 15 — TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้...

จีเอเบิล เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและผลักด... จีเอเบิล ร่วมผลักดันเยาวชนไทย คว้าชัยบนเวที PDPA Hackathon 2024 — จีเอเบิล เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันศักยภาพเยาวชนไทย สู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี...

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโน... ม.เกษตรศาสตร์ และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คว้าแชมป์รับถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรี ในงาน PDPA Hackathon 2024 สคส. พร้อมต้อนรับร่วมองค์กรในอนาคต — มหาวิทยาลัย...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรี... ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนห้องเรียนวิศว์-วิทย์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที...

ทีมมิตรภาพแห่งม้าโพนี่ จากมหาวิทยาลัยเทคโ... ทีมมิตรภาพแห่งม้าโพนี่ จาก มจธ. ดึงกลุ่มสตาร์แห่งวงการคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เป็นเครือข่ายสื่อสารพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่ — ทีมมิตรภาพแห่งม้าโพนี่ จากมหาวิทยาลั...