แวร์ยูว้อนท์แนะสตาร์ทอัพ ปรับกลยุทธ์ให้มีความชัดเจนเรื่องการทำกำไร ผู้บริหารแวร์ยูว้อนท์ลงความเห็น ปี 2559 ถือว่าเป็นปีทองที่น่าจับตามองของอีคอมเมิร์ซ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ผู้บริหารของ WearYouWant (แวร์ยูว้อนท์) ร้านค้าสินค้าแฟชั่นและความงามออนไลน์ชั้นนำของประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ที่ทำธุรกิสตาร์ทอัพ โดยต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการสร้างผลกำไร ไม่ใช่แค่เน้นที่จำนวนผู้ใช้เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์ที่นักลงทุนวางไว้ ส่วนภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง ก็กำลังมีการพัฒนาที่น่าจับตามองในเรื่องของธุรกิจอีคอมเมิร์ซนี้ด้วย
          ที่งานลาสท์ไมล์ฟูลฟิลเมนท์เอเชีย คอนเฟอร์เร้นซ์แอนด์เอ็กซิบิชั่น 2016 หรือแอลเอ็มเอฟเอเชีย ซึ่งเพิ่งจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ (Last Mile Fulfilment Asia) นายมาร์ติน ทอฟท์ โซเรนเซน ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ WearYouWant ได้เข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อของธุรกิจเกิดใหม่หรือสตาร์ทอัพ และได้ให้คำแนะนำว่าผู้ทำธุรกิจประเภทนี้ควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นที่นอกเหนือจากทีมงาน,           ผลิตภัณฑ์และตลาดที่รองรับสินค้าด้วย หากต้องการที่จะประสบความสำเร็จ
"ผู้ที่ทำธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นควรที่จะมีแนวทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการสร้างผลกำไร การขยายธุรกิจนั้นต้องคำนึงถึงความสำคัญของลูกค้าใหม่ที่ลงทุนไปเทียบกับต้นทุนในการสร้างลูกค้าใหม่ด้วย" นายมาร์ติน กล่าว
          "ถ้าให้ความสำคัญกับการสร้างลูกค้าใหม่มากเกินไปจนลืมนึกถึงค่าตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ก็จะเกิดความเสี่ยงจากการขาดทุนสูง จริงอยู่ว่าอินเตอร์เน็ตนั้นช่วยให้การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นไปได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างเม็ดเงินให้กับนักลงทุน, ผู้ถือหุ้น และผู้ร่วมทำธุรกิจนั้นๆ"
          ทางด้านนายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง บริษัท อีฟราสตรักเจอร์ จำกัด, กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง TARAD.com ซึ่งอยู่ในเวทีเสวนาเดียวกัน ก็กล่าวแสดงความเห็นที่สอดคล้องกับนายมาร์ติน
          นายมาร์ตินได้กล่าวว่า สตาร์ทอัพที่จะไปได้ไกลนั้นควรมีการดำเนินธุรกิจที่สมดุลย์ระหว่างทุนที่นำไปสร้างฐานลูกค้า และความสามารถในการสร้างเม็ดเงินจากลูกค้า นอกจากนี้ ยังควรมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อช่วยในการดึงดูดความสนใจของลูกค้าอีกด้วย
          ถึงแม้เราจะเห็นว่าเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซหลายแห่งได้รายงานถึงยอดขายที่สูง แต่กระนั้นก็รับรองไม่ได้ว่าผลกำไรนั้นสูงตามไปด้วยหรือไม่
          "ในประเทศไทย เรายังไม่เคยเจอธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ขยายตัวและยังคงทำกำไรได้อยู่"
          "การที่ Alibaba ยักษ์ใหญ่จากเมืองจีนแห่งวงการอีคอมเมิร์ซเข้าซื้อ Lazada ซึ่งเป็นกิจการของ Rocket Internet รายหนึ่งที่มีอัตราการเติบโตสูง แต่กลับทำรายได้ไม่มากเท่าที่ควร รวมถึง Zalora ในไทยและเวียดนาม ซึ่งถูกเซ็นทรัล กรุ๊ปซื้อไป ตรงนี้ถือว่าเป็นข่าวใหญ่สำหรับวงการเลยทีเดียว"
          นายมาร์ตินกล่าวว่า การเข้าซื้อ Lazada ของ Alibaba นั้น ถือว่าเป็นการเบิกทางให้ยักษ์ใหญ่จากแดนมังกรนี้เข้าสู่ตลาดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะผู้นำของตลาด ส่วนการที่ Zalora (ไทยและเวียดนาม) ถูกซื้อไปโดยผู้ค้าปลีกแบบมีหน้าร้านรายใหญ่ของไทยนั้น ก็เป็นที่น่าสนใจว่าจะเกิดการตลาดแบบ omni-channel ขึ้นในเมืองไทยหรือไม่
          นายมาร์ตินยังกล่าวอีกว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่น่าสนใจและน่าจับตามอง โดยเฉพาะกับธุรกิจ e-commerce, สตาร์ทอัพ, รวมถึงนักลงทุนต่างๆ
          "มีข่าวออกมามากมายเกี่ยวกับเงินทุนที่ e-commerce ต่างๆได้รับจากนักลงทุน แต่มีการเข้าซื้อและขายกิจการ (acquisition and exit) น้อยมาก ซึ่งที่จริงแล้วเป็นเรื่องสำคัญในการคงธุรกิจให้มีความสมดุลย์ จากที่มีการซื้อกิจการสองเจ้านี้ ผมเชื่อว่าเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าจะเกิดการควบรวมกิจการในตลาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายความว่าตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ จะมีการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจกว่าเดิมในด้านของการควบรวมกิจการ (M&A)"

แวร์ยูว้อนท์แนะสตาร์ทอัพ ปรับกลยุทธ์ให้มีความชัดเจนเรื่องการทำกำไร ผู้บริหารแวร์ยูว้อนท์ลงความเห็น ปี 2559 ถือว่าเป็นปีทองที่น่าจับตามองของอีคอมเมิร์ซ
แวร์ยูว้อนท์แนะสตาร์ทอัพ ปรับกลยุทธ์ให้มีความชัดเจนเรื่องการทำกำไร ผู้บริหารแวร์ยูว้อนท์ลงความเห็น ปี 2559 ถือว่าเป็นปีทองที่น่าจับตามองของอีคอมเมิร์ซ
 

ข่าวธุรกิจอีคอมเมิร์ซ+ประเทศสิงคโปร์วันนี้

ยูโอบี ประเทศไทย สนับสนุนการเติบโตของเอสเอ็มอีในธุรกิจอีคอมเมิร์ซกับโครงการ E-Commerce Accelerator

จากการเติบโตและขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-commerce) ทั้งในประเทศไทย ครอบคลุมไปจนถึงตลาดจีน ยุโรปและอเมริกา ตอกย้ำพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยให้สามารถพาธุรกิจเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของต่างชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกได้ สอดคล้องกับมุมมองของ SMEs ไทย ที่ร้อยละ 90 เชื่อว่า e-commerce มีความสำคัญต่อการขยายตัวสู่ระดับโลกเพราะอาจสร้างยอดได้จากต่างประเทศได้มากกว่าในประเทศ[1] อย่าง

ฮั่วเซ่งเฮงผนึกกำลังไปรษณีย์ไทย ต่อยอดธุร... ฮั่วเซ่งเฮงผนึกกำลังไปรษณีย์ไทย ต่อยอดธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับฮั่วเซ่งเฮง ช้อปออนไลน์ — ฮั่วเซ่งเฮงผนึกกำลังไปรษณีย์ไทย ต่อยอดธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับฮั่วเซ...

เวียดนามพร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการส่งเสร... “อีโค่โมบิ” โซลูชันการเติบโตรายได้ที่ครอบคลุมสำหรับแบรนด์ — เวียดนามพร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันอ...