“ไออีซี” โหมตลาดพลังงานทดแทน ขยายโรงไฟฟ้าพลังจากงานขยะ หวังโกยรายได้ปี 59 ประมาณ 1,700 ล้านบาท

20 Jan 2016
"ไออีซี" ผู้นำทางธุรกิจด้านพลังงานทดแทน บุกตลาดปี 59 อย่างหนัก ดึง "ยูนานวอเตอร์ อินเวสเมนต์" จากประเทศฮ่องกง ร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ หลังเข้าเทคโอเวอร์โรงไฟฟ้าขยะแห่งหนึ่งใน จ.ภูเก็ต ที่มีมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท ทำให้ปี 59 "ไออีซี" ก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดพลังงานทดแทน และผลิตเม็ดพลาสติกปนเปื้อนจากขยะ ด้วยโครงการถึง 11 แห่ง พร้อมเปิดตัวผู้บริหารชุดใหม่ทำให้ "ไออีซี" คาดการณ์ปี 59 จะกวาดรายได้กว่า 1,700 ล้านบาท
“ไออีซี” โหมตลาดพลังงานทดแทน ขยายโรงไฟฟ้าพลังจากงานขยะ หวังโกยรายได้ปี 59 ประมาณ 1,700 ล้านบาท

ดร.ภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นผู้นำทางธุรกิจด้านพลังงานทดแทน ที่มีผลงานที่ผ่านมามากมายทั้ง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ และโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล อีกทั้งยังดำเนินการทางด้านการสื่อสาร และสารสนเทศมาอย่างต่อเนื่องอย่างยาวนาน และที่ผ่านมาบริษัทฯ ร่วมลงทุนในโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะของบริษัทฯ ดำเนินงานโครงการผลิตไฟฟ้าชื่อ บริษัท จีเดค จำกัด โดยสร้างโรงงานกำจัดขยะชุมชนและแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า กำลังการขายกระแสไฟฟ้าปัจจุบันอยู่ที่ 4.3 เมกกะวัตต์ ซึ่งบริษัทฯคาดว่าจะเพิ่มกำลังได้เป็น 5.8เมกกะวัตต์ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ โดยบริษัทฯ เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานขยะแห่งแรกที่ใช้เทคโนโลยี Ash- Melting Gasification ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงจากประเทศฟินแลนด์ และสหราชอาณาจักร

ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและกำลังการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องดังกล่าว จึงทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานขยะของ IEC เป็นที่สนใจของสถาบันการลงทุนต่างๆ จากการพิจารณาอย่างดี IEC จึงได้เลือก บริษัท ยูนานวอเตอร์ อินเวสเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ร่วมทุนทั้งนี้ได้ลงนามกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ 7มกราคม 2559 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ บริษัท ยูนานวอเตอร์ อินเวสเมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงโดยมีผู้ถือหุ้นหลักที่เป็นรัฐวิสาหกิจของจีนสองแห่งคือ Yunnan Metropolitan Construction Investment และ Beijing Origin Water และเพื่อเป็นการรุกธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในประเทศไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2558 บริษัท ยูนานวอเติอร์ อินเวสเมนต์ ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าขยะแห่งหนึ่งใน จ.ภูเก็ต ในสัดส่วนทั้งหมดซึ่งมีมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท หรือคิดเป็น 70 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ปัจจุบัน IEC มีโครงการที่รับรู้รายได้แล้ว 7 โครงการ อันได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แม่ทา 1,2 จ.ลำพูน มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 2.638 MW โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐโดยได้รับส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) มูลค่า 6.50 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 ปี และมีอายุโครงการ 25 ปี โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แม่มาลัย จ.เชียงใหม่ มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 2.379 MW มีกำลังไฟฟ้ารับซื้อ 1.92 MW โครงการฯ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐโดยได้รับส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) มูลค่า 8 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 ปี และมีอายุโครงการ 25 ปี และ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แม่ระมาด จ.ตาก มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 6.3 MW มีกำลังไฟฟ้ารับซื้อ 5.25 MW โครงการฯ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐโดยได้รับส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) มูลค่า 6.50 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 ปี และมีอายุโครงการ 25 ปี

และโครงการ ไออีซี กรีน เอ็นเนอร์ยี่ ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านระบบการจัดการขยะส่วนหน้าประกอบด้วย การบดย่อยขยะด้วยเครื่อง Shredder ระบบสายพานลำเลียงขยะ การลดความชื้นขยะด้วย Rotary Dryer นอกจากนั้น ยังได้พัฒนาระบบการจัดการขยะอย่างครบวงจรเพิ่มได้แก่ น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งผลิตน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ (EM) ให้ได้น้ำหมักชีวภาพสมรรถนะสูงโดยระบบสามารถผลิตหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นวัตถุดิบตั้งต้นให้แก่ชุดผลิตน้ำหมักซึ่งจะทำงานอย่างต่อเนื่องและมีผลผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพปริมาตร 2,000 ลิตร ทุก 15 วัน

นอกจากนี้ยังมี โครงการโรงไฟฟ้าขยะจีเดค ซึ่งได้ร่วมทุนกับ EGCO ในการดำเนินงานโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานขยะ กำลังการผลิตติดตั้ง 6.7 MW หาดใหญ่ จ.สงขลา และโครงการโรงไฟฟ้าไบโอแก๊ส จ.กำแพงเพชร บ่อก๊าซชีวภาพในทางการผลิต "หัวอาหาร (feed stock)" โดยใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตและนำจุลินทรีย์มาย่อยสลาย โดยสามารถผลิตก๊าซชีวภาพจากบ่อหมักได้ถึง 60,000 ลูกบาศก์เมตร (Cubic meter) ต่อวัน ซึ่งเพียงพอการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 6 MW ต่อชั่วโมง และ โครงการไบโอแก๊ส สุพรรณบุรี โรงไฟฟ้าไบโอแก๊สจากน้ำเสีย (Vinasse) ซึ่งเป็นผลผลิตพลอยได้จากการผลิตเอทานอลมีขนาดกำลังการผลิต10.6 MW โครงการ เอทานอล ระยอง ผลิตเอทานอลในนาม บริษัท ไออีซี บิซิเนส พาร์ทเนอร์ส จำกัดโดยมีกำลังการผลิตวันละ 170,000 ลิตร

โรงไฟฟ้าชีวมวลจังหวัดสระแก้ว 1 มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 9.9 MW โครงการผลิตเม็ดพลาสติกจากพลาสติกปนเปื้อน จ.ระยอง ขนาดกำลังผลิตวันละไม่น้อยกว่า 120 ตัน เพื่อการส่งออก โครงการผลิตเม็ดพลาสติกจากพลาสติกปนเปื้อน หาดใหญ่ ขนาดกำลังผลิตวันละไม่น้อยกว่า 60 ตัน

ดร.ภูษณ กล่าวต่ออีกไปว่า นอกจากนั้นยังมีอีก 4 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่จะสามารถรับรู้รายได้ในปี 2559 นี้ อาทิเช่น โครงการโรงไฟฟ้าโอแก๊ส จ.กำแพงเพชร ด้วยกำลังการผลิตขนาด 5.25 MW และโครงการโรงไฟฟ้าโอแก๊ส จ.สุพรรณบุรี ด้วยกำลังการผลิตขนาด 10.6 MW โรงไฟฟ้าชีวมวลจังหวัดสระแก้ว แห่งที่ 2 มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 8 MW (สัญญา 7 ปีกับ PEA) และ โครงการผลิตเม็ดพลาสติกจากพลาสติกปนเปื้อนเพื่อการส่งออก ที่หาดใหญ่ ขนาดกำลังผลิตวันละไม่น้อยกว่า 60 ตัน ซึ่งถ้าประเมินมูลค่ากิจการจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) ดังกล่าวพบว่าในปัจจุบันบริษัทฯ มีมูลค่ากิจการมากกว่า 7,000 ล้านบาท

"ปี 2559 IEC มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านพลังงานทดแทนโดยบริษัทฯจะลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าชีวภาพที่จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และกำแพงเพชร โครงการโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โครงการขยะเชื้อเพลิงจากบ่อขยะในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดชลบุรี พัทลุง สงขลา โดยการร่วมทุนของบริษัท ยูนานวอเตอร์ อินเวสเมนต์ จำกัด (มหาชน) นั้น ทำให้บริษัทเชื่อมั่นว่าจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของบริษัทฯ ลดภาระการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และคาดว่าในปี 2559 บริษัทฯ จะมีรายได้ประมาณ 1,700 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตจากนี้ไป 5 ปีข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 20-25% ต่อปี โดยคาดการณ์ในปี 2560 จะมีรายได้ประมาณ 2,210 ล้านบาท ในปี 2561 มีรายได้ประมาณ 2,542 ล้านบาท ปี 2562 มีรายได้ประมาณ 3,051 ล้านบาท และในปี 2563 มีรายได้ประมาณ 3,661 ล้านบาท" ดร.ภูษณ กล่าวสรุปในตอนท้าย

“ไออีซี” โหมตลาดพลังงานทดแทน ขยายโรงไฟฟ้าพลังจากงานขยะ หวังโกยรายได้ปี 59 ประมาณ 1,700 ล้านบาท “ไออีซี” โหมตลาดพลังงานทดแทน ขยายโรงไฟฟ้าพลังจากงานขยะ หวังโกยรายได้ปี 59 ประมาณ 1,700 ล้านบาท “ไออีซี” โหมตลาดพลังงานทดแทน ขยายโรงไฟฟ้าพลังจากงานขยะ หวังโกยรายได้ปี 59 ประมาณ 1,700 ล้านบาท