สมาคมธนาคารไทย โดยความร่วมมือของธนาคารสมาชิก พร้อมสนับสนุนทางการเงินแก่เอสเอ็มอีภายใต้โครงการ'สินเชื่อประชารัฐเพื่อ SME' วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท สำหรับเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ ต่อรายไม่เกิน 2 ล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือลงทุนในกิจการ อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 4.00% ต่อปีในช่วง 2 ปีแรก และปีต่อไปเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว MRR ระยะเวลาการกู้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี โดยเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 15สิงหาคม 2559
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกันสร้างสรรค์และพร้อมให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ลูกค้าเอสเอ็มอี ภายใต้โครงการ 'สินเชื่อประชารัฐเพื่อ SME' วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท โดยกำหนดวงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 2 ล้านบาท สำหรับกลุ่มลูกค้า SME ที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือลงทุนในกิจการ อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 4.00% ต่อปีในช่วง 2 ปีแรก และปีต่อไปเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว MRR (Minimum Retail Rate) ระยะเวลาการกู้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี โดยหลักประกันและแนวทางในการพิจารณาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละธนาคาร พร้อมเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2559
ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ได้มอบแนวนโยบายแก่สถาบันการเงินทั้งเอกชนและรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ทั้งที่เป็นลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ในการให้คำปรึกษาและพิจารณาวงเงินช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ตลอดมา เฉกเช่นเดียวกับโครงการสินเชื่อประชารัฐเพื่อ SME นี้ ถือเป็นหนึ่งในโครงการประชารัฐของคณะทำงานการส่งเสริมเอสเอ็มอี และStart-up ภายใต้การนำทีมของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐบาล และคุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน โดยมีสมาคมธนาคารไทยเป็นศูนย์กลางในการประสานรายละเอียดต่างๆ ของโครงการ เพื่อช่วยเหลือและเสริมศักยภาพให้กับกลุ่มเอสเอ็มอีให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกและง่ายขึ้น
สำหรับลูกค้าเอสเอ็มอีที่สนใจสามารถยื่นคำขอ 'สินเชื่อประชารัฐเพื่อ SME' ได้กับธนาคารสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 15สิงหาคม 2559 เป็นต้นไป หรือเมื่อครบจำนวน 10,000 ล้านบาท
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ยังคงเร่งเดินหน้ามาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการรักษาความเข้มแข็งของระบบสถาบันการเงินในภาพรวม ขณะที่ปัจจุบันระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินกองทุนในระดับสูง และเกินกว่าเกณฑ์เงินกองทุนที่ต้องดำรงขั้นต่ำของ ธปท.ที่ 11.0% (ระดับเงินกองทุนขั้นต่ำที่ 8.5% และ Conservation Buffer ที่ 2.5%) และสูงกว่ามาตรฐานสากลของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS)
สมาคมธนาคารไทยหนุนนโยบาย ธปท. เชื่อช่วยระบบแบงก์พาณิชย์แข็งแกร่งระยะยาว เป็นเสาหลักดันเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัว
—
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผย...
ธนาคารพาณิชย์เร่งบรรเทาสภาพคล่องลูกค้าทุกกลุ่ม
—
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยถึงโครงการความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่...
ธนาคารพาณิชย์ช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แล้วเกือบ 14 ล้านราย
—
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ผลกระทบจากสงครามการค้า...
ภาพข่าว: สมาคมธนาคารไทยมอบ 50 ล้านบาท หนุนบุคลากรทางการแพทย์แก้ COVID-19
—
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับมอบเงินจำนวน 50,000,000 บาท (ห้าสิบล้า...
สมาคมธนาคารไทย ชี้ผลกระทบโควิด-19 อาจสูงกว่า 1.3 ล้านล้านบาท เชื่อมาตรการรัฐช่วยลดผลกระทบ จำกัดการหดตัวทางเศรษฐกิจ
—
สมาคมธนาคารไทย มองมาตรการช่วยเหลือของ...
ธนาคารสมาชิกสมาคมธนาคารไทยออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือลูกหนี้ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามภาวะการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
—
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมา...
สมาคมธนาคารไทยพร้อมช่วยลูกหนี้ที่กระทบจากปัญหาเศรษฐกิจเต็มที่ และให้บริการการเงินต่อเนื่อง
—
สมาคมธนาคารไทยร่วมกับธนาคารสมาชิกหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศ...
สมาคมธนาคารไทยออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อย
—
สมาชิกสมาคมธนาคารไทยร่วมออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจและรายย่อยที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตร...