มหาวิทยาลัยนเรศวรเดินหน้าพัฒนาแอปพลิเคชันจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือ ปรากฏภาพพระที่นั่งในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชบนซากโบราณสถาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          การพัฒนาพระราชวังจันทน์ก้าวหน้าไปอีกขั้น สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวินนำรูปลักษณ์สัณฐานพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรูปแบบสองมิติและสามมิติ ประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีเสมือนผสมจริง ฝีมือนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นแอปพลิเคชันจำลองพระราชวังจันทน์ในมุมมองต่าง ๆ บนสมาร์ทโฟน
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูพงษ์ พงษ์เจริญ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้สัมภาษณ์ว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวรมีวิสัยทัศน์สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง โดยนำเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อความร่วมสมัยและเข้าถึงคนทุกเพศ ทุกวัย ดังเช่น เทคโนโลยีที่ผสมผสานโลกแห่งความจริงเข้ากับโลกเสมือนจริง (Augmented Reality) นับว่ามีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษา วิจัยในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมรดกทางวัฒนธรรม อาทิ โบราณสถานที่นับวันจะทรุดโทรมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เช่น พระราชวังจันทน์ นับเป็นโบราณสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชาติไทย ด้วยเป็นสถานที่พระราชสมภพและที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ผู้มีคุณูปการใหญ่หลวงของประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ จังหวัดพิษณุโลกจึงได้มีการผนึกพลัง บูรณะ พัฒนาพระราชวังจันทน์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้อันสำคัญ"
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า "สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวินนับเป็นหนึ่งฟันเฟืองสำคัญในการพลิกฟื้นพระราชวังจันทน์ โดยการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ พัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การบรรยาย อบรม สัมมนา วิจัย การออกแบบรูปลักษณ์สัณฐาน เป็นคณะกรรมการอำนวยการพัฒนา และล่าสุดสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวินได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดทำแอปพลิเคชันจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น นักท่องเที่ยว ให้สามารถเห็นถึงลักษณะของพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ในอดีตได้ นับเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อีกทางหนึ่ง"
          นายนรินทร บุญแร่ และนายธีรวัฒน์ หินแก้ว นิสิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เจ้าของผลงาน เปิดเผยว่า "งานวิจัย แอปพลิเคชันจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือนี้ มีรองศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล มุณีสว่าง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ดำเนินการโดยนำรูปลักษณ์สัณฐานพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรูปแบบสองมิติและสามมิติ ซึ่งออกแบบโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีผสมเสมือนจริง (Augmented Reality) บนสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์ เมื่อเปิดแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์ ระบบจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต จากนั้นระบบจะทำการ Map โมเดล ๓ มิติ เข้ากับ GPS ในที่ตั้งจริงของพระราชวังจันทน์ เมื่อถ่ายภาพก็จะปรากฏพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ในมุมมองต่าง ๆ
          นิสิตกล่าวต่อว่า "แอพลิเคชันนี้ใช้ได้กับโบราณสถานพระราชวังจันทน์ในจังหวัดพิษณุโลก โดยเป็นการจำลองเฉพาะส่วนพระที่นั่งพระราชวังจันทน์ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยุคสมัยที่สองเท่านั้น อย่างไรก็ตามแอปพลิเคชันนี้นับเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโบราณสถานอื่น ๆ ได้" 
          "ขณะนี้แอปพลิเคชันจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อให้มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมให้ผู้สนใจทั่วไปดาวน์โหลดใช้งานได้จริงในช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๙" นิสิตกล่าวทิ้งท้าย
แอปพลิเคชันจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือนี้นับเป็นความสำเร็จของมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยนิสิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน อีกทั้งยังเป็นนวัตกรรมต้นแบบอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษา นักท่องเที่ยว ตลอดจนการบูรณะ พัฒนา เนื่องจากสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน และยากต่อการชำรุดเสียหาย
          สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร โทรศัพท์ ๐ ๕๕๙๖ ๑๑๔๓

มหาวิทยาลัยนเรศวรเดินหน้าพัฒนาแอปพลิเคชันจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือ ปรากฏภาพพระที่นั่งในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชบนซากโบราณสถาน
 
มหาวิทยาลัยนเรศวรเดินหน้าพัฒนาแอปพลิเคชันจำลองพระราชวังจันทน์ด้วยกล้องมือถือ ปรากฏภาพพระที่นั่งในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชบนซากโบราณสถาน

ข่าวสมเด็จพระนเรศวรมหาราช+คณะวิศวกรรมศาสตร์วันนี้

"กองทุนพัฒนาสื่อฯ" สัญจร จัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ปี 2567 ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ผู้แทนทุกเครือข่ายร่วมเสวนาเพียบ

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัด กิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 สัญจรภาคเหนือ จ.พิษณุโลก วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุมมหาราช 2 ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก มุ่งเน้นให้คนในสังคมรวมพลัง ร่วมกันสร้างสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ และเกิดการขับเคลื่อนทางสังคมที่มั่นคงและยั่งยืน โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย

นายสุรวิชญ์ เจียรพงษ์ (ด้านซ้าย) ผู้จัดกา... บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี รับโล่และของที่ระลึก สนับสนุนการประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ — นายสุรวิชญ์ เจียรพงษ์ (ด้านซ้าย) ผู้จัดการทั่วไป สายงานการตลาดวิจัยแ...

ศูนย์สรรพสินค้าซีคอน บางแค พาคุณย้อนอดีตส... ซีคอน บางแค จัดงาน "ศัสตราวุธกู้แผ่นดิน" ตำนานพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง — ศูนย์สรรพสินค้าซีคอน บางแค พาคุณย้อนอดีตสู่ห้วงเหตุการณ์สำคัญแห่งประวัติศาสตร์...

อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ... ม.พะเยา เดินรณรงค์เชิญชวนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 — อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ พร้อมด้วยผู้บริหาร บุคลากร...

นางสาวเพชรวรรณ นันทะสาร ผู้อำนวยการสำนักง... สนพ.แพร่ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช — นางสาวเพชรวรรณ นันทะสาร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ พร้อมด้ว...

ขอเชิญนักวิ่งทุกท่าน มาร่วมสร้างประสบการณ... ชวนทุกคนมาเจอนั่นเจอ(ร์)นี่กับ "Run Around Mini Marathon 2023" สัมผัสอยุธยาผ่านงานวิ่งมุมมองใหม่ — ขอเชิญนักวิ่งทุกท่าน มาร่วมสร้างประสบการณ์กับงานวิ่งสุด...

มหาวิทยาลัยพะเยา รองอธิการบดีฝ่ายคุณภาพนิ... มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมงาน "วันยุทธหัตถีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" — มหาวิทยาลัยพะเยา รองอธิการบดีฝ่ายคุณภาพนิสิต ดร.วุฒิชัย ไชยรินคำ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร บุค...

เมื่อลมหนาวเริ่มเข้ามาทักทาย บะหมี่กึ่งสำ... "ควิกแสบ" ควง "นิสิต ม.พะเยา" ฟิตร่างกายรับลมหนาว ในกิจกรรมเดิน-วิ่ง UP FRESHER SMART HEALTHY 2022 — เมื่อลมหนาวเริ่มเข้ามาทักทาย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปควิกแ...