ปิ๊งส์ สสส. เปิดตัวโครงการใหม่ ชวนเยาวชนทำหนังสั้นรณรงค์ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ปิ๊งส์ สสส. เปิดตัวโครงการใหม่ ชวนเยาวชนทำหนังสั้นรณรงค์ "อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา"
เพื่อให้เยาวชน และนักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นเป้าหมายหลักของธุรกิจแอลกอฮอล์ ใช้สื่อหนังสั้นสื่อสารกับเด็กด้วยกันจะได้เข้าใจกันง่ายขึ้น ก่อนหาสุดยอดผลงานฉายโรงภาพยนตร์เผยแพร่ และรณรงค์ทั่วประเทศ
          โครงการปิ๊งส์ โดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานควบคุมแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายองค์กรงดเหล้า สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน จัดโครงการประกวดสื่อภาพยนตร์สั้นชิงเงินรางวัล, ทุนเพื่อผลิตผลงานจริง ชี้ผู้ผ่านเข้ารอบจะมีโอกาสเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการกับผู้กำกับมืออาชีพ ก่อนทำหนังสั้นภายใต้ประเด็น สุรา เป็นเหตุก่อมะเร็งได้, สุรา เป็นเหตุให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้, สุรา เป็นเหตุให้พิการและตายได้, สุรา ทำร้ายตนเอง ครอบครัวและสังคมได้ หวังให้สื่อหนังสั้นเข้าถึง และนำเสนอ ทำความเข้าใจถึงอันตรายและโทษที่เกิดเพราะการดื่ม ก่อนนำไปใช้รณรงค์สร้างความรู้เท่าทันสื่อในกลุ่มนักดื่ม
          โดยรองศาสตราจารย์นายแพทย์ปัญญา ไข่มุก คณะกรรมการบริหารกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากการรณรงค์เรื่องการลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านมาแม้จะมีสถิติลดลง แต่บริษัทผู้ผลิตเหล้าก็ยังคงหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาเพิ่มเติมซึ่งเด็กและเยาวชนก็คือกลุ่มเป้าหมายใหม่ของธุรกิจนี้ จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุว่า ประชากรโลกที่อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป มีการดื่มแอลกอฮอล์ เฉลี่ยปีละ 6.2 ลิตร เช่นเดียวกันการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชาชน พ.ศ. 2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า คนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไปตกเป็นนักดื่มในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อแยกกลุ่มอายุที่มีความชุกในการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงที่สุด คือวัยผู้ใหญ่ อายุ 25–59 ปี โดยดื่มใน 12 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 38.2 รองลงมาคือกลุ่มเยาวชนผู้ที่มีอายุ 15–24 ปีดื่มร้อยละ 25.2 สำหรับวัยสูงอายุ กลุ่ม 60 ปีขึ้นไปดื่มร้อยละ 18.4 สำหรับความบ่อยครั้งของการดื่ม พบว่าร้อยละ 57.6 เป็นผู้ที่ดื่มนานๆ ครั้ง ร้อยละ 42.4 เป็นผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอ เมื่อดูถึงความถี่หรือความบ่อยครั้งในการดื่มของกลุ่มผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอ พบว่าเป็นผู้ที่ดื่ม 5 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไปถึงร้อยละ 38.3 โดยในกลุ่มนี้เป็นผู้ที่ดื่มทุกวันสูงถึงร้อยละ26.2 โดยผู้ชายมีอัตราการดื่มสูงกว่าผู้หญิงประมาณ 4 เท่า จากพฤติกรรมการดื่มเหล่านี้ส่งผลกระทบให้ผู้ดื่มเสี่ยงอุบัติเหตุ ขาดสติ ทะเลาะวิวาท และยิ่งดื่มมากก็ยิ่งเพิ่มอัตราการเกิดโรคร้ายจากการดื่มมากกว่า 200 โรค อาทิ มะเร็ง, พิษสุราเรื้อรัง, ตับแข็ง, ปลายปราสาทเสื่อม, สมองเสื่อม, โรคหัวใจ, ไขมันในเลือดสูง,ไขมันสะสมในตับ, ตับอักเสบ ฯลฯ
          "สาเหตุสำคัญที่เริ่มดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า สาเหตุหลักๆ มี 3 สาเหตุ คือ เพื่อเข้าสังคม/การสังสรรค์ ร้อยละ 41.87 ตามอย่างเพื่อน/เพื่อนชวนดื่ม ร้อยละ27.3 และอยากทดลองดื่ม ร้อยละ 24.4 โดยกลุ่มอายุ 15–24 ปี จะเริ่มดื่มตามอย่างเพื่อน/เพื่อนชวนดื่ม คิดเป็นร้อยละ 34.49 กลุ่มอายุ 25–59 ปี เริ่มดื่มเพื่อเข้าสังคม/การสังสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 44.38 และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป เริ่มดื่มเพื่อเข้าสังคม/การสังสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 38.70 เพื่อให้ปัญหาทั้งหมดลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการรณรงค์แก่ประชาชนตลอดทั้งปีอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาสื่อที่ สสส. นำมาสื่อสารนั้นยังไม่ได้มุ่งเป้าไปที่เยาวชน ซึ่งเยาวชนกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่บริษัทธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เบนเข็มไปนอกเหนือจากกลุ่มผู้ใหญ่ จึงจำเป็นต้องเร่งสื่อสารและรณรงค์ในเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงหลักนี้มากขึ้น การใช้สื่อภาพยนตร์สั้นที่ทำโดยกลุ่มเป้าหมายเองจึงน่าจะเป็นสื่อที่น่าจะใช้สื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มเด็กได้เร็วและได้ง่ายที่สุด โครงการนี้จึงเป็นกลยุทธิ์ที่น่าสนใจอีกโครงการหนึ่งของเรา" รองศาสตราจารย์นายแพทย์ปัญญา ไข่มุก กล่าว
          ด้านนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล สำนักงานควบคุมแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ที่ผ่านมาพบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อเกิดปัญหาทั้งภายในและภายนอกครัวเรือน ทั้งปัญหาทางการเงินส่งผลกระทบต่อครัวเรือนมากกว่าปัญหาอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 5.69 รองลงมาคือการเคยมีปากเสียงทะเลาะโต้แย้งกันในครัวเรือน และก่อให้เกิดความรำคาญ รบกวนการทำงานและคุณภาพชีวิต ร้อยละ 5.55 และ 4.29 ตามลำดับ แต่สิ่งที่สังคมจะต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาไม่ว่าจะในครัวเรือนหรือนอกครัวเรือนคือ การลงมือทำร้ายร่างกายหรือกระทำความรุนแรง ร้อยละ 0.87 และ 1.21 ตามลำดับ
          "การประกวดทำภาพยนตร์สั้น "รู้เท่าทันการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ที่แบ่งไอเดียและแนวความคิด ภายใต้ประเด็น สุรา เป็นเหตุก่อมะเร็งได้, สุรา เป็นเหตุให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้, สุรา เป็นเหตุให้พิการและตายได้, สุรา ทำร้ายตนเอง ครอบครัวและสังคมได้ จึงเกิดขึ้นเพราะปัจจุบันเครื่องดื่มเหล่านี้ส่งผลเสียครอบคลุมไปทุกมิติ การสื่อสารหรือทำหนังสั้นเพื่อรณรงค์ในเรื่องนี้จึงควรมีข้อระวัง คือ การใช้ภาพขวดหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจเป็นการสื่อสารมุมกลับทำให้เกิดการกระตุ้น ตอกย้ำ ระลึกถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาจตกเป็นข้ออ้างของกลุ่มธุรกิจในการใช้ภาพสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามช่องทางการสื่อสารต่างๆ ต่อได้" นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล กล่าว
          ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า การใช้สื่อรณรงค์ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านมาเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มผู้ใหญ่มากกว่าเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นการสกัดกั้นนักดื่มหน้าใหม่การทำสื่อที่เจาะจงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ประเด็นแอลกอฮอล์ การสร้างความเข้าใจเรื่องกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ การรู้เท่าทันกลยุทธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การลดและสกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น เราต้องนำข้อมูลยากๆ เหล่านั้นมาสื่อสารในรูปแบบใหม่ นั่นคือ สื่อภาพยนตร์สั้น ซึ่งน่าจะตอบโจทย์เรื่องการรณรงค์ได้ดีกว่าสื่อแบบเดิมๆ ที่สำคัญโครงการนี้ยังได้ผู้กำกับแถวหน้าที่มีชื่อเสียงอยู่ในวงการภาพยนตร์จากสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยมาร่วมงานมากมาย อาทิ นนทรีย์ นิมิบุตร, ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์,นิติวัฒน์ ชลวณิชสิริ, พัฒนะ จิระวงศ์, ชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา และอนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง ซึ่งแน่นอนว่าเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการนอกจากจะได้รับความรู้ การรู้เท่าทันสื่อ สามารถคิด แยกแยะ วิเคราะห์ จนนำมาซึ่งความเข้าใจผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วเยาวชนเหล่านี้ยังได้เรียนรู้วิธีการและเทคนิคในการทำภาพยนตร์สั้นเพื่อสื่อสารโดยตรงจากผู้กำกับมืออาชีพแบบตัวต่อตัว ที่สำคัญนอกจากจะมีภาพยนตร์สั้นฝีมือเยาวชนออกมาแล้ว ผู้กำกับมืออาชีพทั้งหมดจะผลิตภาพยนตร์สั้นตามแนวและวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองออกมา 6 คน 6 เรื่อง ด้วย
          สำหรับการรับสมัครนั้น นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพฯ (สสส.) กล่าวว่า โครงการนี้เปิดโอกาสให้แยาวชนนักเรียน นิสิตนักศึกษา ที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า เข้าร่วมโครงการ โดยส่ง Script ไอเดีย และแนวความคิดเกี่ยวกับประเด็นที่เปิดรับพร้อมใบสมัครส่งมาได้ที่[email protected] ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 ในขณะเดียวกันช่วงเปิดรับสมัครนี้เพื่อสร้างความรู้และเข้าใจในประเด็นให้ชัดเจนขึ้น ทางโครงการจะเดินสาย Roadshow นำผู้กำกับและนักวิชาการไปให้ความรู้แก่เยาวชนถึงสถานศึกษา มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 10 สถานที่ แต่จะเป็นที่ไหน และวันเวลาใดบ้าง สามารถติดตามและดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.PINGs.in.th หรือ www.artculture4health.com
          "ไอเดียที่ส่งเข้ามาจากทั่วประเทศนั้นในรอบแรกจะคัดเลือกเหลือเพียงผลงานจาก 20 ทีม เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เรียนรู้ประเด็นเพิ่มเติมจากนักวิชาการและผู้ที่ทำงานรณรงค์เพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมเรียนรู้กระบวนการทำงานกับผู้กำกับมืออาชีพจากสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ก่อนให้นำเสนอผลงานอีกครั้งเพื่อคัดเหลือ 10 ทีม 10 ผลงาน รับทุนผลิตผลงานจริง จากนั้นสุดยอดผลงานที่นำเสนอได้ตรงโจทย์จะถูกคัดเลือกเพื่อชิงเงินรางวัลจากการประกวดรวมนับ 100,000 บาท ก่อนนำไปฉายในโรงภาพยนตร์คู่กับผลงานของผู้กำกับมืออาชีพทั่วประเทศ สำหรับภาพของการรณรงค์ต่อไปนั้นเราจะนำผลงานทั้งหมดนี้มาเป็นตัวตั้งต้นและนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญๆ เช่น ภาพคำเตือนของบรรจุภัณฑ์ ที่จะปรากฏบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลต่อไป" นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว
ปิ๊งส์ สสส. เปิดตัวโครงการใหม่ ชวนเยาวชนทำหนังสั้นรณรงค์ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา”
 

ปิ๊งส์ สสส. เปิดตัวโครงการใหม่ ชวนเยาวชนทำหนังสั้นรณรงค์ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา”
ปิ๊งส์ สสส. เปิดตัวโครงการใหม่ ชวนเยาวชนทำหนังสั้นรณรงค์ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา”
 
 

ข่าวสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย+เครือข่ายองค์กรงดเหล้าวันนี้

ภาพข่าว: มอบรางวัลประกวดภาพยนตร์สั้น “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา”

รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก (กลาง) คณะกรรมการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช (ที่สามจากซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี (ที่สองจากซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ดนัย หวังบุญชัย (ขวา) ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ ปรัชญา ปิ่นแก้ว (ที่สามจากขวา) ผู้แทนจากสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย นนทรีย์ นิมิบุตร (ที่สองจากขวา) ผู้กำกับภาพยนตร์กิตติมศักดิ์ และ สุวรรณี ชินเชี่ยวชาญ (ซ้าย) ประธาน

โครงการปิ๊งส์ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร... ขอเชิญชวนชมภาพยนตร์สั้น “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” 6 เรื่อง จาก 6 ผู้กำกับ และเยาวชน — โครงการปิ๊งส์ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกอ...

โครงการปิ๊งส์ โดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมส... โครงการประกวดสื่อภาพยนตร์สั้น หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” — โครงการปิ๊งส์ โดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง...

ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี (ซ้าย) ผู้อำนวยการสำ... ภาพข่าว : ประกวดภาพยนตร์สั้น “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” — ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี (ซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล (ที...

สสส. จัดแถลงข่าวเปิดตัว โครงการ ประกวด สื่อ ภาพยนตร์สั้น หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา”

โครงการปิ๊งส์ โดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานควบคุมแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายองค์กรงดเหล้า...

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ บริษัท ซียู นิเทด เอ... คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)" เปิดคอร์สออนไลน์และกิจกรรมเสริมทักษะการผลิตภาพยนตร์ — คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ...

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ บริษัท ซียู นิเทด เอ... คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)" เปิดคอร์สออนไลน์และกิจกรรมเสริมทักษะการผลิตภาพยนตร์ — คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ...

วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายอ... วธ. จัดประกวดบทภาพยนตร์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมฯ “คนไทยชีวิตปกติ วิถีใหม่” จัดทำแผนส่งเสริม สนับสนุน ดันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่ระดับนานาชาติ — วันที่ ๒๘ กันย...

วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ... ไทย -ลาว ร่วมผลิตนักสร้างหนังระดับเยาวชน เปิดกิจกรรมเผยแพร่ด้านการผลิตภาพยนตร์สั้นสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมสองฝั่งโขง ครั้งที่ ๕ สร้างความร่วมมือ ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ปั้นเด็กผลิตภาพยนตร์แบบมืออาชีพ การสร้างสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ — วันที่ ๒๑ ธ...