ซัลทิดินป้องกันไวรัสซิกา และโรคอื่นๆ ที่มียุงเป็นพาหะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ผลิตภัณฑ์ไล่แมลงที่มีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ซัลทิโก (Saltigo) ช่วยไล่ยุงและป้องกันการติดเชื้อไวรัสอันตราย
          ผู้ที่ต้องเดินทางจากบ้านเกิดสู่ภูมิภาคเขตร้อนจำเป็นต้องดูแลรักษาสุขภาพตนเองอย่างเคร่งครัดในเวลานี้ เนื่องจากไม่เพียงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรียและไข้เลือดออกเท่านั้น หากยังมีการแพร่ระบาดของไวรัสซิกาซึ่งเกิดจากยุง ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศอบอุ่นและชื้นอาทิ ประเทศบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา ปัญหาไวรัสซิกาแพร่ระบาดทำให้หลายหน่วยงานภาครัฐของบราซิลต้องประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในช่วงปลายปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา
          แม้ว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) จะไม่ได้แนะนำให้ยกเลิกการเดินทางสู่พื้นที่ดังกล่าวที่ซึ่งมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส แต่ได้ชี้แนะให้มีการป้องกันแมลงที่เป็นพาหะนำโรคด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เป็นพาหะแพร่ระบาดเชื้อไวรัส พร้อมกับสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดผิวหนัง ใช้มุ้งกันยุงขณะนอนหลับ และใช้ผลิตภัณฑ์ไล่แมลง อย่างอิคาริดิน (icaridin) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุด
          ซัลทิโก (Saltigo GmbH) บริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศภายใต้แลงเซส (LANXESS) บริษัทเคมีภัณฑ์เฉพาะทาง เป็นผู้ผลิตสารออกฤทธิ์ดังกล่าวที่ผ่านการพิสูจน์คุณภาพมายาวนาน และทำตลาดภายใต้แบรนด์ซัลทิดิน (Saltidin) ผู้ผลิตมากมายทั่วโลกใช้สารดังกล่าวเพื่อการผสมสูตรผลิตภัณฑ์ไล่แมลง
          "ซัลทิดินได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพการปกป้องผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกจากการถูกแมลงกัดต่อย และเราเชื่อว่าสารออกฤทธิ์ของเราจะช่วยสกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัสซิกาได้เป็นอย่างดี โดยนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ความต้องการใช้สารออกฤทธิ์อิคาริดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เราคาดว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว" วูล์ฟกัง ชมิตซ์ กรรมการผู้จัดการของซัลทิโกกล่าว
รายงานล่าสุดระบุว่า ไวรัสซิกาถูกตรวจพบในตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยในประเทศแถบยุโรป ทั้งอิตาลี สหราชอาณาจักร สเปน สวิสเซอร์แลนด์และเดนมาร์ก ผู้ป่วยดังกล่าวติดเชื้อไวรัสระหว่างการเดินทางในต่างประเทศ
          ขณะที่ในประเทศไทย ไม่เพียงตรวจพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสซิกาในช่วงต้นกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ยังต้องเผชิญกับอีกหลายโรคอันตรายที่เกิดจากยุง โดยยุงลายสายพันธุ์เดียวกับที่เป็นพาหะเชื้อไวรัสซิกายังสามารถแพร่เชื้อไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกราว 140,000 รายในปี พ.ศ. 2558 นับเป็นจำนวนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อ 170,000 รายในปีพ.ศ. 2530 ที่มีการระบาดอย่างรุนแรง
          กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่า ผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ซึ่งเทียบเท่ากับวิกฤตการแพร่ระบาดเมื่อเกือบสามทศวรรษที่แล้ว
          "การแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากยุงจะสูงมากขึ้นตามธรรมชาติในภูมิภาคเขตร้อน อย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมช่วยให้ยุงมีการเติบโต เราเชื่อว่าซัลทิดินจะมีประสิทธิภาพในการรับมือกับต้นตอของปัญหานี้ด้วยการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะ" รอย เลย์ ผู้จัดการฝ่ายขายซัลทิโก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
          ซัลทิดินช่วยปกป้องอย่างอเนกประสงค์
          "ซัลทิดินช่วยขับไล่ยุงด้วยการส่งผลต่อต่อมรับกลิ่นของยุง กำจัดความสามารถของยุงในการตรวจจับเลือดมนุษย์ สารออกฤทธิ์ของเราไม่ใช่ยาฆ่าแมลงและไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์" เดิร์ก ซานดรี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดเคมีภัณฑ์เฉพาะทางของซัลทิโกกล่าว
          นั่นคืออีกหนึ่งคุณสมบัติสำคัญของผลิตภัณฑ์ตัวนี้นอกเหนือจากการใช้งานกับผิวหนังได้ดี ผลิตภัณฑ์ไล่แมลงที่มีส่วนผสมของซัลทิดินจึงสามารถใช้ระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบันที่จะต้องปกป้องสตรีมีครรภ์ไม่ให้ถูกยุงที่ออกหากินในเวลากลางวันกัด โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ในบราซิล โคลัมเบีย ซูรินาเม ซามัวและเคปเวิร์ด เนื่องจากองค์การอนามัยแห่งทวีปอเมริกา (PAHO) ระบุว่าไวรัสซิกาที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในเวลานี้อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเด็กแรกเกิดใน 18 ประเทศแถบลาตินอเมริกาและคาริบเบียน ยังไม่มีความชัดเจนว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวทำให้เกิดภาวะไมโครเซฟาลี (microcephaly) ซึ่งทำให้เด็กเกิดมามีหัวเล็กกว่าปกติและมีความบกพร่องทางสติปัญญา นักวิจัยกำลังค้นหาถึงความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงระหว่างไวรัสซิก้าและความผิดปกติ แต่คาดว่าผลวิจัยจะได้ข้อสรุปในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า
          องค์การอนามัยโลกประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดที่รวดเร็วของไวรัสซิกา สหภาพยุโรป (EU) ได้ประกาศเตือนสตรีมีครรภ์ไม่ให้เดินทางไปที่ภูมิภาคอเมริกาใต้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และสหรัฐอเมริกาออกประกาศเช่นเดียวกันในช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ถ้ามีความจำเป็น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกาแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ซึ่งรวมถึงยาที่มีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ อิคาริดินสำหรับสตรีมีครรภ์ แม่ลูกอ่อน และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี
          ไวรัสซิกามีต้นกำเนิดมาจากภูมิภาคซิกาของประเทศอูกานดา แทบไม่มีการวิจัยเกี่ยวกับไวรัสประเภทนี้ซึ่งก่อนหน้านี้จำกัดการแพร่ระบาดเพียงไม่กี่กรณีในแอฟริกาและกรณีเฉพาะในเอเชีย ยังไม่มีความชัดเจนว่าไวรัสดังกล่าวแพร่ระบาดมาถึงบราซิลได้อย่างไร แต่สิ่งที่มีความแน่ชัดแล้วก็คือ การป้องกันไวรัสที่อาศัยยุงลายอียิปต์เป็นพาหะแบบเดียวกับเชื้อไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพคือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของซัลทิดิน สำหรับอาการเริ่มต้นเมื่อติดเชื้อไวรัสเขตร้อนจะดูเหมือนไม่มีอันตราย โดยมีอาการปวดข้อ ผื่นคัน ปวดศีรษะและมีไข้เล็กน้อย
          สำหรับรายละเอียดทางเคมีของซัลทิดิน คือ 1-(1-เมทิลโพรพอกซีคาร์บอนิล)-2-(-2-ไฮดรอกซีเอทิล) พิเพอริดีน หรือเรียกสั้นๆ ว่า อิคาริดิน ไม่มีกลิ่นและไม่ระคายเคือง ไม่ทำให้แพ้หรือติดกับผิวหนัง สารออกฤทธิ์ดังกล่าวมีความเหมาะสมสำหรับการผสมสูตรผลิตภัณฑ์ไล่แมลงอย่างครอบคลุมที่ถูกประยุกต์ใช้หลากหลายรูปแบบ สารนี้สามารถเป็นส่วนผสมละลายโดยไม่มีสีในแอลกอฮอล์และน้ำ มีความคงตัวทางจุลชีววิทยา ไม่กัดกร่อนและรองรับการใช้งานกับพลาสติกหลายประเภท การทดสอบในห้องแล็บทดลองและการใช้งานจริงอย่างกว้างขวางพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพการป้องกันแมลงดูดเลือดหลายประเภท ทั้งยุง แมลงวัน เห็บ ริ้น เหลือบม้า มดและแมลงสาบ
          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไล่แมลงของซัลทิโก เข้าชมได้ที่ www.saltidin.com

ซัลทิดินป้องกันไวรัสซิกา และโรคอื่นๆ ที่มียุงเป็นพาหะ
ซัลทิดินป้องกันไวรัสซิกา และโรคอื่นๆ ที่มียุงเป็นพาหะ
 

ข่าวไข้เลือดออก+ไวรัสซิกาวันนี้

แอกซ่าประกันภัย พร้อมดูแลคุณและครอบครัว ด้วยแผน "ประกันโรคร้ายจากยุงและโรคเขตร้อน" ในฤดูฝนนี้

ต้อนรับฤดูฝนและเปิดภาคเรียนใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ แอกซ่าประกันภัยขอแนะนำแผนประกันภัยสุขภาพ "ประกันโรคร้ายจากยุงและโรคเขตร้อน" (Tropical Disease Insurance) มอบความอุ่นใจให้ครอบครัวด้วยความคุ้มครองที่ครอบคลุมจากโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) ไวรัสซิกา โรคไข้จับสั่น (มาลาเรีย) และโรคไข้สมองอักเสบ ฤดูฝนเป็นฤดูที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะเพิ่มมากขึ้นการมีความคุ้มครองจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยโรคไข้

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย... กทม.ปรับปรุงระบบจัดการด้านสาธารณสุขเขตเมือง เฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก — นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึงมาตรการเชิ...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม.รุกป้องกันควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ แนะปฏิบัติตามมาตรการ 5 ป. — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม.กล่าวถึงมาตรการเชิงร...

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงข... สคร. 12 สงขลา เตือนหน้าฝน ระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกา — สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ห่วงหน้าฝน มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลาย เช่น โรคไข้...

ดร.ประวิตร ไวรุ่งเรืองกุล (ที่ 4 จากซ้าย)... ภาพข่าว: ซอฟเฟล มอบโลชั่นทากันยุงแก่กรมควบคุมโรค ร่วมต้านไข้เลือดออกและไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา — ดร.ประวิตร ไวรุ่งเรืองกุล (ที่ 4 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บ...

ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนั... สคร. 12 สงขลา แนะทำความเข้าใจโรคติดเชื้อไวรัสซิกา — ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ช่วงหน้...