TLUXE ปรับคุณภาพผลิตภัณฑ์-สร้างทีมมาร์เก็ตติ้งดันมาร์จิ้นเพิ่ม เผยการลงทุนพลังงานความร้อนใต้พิภพในญี่ปุ่นเฟส แรก เริ่ม COD สิ้นเดือนพ.ค.นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          TLUXE เปิดแผนธุรกิจปี 2559 เน้นการบริหารจัดการการผลิต และรับจ้างผลิต ให้มีประสิทธิภาพ มุ่งรักษาอัตรากำไรขั้นต้น ให้อยู่ในระดับที่ดี ไม่เน้นตัวเลขรายได้เติบโตแบบหวือหวาเหมือนที่ผ่านมา "กิติพัฒน์ ชลวุฒิ" ซีอีโอ เผยความคืบหน้าธุรกิจพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ขนาดกำลังการผลิต 500 กิโลวัตต์ ในประเทศญี่ปุ่น เฟสแรกพร้อม COD สิ้นดือนพ.ค. 59 นี้ เชื่อการลงทุนช่วยสร้างรายได้และกระจายความเสี่ยงในธุรกิจ คาดเห็นรายได้ประมาณ 50 ล้านบาทต่อปี ส่วนเงินลงทุนไร้กังวลเหตุมีเงินทุนหมุนเวียนและเงินกู้สถาบันการเงินรองรับ สำหรับการลงทุน 
          นายกิติพัฒน์ ชลวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TLUXE เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯในปี 2559 ว่า บริษัทฯไม่เน้นการเติบโตของรายได้ที่หวือหวา แต่จะเน้นการผลิตและรับจ้างการผลิตที่ทำให้มีอัตรากำไรขึ้นต้นดีขี้น การบริหารจัดการต้นทุน และการตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งรักษาระดับอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Margin) ให้อยู่ในระดับที่ดี ซึ่งในไตรมาส 1/59 อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทฯปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 15.18% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 12.67% ปัจจุบันธุรกิจของบริษัทมี 2 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์กุ้ง ปลา และธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ( Feed) ซึ่งผลิตโดยบริษัท ไทยลักซ์ ฟู้ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูก ทั้งนี้สัดส่วนรายได้หลักของบริษัทฯมาจากการขายอาหารสัตว์ คืออาหารกุ้งและอาหารปลา 85% และการแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็ง 15% 
          "ปีนี้เรามุ่งรักษาระดับ gross margin โดยเฉพาะในส่วนของตลาดอาหารกุ้งที่คาดว่าเทรนด์ปีนี้จะ เติบโตดีขึ้น โดยเราวางกลยุทธ์จะเน้นเจาะตลาดภาคใต้มากขึ้น โดยเพิ่มกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อดึงมาร์เก็ตแชร์กลับมา ขณะนี้ได้เตรียมพร้อมทีมงานการตลาด ทีมขาย ไปเจาะตลาดกุ้งภาคใต้ เนื่องจากตลาดใหญ่ของอาหารกุ้งอยู่ที่ภาคใต้ 100% เรามีความได้เปรียบเรื่องอาหารกุ้ง จากการที่ TLUXE มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำที่จ.สงขลา ซึ่งที่ผ่านมายอดขายเราลดลงจากการข่าวสารว่า TLUXE เลิกผลิตอาหารสัตว์ทำให้เกษตรกรหันไปซื้อจากบริษัท อื่น" นายกิติพัฒน์ กล่าว
          สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมสัตว์น้ำปี 2559 คาดว่าผลผลิตกุ้งจะดีขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพและการปรับ วิธีการเลี้ยง แต่ในส่วนภาคกลางตอนนี้ปัญหาภัยแล้งส่งผลกระทบต่อลูกค้า ทำให้ไม่สามารถลงกุ้งได้ ทำให้การลงกุ้งล่าช้าต้องรอฝน ขณะที่แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารปลาในปีนี้จะมีการแข่งขัน ค่อนข้างรุนแรงในเรื่องของราคาและเครดิตมากขึ้น เพราะเกษตรกรมีสภาพคล่องทางการเงินลดลง ส่งผลให้บริษัทที่เข้ามาใหม่เน้นในด้านการให้เครดิต การตัดสินใจซื้อของเกษตรกรจึงง่ายขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมเลี้ยงปลายังทรงตัว ปริมาณการให้อาหารปลาไม่แตกต่างจากปี 2558 มากนัก 
          อย่างไรก็ตาม จากการที่ภาครัฐต้องเร่งแก้ปัญหาการกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้า เพื่อแก้ปัญหา IUUโดยเฉพาะเรื่องแรงงานทาส จากสถานการณ์ดังกล่าว บริษัทฯให้ความสำคัญในเรื่องนโยบายการเน้นคุณภาพสินค้าโดยเฉพาะการแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็งในประเทศไทยก็ยังคงมีความไม่แน่นอน จาก การได้รับผลกระทบจากประเทศปลายทางในอนาคต ทางบริษัทไทยลักซ์ ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด จึงจะปรับมาทำการตลาดภายในประเทศมากขึ้น ลดสัดส่วนในการขายผลิตภัณฑ์จากทะเล หรือที่เกี่ยวข้อง ไปสู่การแปรรูปปลาน้ำจืด เพื่อลดความเสี่ยงในการกีดกันทางการค้าจากประเทศปลายทางอุตสาหกรรมแช่แข็ง พร้อมทั้งจะขยายการแปรรูปปลาน้ำจืดแช่แข็งในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อรองรับผลผลิตจากเกษตรที่ใช้อาหารปลาจาก TLUXE และขยายสายการผลิตไปสู่ผักแปรรูปแช่แข็ง เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าควบคู่กันไป
ส่วนความคืบหน้าการเข้าลงทุนในกิจการด้านพลังงานโดยลงทุนเข้าซื้อหุ้นของ บริษัท PPSN จากประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นพลังงานไฟฟ้าจากใต้พื้นพิภพ (GEOTHERMAL) 4 ยูนิต ขนาดกำลังการผลิตรวม 125 กิโลวัตต์ต่อ ยูนิต รวมเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้า 500 กิโลวัตต์ (125 กิโลวัตต์ เทียบเท่า 1 เมกกะวัตต์ ในพลังงานแสงอาทิตย์) จะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) สำหรับเฟสแรก ขนาด 250 กิโลวัตต์ ในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบ ส่วนเฟส 2 จะวางแผงติดตั้งในเดือนกรฏาคม 2559 และคาดว่าจะจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ในเดือนกันยายน 2559 นี้ ทั้งนี้ TLUXE ถือหุ้น 100% คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 400 ล้านบาท ซึ่งเงินลงทุนมาจากเงินกู้สถาบันการเงินและเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ คาดว่าจะรับรู้รายได้ประมาณ 50 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการลงทุนด้านพลังงานในประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้นับเป็นโอกาสที่ดีมากในการ ลงทุนด้านพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ที่มีการเติบโตสูงใน อนาคต และได้รับการสนับสนุนดีมากจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยคาดว่าให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสำหรับผู้ถือหุ้น (Equity IRR) ร้อยละ 23.71 จากโครงการดังกล่าว ทั้งนี้การที่บริษัทฯขยายการลงทุนไปยังธุรกิจพลังงานเพื่อเพิ่มรายได้ และกระจายความเสี่ยงของรายได้ ประกอบกับธุรกิจจำหน่ายไฟฟ้ามีรายได้สม่ำเสมอมั่นคง มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวถึง 15 ปี 
          "TLUXE เป็นผู้ประกอบการไทยรายแรกที่ลงทุนในธุรกิจพลังงานประเภทพลังงานจากใต้พื้น พิภพ(GEOTHERMAL) เราคาดว่าจะต่อยอดในธุรกิจ สร้างรายได้อย่างมั่นคงและสม่ำเสมอ ประเมินรายได้ปีละ 50 ล้านบาท และเงินลงทุน 400 ล้านบาท เรามีเพียงพอและพร้อมสำหรับการลงทุนครั้งนี้ ทั้งนี้หากบริษัทสามารถรับรู้รายได้เชิงพาณิชย์(COD) เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ในอนาคตบริษัทมีแผนที่จะขยาย GEOTHERMAL ถึง 30 ยูนิต (หรือเทียบเท่า 30 เมกกะวัตต์ ในพลังงานแสงอาทิตย์) คาดว่าจะสร้างรายได้เกิน 300 ล้านบาทต่อปี" นายกิติพัฒน์กล่าว
          ขณะที่การร่วมทุนกับบริษัท นิปปอนแพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน )หรือ NPP โดยผ่านบริษัท ไทยลักซ์ ฟู้ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยนั้น เนื่องจากเรามีความพร้อมด้านวัตถุดิบ ถือว่าเป็นการต่อยอดธุรกิจอีกทางหนึ่ง และเป็นการสนับสนุนการขยายธุรกิจให้แก่บริษัทย่อย ซึ่งมองว่าจะสร้างความเติบโตและช่วยให้บริษัทย่อยมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น เนื่องจาก NPP มีธุรกิจร้านอาหารแบรนด์ดัง คือ A&W และ MIYABI
          ส่วนการเข้าไปถือหุ้นบริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACAP นั้น เนื่องจากมองว่าบริษัทฯมีโอกาสในการเจริญเติบโตและมีความเป็นไปได้ที่ธุรกิจ ของทั้ง 2 บริษัทจะสามารถเสริมซึ่งกันและกันได้ ในเบื้องต้นมีการพูดคุยถึงความเป็นไปได้ที่จะให้ ACAP ปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าเกษตรกรของ TLUXE ทั้งนี้ มองว่าหากลูกค้ามีเงินทุนหมุนเวียนและกิจการเติบโต ลูกค้ามีเงินก็จะมาซื้ออาหารของบริษัทเพื่อไปเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่ TLUXE ได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเรามีฐานลูกค้าประมาณ 200-300 ราย ตอนนี้อยู่ระหว่างการประเมินโดยการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวACAP คิดอัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปี
          สำหรับผลประกอบการของบริษัทฯและบริษัทย่อยในงวดไตรมาส1/2559 มีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 11.44 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2558 ที่มีกำไรสุทธิ 10.11 ล้านบาท และมีกำไรขั้นต้นจำนวน 51.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.76 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 15.18% เพิ่มขึ้น 2.51% เนื่องจากบริษัทฯมีการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้ ดีขึ้น ทั้งนี้ บริษัทฯ มีรายได้รวม 415.47 ล้านบาท ลดลง 38.36 ล้านบาท หรือลดลง 8.45% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวม อยู่ที่ 453.83 ล้านบาท
TLUXE ปรับคุณภาพผลิตภัณฑ์-สร้างทีมมาร์เก็ตติ้งดันมาร์จิ้นเพิ่ม เผยการลงทุนพลังงานความร้อนใต้พิภพในญี่ปุ่นเฟส แรก เริ่ม COD สิ้นเดือนพ.ค.นี้

ข่าวพลังงานความร้อนใต้พิภพ+กิติพัฒน์ ชลวุฒิวันนี้

“บอร์ด TLUXE” ไฟเขียวเร่งลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพเพิ่ม 8 โครงการ จ่อรับรู้รายได้ Q3/60 หนุนรายได้เพิ่ม 130 ล้านบาท/ปี

บอร์ด บมจ.ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ หรือ TLUXE อนุมัติให้ลงทุน[1] โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ(Geothermal Energy) ประเทศญี่ปุ่น ที่พร้อมจำหน่ายไฟฟ้า COD ได้ทันที รวดเดียว 8 โครงการ เทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 8 เมกะวัตต์ คิดเป็นเงินลงทุน 700 ล้านบาท พร้อมรับรู้รายได้ทันทีในไตรมาส 3/2560 และให้ศึกษาการลงทุนเพิ่มอีกทันที 3 โครงการที่พร้อม COD ต่อเนื่อง ด้านประธานเจ้าหน้าที่บริหาร "กิติพัฒน์ ชลวุฒิ " เผยการลงทุน โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy) เป็นไปตามนโยบายที่จะเปิด

TLUXE เดินหน้าสร้างผลงานรายได้-กำไรครึ่งป... TLUXE ลุยซื้อโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่นเต็มสูบ 8 โครงการ 1,000 กิโลวัตต์ มั่นใจรายได้-กำไร H2/59 สวยหลังได้แรงหนุนจากขายไฟฟ้า — TLUXE เดินหน้าสร้างผลงานรายได้-กำไร...

การประชุมพลังงานความร้อนใต้พิภพโลก (World... ที่ประชุม WGC2023 เผยแพร่ปฏิญญาปักกิ่งและมาตรฐานอุตสาหกรรมความร้อนใต้พิภพฉบับแรกของโลก — การประชุมพลังงานความร้อนใต้พิภพโลก (World Geothermal Congress หรื...

บริษัท ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล คอร... ซิโนเปค เป็นเจ้าภาพการประชุมพลังงานความร้อนใต้พิภพโลก ประจำปี 2566 หนุนพลังงานสะอาด เพื่อโลกสีเขียว — บริษัท ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล คอร์ปอเรชัน (C...

บีซีพีจีเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 กล... BCPG ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 — บีซีพีจีเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานที่ 512 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72...

ทีเอคิวเอ และเรคยาวิก จีโอเทอร์มอล ลงนามข้อตกลงจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อสำรวจและพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพ

ในระหว่างการประชุมภาคเอกชนของกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะ (Public Investment Fund (PIF) Private Sector Forum) ณ กรุงริยาด วันนี้ บริษัท อินดัสเทรียลไลเซชัน แอนด์ เอนเนอร์จี คอมพานี ...

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโ... เอ็กโก กรุ๊ป ขายหุ้นทั้งหมดในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ "สตาร์ เอ็นเนอร์ยี่" ในอินโดนีเซีย — บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ประกาศขา...

บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่... "บีซีพีจี"ประกาศ งบไตรมาส 3/63 กำไรปกติอยู่ที่ 643 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 57% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาวเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น — บริษัท บีซี...

PPPM เผยมีกองทุนรายใหม่แสดงความสนใจโรงไฟฟ... PPPMแย้มมีกองทุนสนใจโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่น เร่งเจรจาเพื่อชำระคืนหนี้หุ้นกู้ — PPPM เผยมีกองทุนรายใหม่แสดงความสนใจโรงไฟฟ้าเปปปุในญี่ปุ่น ขณะที่ธุรกิจอาหารสัตว์เ...