HSRx Biopharmaceutical ผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนายาสูตร polyfunctional สำหรับรักษาภาวะของโรคติดเชื้อ รวมถึงภาวะของโรคเรื้อรังที่มีความสัมพันธ์กับความชรา ได้ประกาศยืนยันว่า HSRx 431(TM) ซึ่งเป็นสารต้านไวรัสที่มีศักยภาพในการเป็นยาชนิดรับประทาน (drug candidate) แบบออกฤทธิ์กว้าง (broad-spectrum) ทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการจัดการกับไวรัสซิกา โดยบริษัท HSRx คาดว่า จะเริ่มทดสอบกับมนุษย์ได้ในช่วงต้นปี 2560 และจะเร่งการขออนุมัติตัวยาจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐ (FDA)
รูปภาพ - http://photos.prnewswire.com/prnh/20160905/404133
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งองค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่าเป็นโรคที่ไม่มีวัคซีนหรือยารักษานั้น มียุงลายสายพันธุ์ Aedes aegypti เป็นพาหะ ยุงลายสายพันธุ์นี้พบได้ในทวีปอเมริกา แอฟริกา แคริบเบียน เอเชีย และแปซิฟิก โดยฟลอริดาซึ่งมีผู้ติดเชื้อซิกาหลายร้อยราย และเปอร์โตริโกอีก 5,000 รายเป็นพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ในขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐ (CDC) ได้แจ้งไว้ว่า ยุงลายสายพันธุ์ Aedes นี้พบเห็นได้ในประมาณ 30 รัฐทั่วประเทศ ส่วนนพ.แอนโทนี ฟาวซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIAID) ได้คาดการณ์ไว้ว่า ในปีหน้าประชาชนชาวเปอร์โตริโกสัดส่วน 25% จากทั้งหมด 3.55 ล้านคน คาดว่า จะติดเชื้อไวรัสซิกา
ดร.ฟาวซี และนพ.เดวิด เอ็ม มอเรนส์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์ประจำ NIAID ได้เขียนลงในวารสาร New England Journal of Medicine ไว้ว่า: "ในแง่ของการรักษาโรค การแพร่ระบาดของไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะบ่งชี้ว่า แนวทางการรักษาแบบ one-bug-one-drug นั้นยังไม่เพียงพอ โดยขณะนี้มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ในการพัฒนายาต้านไวรัสชนิดออกฤทธิ์กว้าง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการจัดการกับไวรัสทุกชนิด"
ดร. โจชัว คอสติน นักวิทยาไวรัสและผู้อำนวยการฝ่ายชีววิทยาของ HSRx กล่าวว่า HSRx 431 ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว โดยแสดงความเห็นว่า "นี่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับเหตุผลเพิ่มเติม นั่นคือ การอนุมัติวัคซีนต้านทานเชื้อไวรัสซิกาอาจจะมีความยุ่งยากและล่าช้า หากการวิจัยใหม่ๆพบว่า ความเกี่ยวข้องระหว่างเชื้อไวรัสซิกา/ไข้เลือดออก เป็นเรื่องจริง" ดร. ฟาวซี กล่าวว่า "อย่างเร็วที่สุดเราจะมีวัคซีนก็คือในปี 2561 หากทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น"
โดยปกติ ภูมิต้านทานที่สร้างขึ้นจากการติดเชื้อจะช่วยให้สร้างภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อที่จะเกิดขึ้นตามมา แต่ Antibody Dependent Enhancement (ADE) ซึ่งได้มีการรายงานเป็นครั้งแรกว่า ADE เป็นทฤษฎีโดยนายแพทย์สก็อตต์ อัลสเตด หัวหน้าหน่วยงานเกี่ยวกับการแพร่เชื้อไวรัสโดยยุงนั้น ADE ทำให้ไวรัสไข้เลือดออกก่อให้เกิดการติดเชื้อต่างๆตามมา ซึ่งภูมิต้านทานจะทำให้อาการเจ็บป่วยมีความรุนแรงมากขึ้น การวิจัยที่สมบูรณ์เมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่า เซรั่มสำหรับมนุษย์ที่มีภูมิต้านทานไวรัสไข้เลือดออกทำให้การติดเชื้อซิกามีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็น 200 เท่า CDC ระบุว่า กว่า 1 ใน 3 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อไข้เลือดออก และมีประชาชนที่ติดเชื้อ 400 ล้านคนในแต่ละปี ไวรัสไข้เลือดออกมีถิ่นกำเนิดมาจากเปอร์โตริโก ละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะแคริบเบียน และคาดว่า จะแพร่ระบาดเข้าสู่สหรัฐในอีกไม่นานเช่นเดียวกับซิกา
โธมัส ซัลลิแวน จูเนียร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ HSRx อธิบายว่า "เราได้จดสิทธิบัตรเฉพาะ HSRx 431 เท่านั้น และจดร่วมกับ Oseltamivir (Tamiflu(TM)) และยาต้านไวรัสอื่นๆ ซึ่งช่วยให้ HSRx 431 เป็นยาต้านไวรัสหลายตัวที่ดีที่สุดในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อไวรัสหลายอย่างได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งรวมไปถึง ไวรัสซิกา ไวรัสไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ไข้หวัดใหญ่ โดยไม่จำเป็นต้องระบุสารที่เป็นสาเหตุ CDC ระบุว่า "มีประชาชนหลายล้านคนเจ็บป่วย หลายแสนคนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และหลายหมื่นคนเสียชีวิตจากไข้หวัดในสหรัฐในแต่ละปี การผสมผสานยา HSRx 431 เข้ากับ Oseltamivir จะช่วยพัฒนายาต้านทานไวรัสที่ทั่วโลกต้องการ ยารับประทาน และต่อต้านไวรัสหลายชนิดที่มีอายุการใช้งานและอายุสิทธิบัตรที่ยาวนาน"
นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึงมาตรการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) และโรคที่มียุงลายเป็นพาหะในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนอ.ร่วมกับสำนักงานเขตพัฒนาปรับปรุงระบบจัดการด้านสาธารณสุขเขตเมือง อาทิ การจัดการสุขาภิบาลในชุมชนแออัด การจัดการแหล่งน้ำขังอย่างมีประสิทธิภาพ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ตามมาตรการ 5ป 1ข คือ ปิด หรือคว่ำภาชนะ เพื่อป้องกันยุงวางไข่ เปลี่ยนน้ำในภาชนะให้สะอาดอยู่เสมอทุก 7
กทม.รุกป้องกันควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ แนะปฏิบัติตามมาตรการ 5 ป.
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม.กล่าวถึงมาตรการเชิงร...
สคร. 12 สงขลา เตือนหน้าฝน เสี่ยงป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เน้นย้ำ หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันอย่าให้ยุงลายกัด
—
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร....
กทม.พัฒนาปรับปรุงระบบจัดการด้านสาธารณสุขเขตเมือง พร้อมเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ
—
นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.)...
สคร.12 สงขลา แนะสังเกตสัญญาณอันตรายโรคไข้เลือดออก หลังจากไข้ลด แล้วมีอาการปวดท้องข้างขวา คลื่นไส้ เบื่ออาหาร มีผื่นขึ้นใต้ผิวหนัง ให้รีบพบแพทย์ทันที
—
สถานการณ์โร...
สคร. 12 สงขลา รณรงค์ เที่ยวสงกรานต์อุ่นใจ ไม่นำโรคภัยไปติดครอบครัว เน้นย้ำ ฉลองปลอดโรค เดินทางปลอดภัย
—
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.1...
เรื่องลับๆ ของผู้ชาย ที่ควรรู้ : โรคติดเชื้อราที่ปลายอวัยวะเพศชาย
—
โรคติดเชื้อราที่ปลายอวัยวะเพศชาย (candida balanitis) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งเกิดจากกา...
ควรเลือกน้ำยาถูพื้นลดแบคทีเรียอย่างไรให้ปลอดภัยในยุคโรคระบาด
—
ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่ต้องเผชิญกับการระบาดของโรคติดเชื้อทั้งเก่าและใหม่อย่างต่อเนื่อง สาเห...
แพทย์เตือน...อย่าชะล่าใจ! ไข้หวัดใหญ่รุนแรงกว่าที่คิด เสี่ยงปอดอักเสบ หัวใจวาย อันตรายถึงชีวิต !!!
—
"ไข้หวัดใหญ่" ไม่ใช่แค่ "ไข้ธรรมดา" อย่าชะล่าใจเมื่อม...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...