ธรรมศาสตร์ เปิดโครงการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป ใหญ่ติด TOP 4 มหาวิทยาลัยของโลกคาดสามารถผลิตกำลังไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ต่อวัน ในปี 60

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดตัวโครงการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปใหญ่อันดับหนึ่งของมหาวิทยาลัยในเอเชีย และอันดับ 4 มหาวิทยาลัยของโลก โดยตั้งเป้าผลิตกำลังไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ ภายในปี 60 พร้อมเตรียมขยายพื้นที่การติดตั้งหลังคาโซลาร์ไปยังศูนย์ต่างๆ ทั้งท่าพระจันทร์ ศูนย์พัทยา และศูนย์ลำปาง ตามลำดับ เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน (Sustainable University) อย่างแท้จริง
          ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สิ่งแวดล้อมและพลังงานเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกตระหนักและร่วมกันหาหนทางแก้ไข มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะสถาบันการศึกษาจึงมีนโยบายมุ่งพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน (Sustainable University) โดยมีโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลาย อาทิ โครงการไบค์แชร์ริ่งอัตโนมัติ สวนสาธารณะพลังงานแสงอาทิตย์ ร้านกาแฟพลังงานแสงอาทิตย์ ธนาคารขยะ การผลิตไบโอแก๊สจากเศษอาหาร เป็นต้น โดยโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่เปิดตัวในวันนี้คือโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟ หรือ "ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคาร" ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยตั้งเป้าติดตั้งให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 15 เมกะวัตต์ภายในปี2560
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มธ.กล่าวว่า ปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีสาเหตุสำคัญที่สุดมาจากการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมัน ที่ปล่อยคาร์บอนออกสู่อากาศ อันเป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจก และนำมาซึ่งปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในขณะนี้ ประเทศไทยผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ การใช้ไฟฟ้าของเราทุกครั้งจึงเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด ไม่เกิดคาร์บอนที่เป็นสาเหตุของสภาวะเรือนกระจก โดยภายในปี 2559 นี้จะติดตั้งโซลาร์รูฟที่ผลิตไฟฟ้าได้ 6 เมกะวัตต์ และภายในปี 2560 ซึ่งจะติดตั้งได้อีก 9 เมะวัตต์ รวมเป็น 15 เมกะวัตต์
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุด 3อันดับแรกเป็นมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาคือ Colby College 30 เมกะวัตต์ Arizona State University 24 เมกะวัตต์ และUniversity of California 16 เมกะวัตต์ ภายในปี 2560 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะผลิตได้ 15 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 4 ของโลก และจะเป็นอันดับ 1 ของเอเชียที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้มหาวิทยาลัย โดยมากกว่ามหาวิทยาลัย Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ ที่เป็นอันดับ 1 ของเอเชียที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ 5 เมกะวัตต์
          อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ใช้ไฟฟ้าปีละประมาณ 70 ล้านหน่วย เฉลี่ยเท่ากับวันละประมาณ 190,000 หน่วย ดังนั้น โครงการดังกล่าว จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยวันละ 75,000 หน่วย ซึ่งถือเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองภายในมหาวิทยาลัยได้ถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา กล่าว
          รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน และบริหารศูนย์รังสิต มธ. กล่าวว่า นอกจากการติดตั้งโซลาร์รูฟที่ศูนย์รังสิตแล้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีแผนงานเตรียมขยายพื้นที่การติดตั้งหลังคาโซลาร์ไปยังศูนย์ต่างๆ ทั้งหมด ได้แก่ ท่าพระจันทร์ ศูนย์พัทยา และศูนย์ลำปาง ตามลำดับ ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ด้านพลังงานและความยั่งยืน ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนและการวิจัย เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับประเทศต่อไป
          "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งมั่นสู่การเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมไทยปลูกฝังจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ต่อบุคลากรและนักศึกษา ด้วยการยึดมั่นในความเป็นธรรม การมีจิตสาธารณะ และการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างบัณฑิตยุคใหม่ให้มีคุณสมบัติผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21 สอดรับตามแนวคิด "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง" สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4493
ธรรมศาสตร์ เปิดโครงการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป ใหญ่ติด TOP 4 มหาวิทยาลัยของโลกคาดสามารถผลิตกำลังไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ต่อวัน ในปี 60
 
ธรรมศาสตร์ เปิดโครงการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป ใหญ่ติด TOP 4 มหาวิทยาลัยของโลกคาดสามารถผลิตกำลังไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ต่อวัน ในปี 60
ธรรมศาสตร์ เปิดโครงการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป ใหญ่ติด TOP 4 มหาวิทยาลัยของโลกคาดสามารถผลิตกำลังไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ต่อวัน ในปี 60
ธรรมศาสตร์ เปิดโครงการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป ใหญ่ติด TOP 4 มหาวิทยาลัยของโลกคาดสามารถผลิตกำลังไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ต่อวัน ในปี 60

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...