ความรับผิดชอบต่อสังคมของบ๊อช: เส้นทางที่ยั่งยืนสู่อนาคตบ๊อชพัฒนาทักษะอาชีพแก่เยาวชนชาวเขาในเชียงใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดเวิร์คช็อป Train-the-Trainer บริจาคเครื่องมือไฟฟ้าบ๊อชเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเวิร์คช็อปโครงการเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ
          มร. โจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการ บ๊อช ประเทศไทย (ที่ 4 ซ้ายบน) นำทีมอาสาสมัครร่วมจัดกิจกรรมเวิร์คช็อป Train-the-Trainer จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางโดมินิค ลอยต์วีเลอร์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิต (ที่ 5 ซ้ายบน), รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ที่ 3 ซ้ายบน) รวมทั้งนักศึกษา คณะวิจิตรศิลป์ และน้องๆ จากมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิต
          เชียงใหม่ - บ๊อช ประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาทักษะทางวิชาชีพให้กับเด็กนักเรียนในมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิต (Skills for Life Foundation)
          บ๊อช ประเทศไทย ริเริ่มโครงการฝืกอบรมจากรุ่นสู่รุ่น หรือ Train-the-Trainers ร่วมกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการช่วยพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพให้แก่เยาวชนชาวเขาที่อยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิต (Skills for Life Foundation) บ๊อชมีวัตถุประสงค์ให้โครงการนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยบริจาคชุดเครื่องมือไฟฟ้าให้กับทั้งสองฝ่าย คือมหาวิทยาลัยฯ และมูลนิธิฯ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกอบรมต่อไป แนวทางของโครงการนี้คือ บ๊อชได้ช่วยฝึกให้อาสาสมัครซึ่งเป็นนักศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ และเยาวชนด้อยโอกาสจากทางมูลนิธิฯ รู้จักวิธีการใช้เครื่องมือไฟฟ้าต่างๆ อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ กิจกรรมฝึกอบรมยังครอบคลุมไปถึงด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งความรู้ด้านการตลาด โครงการเชิงบูรณาการนี้มุ่งหวังที่จะให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นสินค้าที่ออกสู่ตลาดผู้บริโภคได้อย่างแท้จริงในอนาคต และช่วยให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่มีความมั่นใจที่จะทำธุรกิจต่อไป
          มร. โจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการ บ๊อช ประเทศไทย แสดงความเห็นเกี่ยวกับเจตจำนงของบ๊อช ที่สนับสนุนมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิต (Skills for Life Foundation) ในจังหวัดเชียงใหม่มาอย่างต่อเนื่องว่า "บ๊อชยังคงมุ่งมั่นกับจุดยืนที่จะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนเหล่านี้ในด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ ซึ่งโครงการจะสามารถดำเนินอย่างต่อเนื่องได้นั้น จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากวิทยากรผู้ฝึกสอน และนักศึกษาอาสาสมัครจากคณะวิจิตรศิลป์ ส่งต่อความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถสอนเด็กรุ่นต่อๆ ไปได้ สำหรับก้าวต่อไปที่บ๊อชอยากจะเห็น คือ เด็กด้อยโอกาสเหล่านี้ สามารถหาเลี้ยงชีพและพึ่งตนเองได้ และช่วยสนับสนุนโครงการนี้ดำเนินอย่างต่อเนื่องต่อไป"
          นางโดมินิค ลอยต์วีเลอร์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิต (Skills for Life Foundation)กล่าวเสริมว่า "มูลนิธิทักษะเพื่อชีวิตก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเยาวชนด้อยโอกาสบนเขาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ โดยให้การสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและทุนการศึกษา ให้คำแนะนำด้านต่างๆ และพัฒนาทักษะวิชาชีพ มูลนิธิฯต้องการส่งเสริมให้เยาวชนสามารถรับผิดชอบและพึ่งตนเองได้ในอนาคต จากการเฝ้าสังเกตการณ์ ดิฉันได้เห็นว่าโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพนี้ จุดประกายแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ อย่างมากและเป็นจุดเริ่มต้นอันยิ่งใหญ่ให้เด็กๆ ในมูลนิธิได้ค้นพบกับพรสวรรค์ในตัวเอง"
          รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเสริมว่า "นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครในโครงการนี้ จะได้รับประสบการณ์ที่มีค่าอีกมากมายจากการร่วมเป็นผู้ฝึกสอน และเด็กๆ จะได้รับรู้ถึงประโยชน์และพลังแห่งการแบ่งปัน ดิฉันคิดว่าบ๊อชเป็นพันธมิตรที่ลงตัว เนื่องจากเรามีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ โครงการของบ๊อชส่งเสริมให้คณะวิจิตรศิลป์ของเรามีโอกาสทำงานกับชุมชนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อยกระดับเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองแห่งการสร้างสรรค์หัตถกรรม ซึ่งโครงการนี้ช่วยให้เราก้าวสู่เป้าหมายไปอีกหนึ่งขั้น"
ความรับผิดชอบต่อสังคมของบ๊อช: เส้นทางที่ยั่งยืนสู่อนาคตบ๊อชพัฒนาทักษะอาชีพแก่เยาวชนชาวเขาในเชียงใหม่
 
ความรับผิดชอบต่อสังคมของบ๊อช: เส้นทางที่ยั่งยืนสู่อนาคตบ๊อชพัฒนาทักษะอาชีพแก่เยาวชนชาวเขาในเชียงใหม่
ความรับผิดชอบต่อสังคมของบ๊อช: เส้นทางที่ยั่งยืนสู่อนาคตบ๊อชพัฒนาทักษะอาชีพแก่เยาวชนชาวเขาในเชียงใหม่

ข่าวมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิต+มหาวิทยาลัยเชียงใหม่วันนี้

มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (SMU) ผนึกกำลังจุฬาฯ และมช. หนุนสตาร์ทอัพและธุรกิจด้านเทคโนโลยีของไทยขยายสู่ตลาดอาเซียน

พร้อมสนับสนุนให้ผู้หญิงก้าวเป็นผู้นำในวงการเทคโนโลยี และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (Singapore Management University: SMU) ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ในประเทศไทย โดยมุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดน และผลักดันการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของสตาร์ทอัพไทยสู่ตลาดอาเซียนขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง

"ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ ต้องเ... "ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ต้องเป็น "เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน" — "ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ ต้องเป็นแบบ "เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน" ยกกรณีศึ...

นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลาน... โรงพยาบาลลานนา ออกหน่วยตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในงาน Job Fair 2025 จ.เชียงใหม่ — นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา นำทีมเจ้าหน้าที่พย...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปร... ในหลวง โปรดเกล้าฯ เป็นผู้แทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตร — พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นผู้แ...