โชว์ผลเกษตรครบวงจรระดับเขต สศท.6 ร่วมเฟ้นหา เผย นครนายก-ปราจีน เจ๋งสุดของกลุ่ม1 และ 2

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ร่วมเฟ้นหาพื้นที่โครงการพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ชูผลประกวดระดับเขต โดยกลุ่มย่อยที่ 1 ได้แก่ นครนายก ในพื้นที่โครงการคลองส่งน้ำสาย 1 ซ้าย หมู่ 7 ต.ดงละคร อ.เมือง และกลุ่มย่อยที่ 2 ได้แก่ ปราจีนบุรี ในพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำทับลาน ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี
          นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ส่วนแยกจังหวัดฉะเชิงเทรา (สศท.6) ได้ลงพื้นที่โครงการพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ในเขตตรวจราชการเขต 3 และ 9 (ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด) เพื่อเฟ้นหาโครงการที่มีผลการดำเนินการดี และพิจารณาผลประกวดการดำเนินงานของคณะทำงานและคณะอนุกรรมการประกวดการดำเนินงานโครงการฯระดับเขต โดยจังหวัดที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 กลุ่ม คือ
          กลุ่มย่อยที่ 1 ได้แก่ จังหวัดนครนายก พื้นที่โครงการคลองส่งน้ำสาย 1 ซ้าย หมู่ 7 ต.ดงละคร อ.เมือง เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 79 ราย อาชีพทำนาเป็นหลัก จุดเด่นของโครงการ คือ ความเข้มแข็งและความร่วมมือร่วมใจกันทั้งในระดับส่วนราชการและกลุ่มเกษตรกร มีการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ต่อเพื่อลดต้นทุน เช่น การทำปุ๋ยหมัก สารชีวภาพ สารชีวภัณฑ์ ทั้งยังสามารถจำหน่ายได้ภายนอกโครงการและมีลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรมีการรวมกลุ่มการทำกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเสริมรายได้ เช่น กลุ่มพืชผักปลอดภัย การเพาะเห็ด การเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มปลานิลจิตรลดา กลุ่มไม้ผล กลุ่มวุ้นแฟนซี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากลุ่มเดิมในการผลิตเมล็ดพันธุ์และบริหารจัดการจนสามารถมีเงินเหลือให้สมาชิกกู้ได้ ทั้งนี้ กลุ่มย่อยที่ 1 ได้รับรางวัล จำนวน 50,000 บาท
          กลุ่มย่อยที่ 2 ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี ดำเนินการในพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำทับลานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ 1 ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี หน่วยงานที่เข้าร่วมบูรณาการจำนวน 16 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน กิจกรรมหลักของเกษตรกรในโครงการคือ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งการทำนา พืชไร่ ไม้ผล และการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำนามีการใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าวแห้ง การส่งเสริมการปลูกปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบำรุงดิน การผลิตและการใช้สารอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต จุดเด่นโครงการ คือ มีกลุ่มผู้ใช้น้ำที่เข้มแข็ง โดยมีการวางแผนการเพาะปลูก แผนการส่งน้ำและติดตามผลการส่งน้ำ ก่อน-หลัง เพาะปลูก รวมทั้งมีการซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบท่อส่งน้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ตำบลบุพราหมณ์เป็นพื้นที่ป่าลานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมจากใบลานที่มีชื่อเสียง เป็นสินค้า OTOP ประดับ 5 ดาว นอกจากนี้มีภาคเอกชนร่วมสนับสนุนเกษตรกรในโครงการฯ เช่น การสนับสนุนปัจจัยการผลิตต่างๆ การสนับสนุนแหล่งจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ในพื้นที่โครงการ โดยกลุ่มย่อยที่ 2 ได้รับรางวัล จำนวน 30,000 บาท
          ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้ดำเนินงานโครงการพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพต่อเนื่องในปี 2559 ในพื้นที่เป้าหมายปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และ 2558 เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาการเกษตรในระดับพื้นที่ โดยนำนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกี่ยวกับการทำการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ การทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรอินทรีย์ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า พร้อมทั้งมีนโยบายให้ดำเนินการประกวดการดำเนินงานโครงการฯ โดยแบ่งกลุ่มพื้นที่เป็น 2 กลุ่มย่อย ซึ่งกลุ่มที่ 1 สำหรับพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้ำและระบบชลประทานอุดมสมบูรณ์ ส่วนกลุ่มย่อยที่ 2 สำหรับพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาภัยแล้ง ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จะส่งผลการประกวดไปให้สำนักแผนงานและโครงการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อประกาศผลระดับประเทศต่อไป


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนับเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่มีโอกาสทางตลาด และมีความต้องการในอุตสาหกรรมการแปรรูป โดยกล้วยน้ำว้าสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และ ตาก) ซึ่งกล้วยตากบางกระทุ่มเป็นสินค้า GI

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐ... 'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า — นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐก... สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท — นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...

นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวย... สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต — นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... 'นมคุณภาพสูงล้านนา' เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ยกระดับมาจรฐานการผลิตน้ำนมโค สู่การเพิ่มรายได้เกษตรกร — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...