เทคนิค TAVI เปลี่ยนลิ้นหัวใจไม่ต้องผ่าตัดช่องอก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          หากอยู่ๆ ท่านหรือคนใกล้ชิดที่อยู่ในวัยสูงอายุของท่าน เริ่มมีอาการเหนื่อยง่าย เป็นลมหมดสติ หรือแน่นหน้าอก นี่อาจเป็นสิ่งบ่งบอกว่ากำลังมีปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจตีบ และควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด 
          อาการลิ้นหัวใจตีบ มีชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตีบของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่าลิ้นหัวใจเอออติกส์ (Aortic Valve) ซึ่งส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ และหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เสียชีวิตในระยะเวลา 2-5 ปี
          นพ.วัธนพล พิพัฒนนันท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้ข้อมูลระบบการทำงานของหัวใจว่า โดยปกติแล้ว หัวใจฝั่งขวาจะรับเลือดจากเส้นเลือดดำแล้วส่งไปฟอกที่ปอด จากนั้นเลือดดีจากปอดก็จะถูกส่งมาที่หัวใจฝั่งซ้าย โดยหัวใจห้องล่างซ้ายจะเป็นห้องสุดท้ายที่สูบฉีดเลือดไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่แล้วกระจายไปยังทั่วร่างกาย ซึ่งลิ้นหัวใจเอออติกส์ ก็เปรียบเหมือนวาล์วน้ำที่กั้นปั้มน้ำกับท่อเมน และเมื่อสูงอายุขึ้น ลิ้นหัวใจเอออติกส์ ก็มีโอกาสตีบจากการมีหินปูนเกาะสะสมหรือเกิดจากการเสื่อมถอยของอายุ
          ที่สำคัญ อาการลิ้นหัวใจเอออติกส์ตีบ มีปัจจัยจากความชราของร่างกาย ดังนั้นจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนทั้งชายและหญิง หรือไม่ว่าจะมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ระมัดระวังสุขภาพเพียงใดก็ตาม
          นพ.วัธนพล ให้ข้อมูลอีกว่า โรคลิ้นหัวใจตีบชนิดนี้ ผู้ป่วยจะไม่ทราบจนกว่าจะมีการตรวจร่างกายอย่างละเอียด แต่สามารถสังเกตอาการได้ เช่น มีอาการเหนื่อยง่าย อันเนื่องมาจากภาวะหัวใจวาย (Heart Failure) ซึ่งไม่ได้หมายถึงหัวใจหยุดเต้น แต่เป็นอาการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียง ซึ่งหากเกิดกับหัวใจฝั่งซ้ายก็จะทำให้เกิดอาการน้ำท่วมปอด รวมถึงอาการแน่นหน้าอก เป็นลมหมดสติ อาจเป็นอาการที่เกิดจากลิ้นหัวใจเอออติกส์ตีบก็ได้
          "โดยทฤษฎีแล้ว หากมีอาการเหนื่อยง่าย อาการเหมือนน้ำท่วมปอด ก็อยู่ได้ประมาณ 2 ปี ถ้าเป็นลมหมดสติก็อยู่ได้ประมาณ 3 ปี ถ้าแน่นหน้าอกก็อยู่ได้ประมาณ 4-5 ปี"นพ.วัธนพล กล่าว
          ทั้งนี้ วิธีมาตรฐานในการรักษาลิ้นหัวใจเอออติกส์ตีบในขณะนี้ คือการผ่าตัดเปิดช่องอกเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจอันใหม่เข้าไป โดยใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชั่วโมง
          อย่างไรก็ตาม ยังมีทางเลือกอีกวิธี คือการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมทางสายสวนหรือ TAVI (Transcatheter Aortic Valve Implantation) โดยการใช้ท่อสอดลิ้นหัวใจใหม่เข้าไปทางเส้นเลือดแดง คล้ายๆ กับการทำบอลลูน เมื่อสอดท่อที่บรรจุลิ้นหัวใจใหม่ไปจนถึงบริเวณที่ตีบแล้ว ก็ปล่อยให้ลิ้นเทียมกางออก กลายเป็นลิ้นหัวใจอันใหม่ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่ต้องผ่าตัดใหญ่เพื่อเปิดช่องอก มีแผลเล็กๆบริเวณขาหนีบหรือหน้าอกซ้าย ผู้ป่วยก็จะฟื้นตัวได้เร็วกว่า
          นพ.วัธนพล ให้ข้อมูลว่า วิธีการรักษาแบบ TAVI นี้ จะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดใหญ่ เช่น ร่างกายไม่แข็งแรง มีโรครุมเร้า หรืออาจทนต่อการดมยาสลบไม่ไหว ซึ่ง TAVI จะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่า 
          สำหรับวิธีการรักษาด้วยเทคนิค TAVI จะต้องดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ซึ่งผู้ป่วยรายใดจะรักษาโดยใช้เทคนิคนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทีมแพทย์ โดยดูจากระดับความรุนแรงของอาการตีบ หากถึงขั้นตีบระดับ 3 คือ ตีบรุนแรง ลิ้นหัวใจแทบไม่เปิดเลย เปรียบเหมือนวาล์วน้ำ ถ้าไม่เปิด เลือดก็สูบฉีดไม่ได้ และมีความเสี่ยงทนการผ่าตัดไม่ไหว ก็จะใช้ เทคนิค TAVI ในการรักษาแทน ซึ่งจากการติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยเทคนิค TAVI พบว่าได้ผลดี ไม่มีอาการแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
          นพ.วัธนพล ย้ำว่า ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมสูงอายุ กล่าวคือ มีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยอาการลิ้นหัวใจเอออติกส์ตีบก็จะมีเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพ เช็คการทำงานของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ 
          ทั้งนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้พัฒนาทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาด้วยเทคนิค TAVI ทั้งศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ ตลอดจนทีมวิสัญญีแพทย์และทีมพยาบาล เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาแก่ผู้มีอาการลิ้นหัวใจเอออติกส์ตีบ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-667-1000 หรือ อีเมล์ [email protected]
เทคนิค TAVI เปลี่ยนลิ้นหัวใจไม่ต้องผ่าตัดช่องอก
 
เทคนิค TAVI เปลี่ยนลิ้นหัวใจไม่ต้องผ่าตัดช่องอก
เทคนิค TAVI เปลี่ยนลิ้นหัวใจไม่ต้องผ่าตัดช่องอก เทคนิค TAVI เปลี่ยนลิ้นหัวใจไม่ต้องผ่าตัดช่องอก

ข่าวโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์+วัธนพล พิพัฒนนันท์วันนี้

รู้เท่าทัน "โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง" ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

หากคุณมีอาการถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว และถ่ายมีมูกเลือดเป็นระยะเวลานานกว่า 4 สัปดาห์ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หากปล่อยทิ้งไว้ อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีความพร้อมทางด้านทีมแพทย์และเทคโนโลยีในการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในฐานะจุดหมายปลายทางอันดับต้น ๆ ของผู้ป่วยทั่วโลก โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง คือโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และรูทวารหนัก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสา

บำรุงราษฎร์ สานต่อโครงการ "ตำรวจ (ปอด) ปล... บำรุงราษฎร์ ห่วงใยสุขภาพ สานต่อโครงการ "ตำรวจ (ปอด) ปลอดภัย" — บำรุงราษฎร์ สานต่อโครงการ "ตำรวจ (ปอด) ปลอดภัย" ประจำปี 2568 ส่งต่อความห่วงใยสุขภาพให้แก่ตำ...

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ภูเก็ต บริจาคเงินจำนว... โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ภูเก็ต สนับสนุนโครงการเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้ทีมบริการการแพทย์ฉุกเฉินสาธารณะ (EMS) ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะวิกฤตอย่างเร่งด่วน — โรงพยาบาลบำ...

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับรางวัล Thailan... โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คว้ารางวัล Thailand Top Company Awards 2025 สะท้อนถึงความสำเร็จในฐานะผู้นำด้านสุขภาพระดับประเทศ — โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับรางวัล T...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. ร่วมกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเนื้อหาสู่การเรียนในแพลตฟอร์มออนไลน์ — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาด...

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในฐานะผู้นำทางการแพท... โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เปิดตัว Photon-counting CT เทคโนโลยีใหม่สู่การวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ — โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในฐานะผู้นำทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพระดับโ...

โซเด็กซ์โซ่ ผู้นำระดับโลกด้านบริการอาหารท... โซเด็กซ์โซ่ ฉลองวันสตรีสากล จัดกิจกรรม "SheWorks" จุดประกายพลังหญิงสู่ความสำเร็จ — โซเด็กซ์โซ่ ผู้นำระดับโลกด้านบริการอาหารที่ยั่งยืนและประสบการณ์ที่มีคุณ...

สถาบันกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ... สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ ร่วมกับ โรงพยาบาลเซนต์แอนนา ประเทศเยอรมนี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยเทคนิคการผ่าตัดส่องกล้องเอ็นโดสโคป ครั้งที่ 57 — สถาบันกระดู...

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับการจัดอันดับให... บำรุงราษฎร์ ติดอันดับ Top 100 โรงพยาบาลที่ดีที่สุดของโลก จากการจัดอันดับของ Newsweek ประจำปี 2025 — โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นโรงพยาบา...