การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2561 – 2565) จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารแบบบูรณาการ และเป็นกรอบชี้นำในการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ และกลไกการขับเคลื่อนจะต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน นอกจากนี้ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะที่ 3 นั้น จะเป็นยุทธศาสตร์ที่ไม่ได้มุ่งเน้นให้สำนักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้ดำเนินการเอง แต่สำนักงาน ป.ป.ช. จะเป็นแกนนำ (Prime Mover) ในการประสาน และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ เนื่องจากเป็นองค์กรหลักด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศ ซึ่งมีหน้าที่แก้ไขปัญหาการทุจริตและยกระดับความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ดังนั้น ในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 3 จึงไม่ได้เก็บข้อมูลเฉพาะสำนักงาน ป.ป.ช. เท่านั้น ยังต้องถามความคิดเห็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ ในทุกๆ ภาคส่วน
ซึ่งในการดำเนินการนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2561 - 2565) โดยมี ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ เป็นประธานอนุกรรมการ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2561 - 2565) ขึ้น โดยมีที่ปรึกษาคณะทำงาน 3 ท่าน ได้แก่ พลอากาศเอกวีรวิท คงศักดิ์ รองศาสตราจารย์ มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ และนายประหยัด พวงจำปา สำหรับประธานคณะทำงานได้แก่ ดร. อุทิศ ขาวเธียร โดยคณะทำงานประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งคณะทำงาน มีหน้าที่ศึกษาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต วิเคราะห์สภาพแวดล้อม และยกร่างยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2561 - 2565)
การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติฯ ระยะที่ 3 ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้ให้นโยบายกับคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2559 ว่า จะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2559 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี ในเดือนกันยายน 2559 และให้หน่วยงานต่างๆ นำไปจัดทำคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ในเดือนตุลาคม 2559 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีงบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินการโครงการต่าง ๆ ดังนั้น หากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จ ส่วนราชการต่างๆ จะไม่สามารถตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้ อันจะส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ และสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คือ การที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญและจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ให้เพียงพอ และควรเป็นงบประมาณที่มีสัดส่วนจากงบประมาณภาพรวมที่ชัดเจนเพราะการป้องกันและการปลูกฝังค่านิยม การรณรงค์การประชาสัมพันธ์ ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีงบประมาณดำเนินการอย่างเพียงพอ จึงจะสำเร็จ
ในการดำเนินงานนั้น คณะทำงานฯ ได้มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อให้การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติฯ ระยะที่ 3 แล้วเสร็จตามกำหนด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้วหลายขั้นตอน ได้แก่ การสังเคราะห์รายงานศึกษาและวิจัย รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ทุจริตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กฎหมาย ระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้อง การจัดเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม การจัดประชุมระดมความเห็นผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.จ. การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญ และการสัมมนารับฟังความเห็น ครั้งที่ 1 วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2559 จากผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันสอบทานสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรคของการดำเนินการยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 2 ที่ผ่านมา และนำเสนอข้อมูลที่นำไปสู่วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่นำไปสู่การปฏิบัติ การแก้ไขการทุจริต และได้นำมายกร่างยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2561 - 2565)
นายสุริยชัย รวิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตการประกวดราคาด้วยวิธีประกวดราคาแบบคัดเลือก จ้างเหมาซ่อมรถดับเพลิงพร้อมบันไดสูงไม่น้อยกว่า 13 เมตร ยี่ห้อสไตเออร์ จำนวน 18 คัน พบความผิดปกติที่ส่อไปในทางทุจริตว่า กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากบริษัท เทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด ได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน
SAM ได้รับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ITA ปี 2567 ระดับ "ผ่านดี" 95.77 คะแนน ยึดหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
—
บริษัท บริหารสินทรัพย์...
EXIM BANK จับมือสำนักงาน ป.ป.ช. และ CAC เปิดตัวนวัตกรรมทางการเงินด้านธรรมาภิบาลครั้งแรกของโลก
—
EXIM BANK จับมือสำนักงาน ป.ป.ช. และ CAC เปิดตัวนวัตกรรมทาง...
การเคหะแห่งชาติเผยผลการประเมิน ITA ได้ระดับผ่านดี 96.44 คะแนน ทวงคืนอันดับ 1 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม.
—
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาต...
มทร.ล้านนาปลื้ม ป.ป.ช.ประกาศผล ITA ได้คะแนน 91.07 ระดับผ่านดี
—
รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา กล่าวว่ามทร....
มทร.ล้านนาปลื้ม ป.ป.ช.ประกาศผล ITA ได้คะแนน 91.07 ระดับผ่านดี
—
รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา กล่าวว่ามทร....
CHOW รับรางวัลองค์กรโปร่งใสครั้งที่ 11
—
บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแท่งยาว (Steel...
ปตท. รับรางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส รางวัลแห่งเกียรติยศด้านธรรมาภิบาลและความโปร่งใส
—
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายชฎิล ชวนะลิขิกร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารศักยภาพ...
ศตท.กทม.ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนทุจริตแล้วเสร็จ 110 เรื่อง อยู่ระหว่างตรวจสอบขยายผลอีก 84 เรื่อง
—
นายณัฐพงศ์ ดิษยบุตร หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุ...