สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 ศึกษาเขตความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว บนคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ระบุ เกษตรกรที่ปลูกข้าวในเขต S1 และ S2 มีผลผลิตเฉลี่ย 716.04 กก./ไร่ รายได้สุทธิ 515.70 บาท/ไร่ ส่วนเกษตรกรที่ปลูกข้าวในเขต S3 และ N พบว่า มีผลผลิตเฉลี่ย 507.04 กก./ไร่ รายได้สุทธิ -423.31 บาท/ไร่ ย้ำ หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชทางเลือกอื่น ต้องศึกษาพืชทางเลือกใหม่ที่มีลู่ทางการตลาด ดิน และข้อมูลต้นทุนการผลิตอย่างรอบด้าน
นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 (สศท.9) ได้ศึกษาเขตความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว บนคาบสมุทร สทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่อำเภอระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์ และสิงหนคร เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวในพื้นที่ รวมทั้งศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนสำหรับสินค้าเกษตรทางเลือกชนิดอื่นๆ ที่เกษตรกรมีความสนใจเพื่อทดแทนการปลูกข้าวในพื้นที่นาที่ไม่เหมาะสม สำหรับเขตความเหมาะสมการปลูกข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวบนคาบสมุทรสทิงพระ มีการแบ่งพื้นที่ความเหมาะสมในการการปลูกข้าว ได้เป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย
- เขตพื้นที่มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวมาก (S1) เนื้อที่ 306,145 ไร่ มีการปลูกข้าว 171,395 ไร่
- เขตพื้นที่มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวปานกลาง (S2) เนื้อที่ 22,985 ไร่ มีการปลูกข้าว 5,672 ไร่
- เขตพื้นที่มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวน้อย (S3) เนื้อที่ 23,100 ไร่ มีการปลูกข้าว 798 ไร่
- เขตพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว (N) เนื้อที่ 387,491 ไร่ มีการปลูกข้าว 2,167 ไร่
สำหรับเกษตรกรที่ปลูกข้าวในเขตที่มีความเหมาะสมมาก (S1) และมีความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีผลผลิตเฉลี่ย 716.04 กก./ไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 4,511.05 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 3,995.35 บาท/ไร่ คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 5.58 บาท/กก. มีรายได้สุทธิ 515.70 บาท/ไร่ ทั้งนี้ การจัดทำแนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ ในเขตที่มีความเหมาะสมมาก (S1) และมีความเหมาะสมปานกลาง (S2) ต้องให้ความสำคัญเรื่องการลดต้นทุน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ส่วนเกษตรกรที่ปลูกข้าวในเขตความเหมาะสมน้อย (S3) และเขตที่ไม่เหมาะสม (N) พบว่า มีผลผลิตเฉลี่ย 507.04 กก./ไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 3,194.35 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 3,617.67 บาท/ไร่ คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 7.13 บาท/กก. มีรายได้สุทธิ -423.31 บาท/ไร่ อย่างไรก็ตาม การจัดทำแนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญในเขตความเหมาะสมน้อย (S3) และเขตไม่เหมาะสม (N) ต้องให้ความสำคัญโดยพิจารณาเป็นกรณี คือ หากเกษตรกรต้องการทำนาต่อไป ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการดิน ปรับปรุงโครงสร้างดินใหม่ การตรวจวิเคราะห์ดิน แต่หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชทางเลือกอื่นเพื่อทดแทนการปลูกข้าว เกษตรกรต้องศึกษาพืชทางเลือกใหม่ที่มีลู่ทางการตลาด ดินมีความเหมาะสมกับพืชที่เกษตรกรเลือก รวมทั้งพิจารณาเรื่องข้อมูลต้นทุนการผลิต และรายได้สุทธิของพืชทางเลือก
ด้านนายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการ สศท.9 กล่าวเสริมว่า จากการศึกษาพืชทางเลือกของเกษตรกรบนคาบสมุทรสทิงพระ พบว่า เกษตรกรได้มีการปลูกพืชทางเลือกที่สำคัญได้แก่ ปาล์มน้ำมัน พืชไร่และพืชผัก โดยผลตอบแทนของเกษตรกรบนคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า
ปาล์มน้ำมัน เกษตรกรมีรายได้สุทธิ 5,661.49 บาท/ไร่ พริกเขียวมัน มีรายได้สุทธิ 26,681.30 บาท/ไร่ คะน้า มีรายได้สุทธิ 11,935.93 บาท/ไร่ มะระ มีรายได้สุทธิ 10,180.48 บาท/ไร่ บวบ มีรายได้สุทธิ 9,881.61 บาท/ไร่ ถั่วฝักยาว มีรายได้สุทธิ 7,836.49 บาท/ไร่ กล้วยหอมทอง มีรายได้สุทธิ 61,807.47 บาท/ไร่ ดาวเรืองตัดดอก มีรายได้สุทธิ 55,514.57 บาท/ไร่ และหญ้าหวายข้อ มีรายได้สุทธิ 24,119.08 บาท/ไร่
ทั้งนี้ สศท.9 ยังได้จัดทำแนวทางพัฒนาสินค้า รวม 3 ยุทธศาสตร์ 17 กลยุทธ์ และแนวทางพัฒนาพื้นที่ ขับเคลื่อนโดยอาศัยกระบวนการประชารัฐ คำนึงถึงความต้องการของเกษตรกรเป็นหลัก บนฐานกลไกของอุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ ทรัพยากรน้ำ องค์ความรู้ แหล่งเงินทุน และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ตลอดจนการร่วมบูรณาการทุกภาคส่วนภายในจังหวัด อันจะสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ให้แก่พื้นที่ต่อไป
นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมะม่วงส่งออกหนองแซง หมู่ที่ 9 ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตและแปรรูปมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ได้รับการรับรองมาตรฐานแหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP และได้รับมาตรฐาน อย. ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้างความมั่น
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร
—
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยกา...
สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...
'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า
—
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...
"ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" สินค้า GI เริ่มออกตลาดปลาย พ.ค. นี้ สศท.11 เชิญชวนเที่ยวงาน "เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ปี 2565" 9 - 15 มิ.ย. นี้
—
นางประเทือง...
สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...
'ลองกองวังขุม' แปลงใหญ่ จ.สุราษฎร์ธานี คุณภาพมาตรฐาน GAP รสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สศท.8 เชิญชวนบริโภค ขณะนี้ออกตลาดแล้ว
—
นางพัชรารัตน์ ลิ้มศิริกุล ผู้...
ปีนี้อากาศดี ลำไยภาคเหนือติดดอกมาก ผลผลิตรวมกว่า 9.7 แสนตัน ออกตลาดมากสุด ส.ค. 64 สศท.1 เชิญชวนบริโภคลำไยคุณภาพ ช่วยเหลือเกษตรกร
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำ...
กองทุน FTA หนุนเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคเนื้อบ้านแสนแก้ว จ.ศรีสะเกษ สร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานการผลิตโคเนื้อ
—
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงาน...
สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
—
นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...