สัญญา โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ จำกัด (สำนักงานใหญ่: เขตมินะโตะ เมืองโตเกียว, ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร: นายชุนอิชิ มิยานากะ, ต่อไปนี้จะเรียกว่า "เอ็มเฮชไอ") และ บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (สำนักงานใหญ่ : เขตชิโยะดะ เมืองโตเกียว, ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ: นายโทชิอากิ ฮิกาชิฮาระ, ต่อไปนี้จะเรียกว่า "ฮิตาชิ") และ บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น (สำนักงานใหญ่ : เขตชูโอ เมืองโตเกียว, ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร: นายคุนิฮารุ นากามูระ, ต่อไปนี้จะเรียกว่า "ซูมิโตโม") ได้ชนะการประมูลงานสัญญาของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างระบบไฟฟ้าและระบบเครื่องกล รวมถึงการจัดหาตู้รถไฟฟ้า ในลักษณะการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ ในโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน ระบบรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) โดยมีมูลค่าสัญญาประมาณ 32,,399 ล้านบาท (110,000 ล้านเยน) และการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในเวลา 4 ปี เอ็มเฮชไอจะรับผิดชอบงาออกแบบและจัดหาระบบที่นอกเหนือจากตู้รถไฟฟ้า ฮิตาชิจะรับผิดชอบในการออกแบบและผลิตตู้รถไฟฟ้า ส่วนซูมิโตโมจะรับผิดชอบงานธุรการและงานติดตั้งระบบ
          ปัจจุบัน ประชากรไทยส่วนใหญ่นิยมเดินทางด้วยรถยนต์ ซึ่งทำให้ปัญหาการจราจรติดขัดและปัญหามลพิษทางอากาศที่ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้นความต้องการสาธารณูปโภคด้านขนส่งที่สามารถขนถ่ายได้ครั้งละจำนวนมากและมีมลพิษต่ำจึงมีสูงขึ้น ระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เป็นหนึ่งในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ของรัฐบาลไทย โดยเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย เส้นทางรถไฟสายเหนือที่มีระยะทาง 26.4 กิโลเมตร และเส้นทางรถไฟสายตะวันตกที่มีระยะทาง 14.6 กิโลเมตร โดยเส้นทางรถไฟจะก่อสร้างเป็นระบบรางรถไฟลอยฟ้า ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟสายเหนือ จะก่อสร้างโดยใช้เงินกู้ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ส่วนเส้นทางรถไฟสายตะวันตก จะก่อสร้างด้วยงบประมาณของรัฐบาลไทย โดยสัญญานี้เป็นสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จที่ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟฟ้า ระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้า ระบบการสื่อสาร ระบบการเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถไฟฟ้าโดยสาร ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็มเอชเอสซีจะเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการทั้งหมด 
          เอ็มเฮชไอมีประสบการณ์มากมายในการส่งมอบงานโครงการรถไฟขนาดใหญ่ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ไต้หวัน และโครงการที่เมืองดูไบ เช่นเดียวกันกับระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติและระบบขนส่งแบบใหม่สำหรับเขตเมืองและสนามบินทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ นอกจากนี้เอ็มเฮชไอยังเป็นบริษัทแรกในญี่ปุ่นที่มีระบบทดสอบระบบรถไฟฟ้าแบบครอบวงจร เอ็มเฮชไอจะใช้ประสบการณ์และเทคโนโลยีที่อยู่มากมายในฐานะผู้ประสานระบบมาใช้ในโครงการนี้
          ฮิตาชิมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบรางที่หลากหลาย ตั้งแต่รถไฟโดยสารไปจนถึงรถไฟความเร็วสูงในฐานะที่เป็นผู้ที่สามารถตอบสนองความต้องการในระดับโลก ฮิตาชิจะใช้ประสบการณ์ในการทำงานในโครงการต่างๆเพื่อให้สามารถส่งมอบรถไฟฟ้าที่มีความน่าเชื่อถือให้กับโครงการนี้ฟ
          ซูมิโตโมมีประสบการณ์ทำงานด้านโครงการระบบรางทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน ด้วยประสบการณ์ที่มีมากมายในการก่อสร้างโครงการรถไฟและการส่งมอบรถไฟ ซูมิโตโมจะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น
          มิตซูบิชิ ฮิตาชิ และซูมิโตโม จะสัญญาที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย โดยใช้จุดแข็งของแต่ละบริษัทในการส่งมอบระบบขนส่งมวลชนที่มีความปลอดภัย ความสะดวกสบายและมีมลพิษต่ำแก่ประเทศไทย
สัญญา โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง
สัญญา โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง สัญญา โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง

ข่าวมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่+ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่นวันนี้

มิตซูบิชิ พาวเวอร์ เดินหน้าพัฒนาพลังงานของประเทศไทยจากการสร้างโรงไฟฟ้าหินกองได้สำเร็จ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขนาด 1,400 เมกะวัตต์

มิตซูบิชิ พาวเวอร์ แบรนด์โซลูชันด้านพลังงานของ บริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด (MHI) ประกาศในวันนี้ว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการทางวิศวกรรม การจัดซื้อจัดหา และการก่อสร้าง (EPC) ของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมแบบกังหันก๊าซธรรมชาติขนาด 1,400 เมกะวัตต์ ตามกำหนดเวลาที่วางไว้ ความสำเร็จในครั้งนี้เกิดขึ้นจากการเริ่มต้นดำเนินการเชิงพาณิชย์ของกังหันก๊าซ M701JAC เครื่องที่สองสำหรับ โรงไฟฟ้าของบริษัทหินกอง พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนเฉพาะกิจ (SPC) ที่ก่อตั้งขึ้นร่วมกันโดยบริษัท

มิตซูบิชิ พาวเวอร์ แบรนด์โซลูชั่นด้านพลัง... มิตซูบิชิ พาวเวอร์ เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ของกังหันก๊าซ M701JAC ตัวที่ 6 ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกังหันก๊าซ (GTCC) ในประเทศไทย โครงการที่มีชั่วโมงการเดินเครื่องจริง (AOH) ถึง 50,000 ชั่วโมง — มิตซูบิชิ พ...

เริ่มดำเนินการ การผลิตไฮโดรเจนแบบอิเล็กโท... ทากาซาโงะ ไฮโดรเจน พาร์ค โรงงานทดสอบแบบบูรณาการแห่งแรกของโลกเทคโนโลยีตั้งแต่การผลิตไฮโดรเจนไปจนถึงการผลิตพลังงานไฟฟ้า เริ่มปฏิบัติการเต็มรูปแบบ — เริ่มดำเนิน...

มิตซูบิชิ พาวเวอร์ แบรนด์โซลูชันด้านพลังง... มิตซูบิชิ พาวเวอร์ เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ด้วยกังหันก๊าซ M701JAC ตัวที่ห้าในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมกังหันก๊าซ (GTCC) ในประเทศไทย — มิตซูบิชิ พ...

เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsing... มหาวิทยาลัยชิงหัวมุ่งมั่นปกป้องสิ่งแวดล้อม เปิดตัว "พันธกิจร่วมระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเป็นกลางทางคาร์บอน" — เมื่อไม่นานมานี้ ม...

บริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด... มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) และอินโดนีเซีย เพาเวอร์ ประกาศลงนามความร่วมมือ ในการศึกษาระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงร่วมระหว่างไฮโดรเจน ชีวมวล และแอมโมเนียในโรงไฟฟ้าทั่วประเทศอินโดนีเซีย — บริษัทมิตซู...

มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (Mitsubishi... มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) และ สถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) เปิดตัวแผนวิจัยและพัฒนาร่วมสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากแอมโมเนีย โดยใช้กังหันก๊าซในประเทศอินโดนีเซีย — มิตซูบิชิ เ...

บริษัทเคพเพล นิว เอนเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป... เคพเพล, มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ และ DNV ลงนามในข้อตกลงเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ของการใช้งานกังหันก๊าซที่ใช้แอมโมเนียเป็นเชื้อเพลิงบนเกาะจูร่ง — บริษัทเคพเพ...

กังหันก๊าซ Air-cooled JAC Series กำหนดเกณ... กังหันก๊าซรุ่น M701JAC ล้ำสมัยมีชั่วโมงการทำงานจริงเกิน 8,000 ชั่วโมง — กังหันก๊าซ Air-cooled JAC Series กำหนดเกณฑ์เปรียบเทียบของอุตสาหกรรมด้านความน่าเชื่...