รมว.กษ. ลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง จ.ปราจีนบุรี

18 Mar 2016
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังติดตามการปฏิบัติการราชการของหน่วยงานในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง ณ อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี ว่า จากผลกระทบจากภัยแล้งทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ น้ำทะเลหนุนทำให้เป็นน้ำกร่อย จึงต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน อีกประการหนึ่ง คือ น้ำที่ใช้ในพื้นที่ ซึ่งถ้าเร่งดำเนินการทำคลองส่งน้ำก็จะทำให้พื้นที่แถวนี้มีน้ำเพียงพอต่อการทำการเกษตร นอกจากนี้ยังมีเรื่องของน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยได้มีการก่อสร้างอ่างน้ำเพิ่มเติม ขนาด 70,000 ลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือการประปาได้เพียงพอจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม สำหรับปัญหาน้ำกร่อยหรือการกระจายน้ำจะเร่งดำเนินการแก้อย่างเร่งด่วน โดยจะเร่งสั่งการให้มีการสร้างคลองระบายน้ำไม้ปล้องให้แล้วเสร็จภายในปีนี้อย่างแน่นอน และสำหรับประตูน้ำจะมีการดำเนินการในระยะต่อไป เนื่องจากในปัจจุบันมีน้ำทะเลหนุนเข้ามาแล้ว ทำให้คลองเป็นน้ำกร่อยมีจำนวนมากแล้ว ซึ่งความเสียหายในพื้นที่ที่ประสบมานาน ต้องมีการแก้ปัญหา ทำให้เกษตรกรเสียโอกาสในการเพาะปลูก หากสามารถป้องกันน้ำเค็มรุกเข้ามาได้ เกษตรกรก็จะสามารถทำเกษตรกรรมภายหลังการเก็บเกี่ยวได้
รมว.กษ. ลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง จ.ปราจีนบุรี

พลเอก ฉัตรชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตภัยแล้ง ปี 2558/59 ของจังหวัดปราจีนบุรี ได้แก่

1) มาตรการส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน ซึ่ง จ.ปราจีนบุรี ไม่อยู่ในพื้นที่ดำเนินการ 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา

2) มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน อาทิ การลดหรือยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่าน คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน (คปจ.) และอาสาสมัครปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (อสปก.) แล้ว การขยายระยะเวลาชำระหนี้เดิม (ลดดอกเบี้ยร้อยละ 3) จำนวน 6,477 ราย และการลดเชยดอกเบี้ยเงินกู้สัญญาเดิมแทนสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวน 721 ราย เป็นต้น

3) มาตรการจ้างแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยมีการจ้างแรงงาน งานก่อสร้างแหล่งน้ำของกรมชลประทาน จำนวน 528 ราย และการจ้างเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือ จำนวน 40 กิจกรรม จำนวน 727 ราย

4) มาตรการเสนอโครงการแผนพัฒนาอาชีพตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง ปี 2558/59 โดยได้มีการมอบงบประมาณดำเนินการครั้งที่ 1 จำนวน 50 โครงการ งบประมาณ 28.29 ล้านบาท แก่นายอำเภอบ้านสร้าง

5) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล จำนวน 107 แห่ง ดำเนินการแล้วเสร็จ 60 แห่ง นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์ถึงสถานการณ์น้ำและมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งทุกอำเภอ/ตำบล/หมู่บ้าน ประกาศจังหวัดปราจีนบุรี ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย และการให้คำแนะนำการปลูกข้าวโดยวิธีเปียกสลับแห้ง

6) มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งมีการปฏิบัติการฝนหลวงโดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก

7) มาตรการเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ การให้ความรู้เรื่องความสะอาดและอาหาร เป็นต้น

และ 8) มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ อาทิ โครงการฝึกอบรมเกษตรกรเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตฯ ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (ศพก.) จำนวน 7 ศูนย์

ทั้งนี้ จ.ปราจีนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 2,976,476 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 1,119,710 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 37.62 ของพื้นที่ทั้งหมด มีครัวเรือนเกษตรกร 36,833 ครัวเรือน สินค้าเกษตรที่สำคัญ ด้านพืช ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ด้านปศุสัตว์ ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข และด้านประมง ได้แก่ ปลาเบญจพรรณ ซึ่งพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง ปี 2558/59 มีพื้นที่จำนวน 182,373 ไร่ แบ่งเป็น ด้านพืช มีพื้นที่ 141,158 ไร่ ชนิดพืชได้แก่ ไม้ผล พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ และด้านประมง พื้นที่ 41,215 ไร่ ได้แก่ ปลา 30,371 ไร่ กุ้งทะเล 10,735 ไร่ กุ้งก้ามกราม 46 ไร่ และสัตว์อื่น ๆ 44 ไร่ ทั้งนี้ ยังไม่มีการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง)

รมว.กษ. ลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง จ.ปราจีนบุรี รมว.กษ. ลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง จ.ปราจีนบุรี รมว.กษ. ลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง จ.ปราจีนบุรี