1.ฐานะการคลังเดือนกุมภาพันธ์2559
1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง146,742 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 3,874 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.7)ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีน้ำมันที่สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น160,598 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 10,170 ล้านบาท(คิดเป็นร้อยละ 6.8) ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 108,860ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ0.8และรายจ่ายลงทุน 29,783ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 36.9 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อนจำนวน 21,955 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.7 (ตารางที่ 1)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 4,714 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2,961 ล้านบาท และงบรายจ่ายอื่นกระทรวงกลาโหม 2,758 ล้านบาท
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2559
หน่วย: ล้านบาท
|
เดือนกุมภาพันธ์ |
เปรียบเทียบ | ||
2559 |
2558 |
จำนวน |
ร้อยละ | |
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน |
138,643 |
131,447 |
7,196 |
5.5 |
1.1 รายจ่ายประจำ |
108,860 |
109,685 |
(825) |
(0.8) |
1.2 รายจ่ายลงทุน |
29,783 |
21,762 |
8,021 |
36.9 |
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน |
21,955 |
18,981 |
2,974 |
15.7 |
3. รายจ่ายรวม (1+2) |
160,598 |
150,428 |
10,170 |
6.8 |
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
ตารางที่2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนกุมภาพันธ์ 2559
หน่วย: ล้านบาท
|
เดือนกุมภาพันธ์ |
เปรียบเทียบ | ||
2559 |
2558 |
จำนวน |
ร้อยละ | |
1. รายได้ |
146,742 |
142,868 |
3,874 |
2.7 |
2. รายจ่าย |
160,598 |
150,428 |
10,170 |
6.8 |
3. ดุลเงินงบประมาณ |
(13,856) |
(7,560) |
(6,296) |
(83.3) |
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ |
8,625 |
23,831 |
(15,206) |
(63.8) |
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) |
(5,231) |
16,271 |
(21,502) |
(132.2) |
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล |
23,779 |
50,860 |
(27,081) |
(53.2) |
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) |
18,548 |
67,131 |
(48,583) |
(72.4) |
8. เงินคงคลังปลายงวด |
266,097 |
183,133 |
82,964 |
45.3 |
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
2. ฐานะการคลังในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558 –กุมภาพันธ์ 2559)
2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 882,435ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันป่ที่แล้ว 80,607 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 10.1) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz (4G) การจัดเก็บภาษีน้ำมันที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และการนำส่งสภาพคล่องส่วนเกินของกองทุนหมุนเวียน
2.2 รายจ่ายรัฐบาลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,311,425ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 101,159 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 8.4) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน1,187,273 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.6 ของวงเงินงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลงสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 8.4 และรายจ่ายปีก่อน124,152 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 8.4 (ตารางที่ 3)
รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 1,187,273 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 1,069,307 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 49.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง 2,183,709 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.3 และรายจ่ายลงทุน 117,966 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 22.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 536,291 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 47.7
ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558 –กุมภาพันธ์2559)
หน่วย: ล้านบาท
|
5 เดือนแรก |
เปรียบเทียบ | ||
ปีงบประมาณ 2559 |
ปีงบประมาณ 2558 |
จำนวน |
ร้อยละ | |
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน |
1,187,273 |
1,095,709 |
91,564 |
8.4 |
1.1 รายจ่ายประจำ |
1,069,307 |
1,015,865 |
53,442 |
5.3 |
1.2 รายจ่ายลงทุน |
117,966 |
79,844 |
38,122 |
47.7 |
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน |
124,152 |
114,557 |
9,595 |
8.4 |
3. รายจ่ายรวม (1+2) |
1,311,425 |
1,210,266 |
101,159 |
8.4 |
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 473,108ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 428,990 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณจำนวน 44,118 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ สุทธิ 28,499 ล้านบาท การจ่ายเงินคืนให้ผู้รับบำนาญจากกรณี Undo กบข. 16,056 ล้านบาทและเงินฝากคลังสุทธิของเงินกู้โครงการต่างๆ6,162 ล้านบาททั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้เงินจำนวน 313,023 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 160,085 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 266,097ล้านบาท (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559
หน่วย: ล้านบาท
|
ปีงบประมาณ |
เปรียบเทียบ | ||
ปีงบประมาณ 2559 |
ปีงบประมาณ 2558 |
จำนวน |
ร้อยละ | |
1. รายได้ |
882,435 |
801,828 |
80,607 |
10.1 |
2. รายจ่าย |
1,311,425 |
1,210,266 |
101,159 |
8.4 |
3. ดุลเงินงบประมาณ |
(428,990) |
(408,438) |
(20,552) |
(5.0) |
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ |
(44,118) |
(3,435) |
(40,683) |
(1,184.3) |
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) |
(473,108) |
(411,873) |
(61,235) |
(14.9) |
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล |
313,023 |
99,259 |
213,764 |
215.4 |
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) |
(160,085) |
(312,614) |
152,529 |
48.8 |
8. เงินคงคลังปลายงวด |
266,097 |
183,133 |
82,964 |
45.3 |
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9020 ต่อ 3563