แนวโน้ม 5 ประการของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยโดยการระบุอัตลักษณ์บุคคล (Secure Identity)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          แนวโน้ม 5 ประการของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยโดยการระบุอัตลักษณ์บุคคล (Secure Identity)
          โดย Alex Tan ผู้อำนวยการด้านการขาย Physical Access Control System ของ HID Global แห่งภูมิภาคอาเซียน
          ในโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และสินค้าอุปโภคบริโภคเข้ามาบรรจบกัน ในที่ต่าง ๆ เราจะมองเห็นผู้คนใช้อุปกรณ์พกพาอัจฉริยะกันแทบทุกคน โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและแทบเลต และเริ่มมีบางคนที่มีอุปกรณ์สวมใส่ที่มีความอัจฉริยะเพิ่มเข้ามา อย่างเช่น นาฬิกาอัจฉริยะ (Smartwatch) กำไลข้อมือสุขภาพ แว่นตา เป็นต้น ต่อไปน่าจะมี เสื้อผ้า เข็มขัด รองเท้า และอื่น ๆ อีกมากมายที่ค่อย ๆ ทยอยกันออกสู่ท้องตลาด คาดว่าพอถึงปี ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2568) ตลาดอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะทั่วโลกจะมีมูลค่าพุ่งทะยานไปถึง 170.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.8 ล้านล้านบาทที่อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาทต่อดอลลาร์) สิ่งที่ต้องกังวลตามมาคือความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (data privacy) ความยาวนานและอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ รวมทั้งราคาที่แพงมาก
          HID Global ผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาโซลูชันทางด้านความปลอดภัยโดยการระบุอัตลักษณ์บุคคล ได้ทำการสำรวจข้อมูลเชิงลึกกับลูกค้าในตลาดสำคัญทั่วโลก โดยครอบคลุมตลาดองค์กรขนาดใหญ่ สถานพยาบาล สถาบันทางการเงินและองค์กรรัฐบาล พบแนวโน้มสำคัญ 5 ประการตามรายละเอียดข้างล่าง ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของตลาดที่มีความต้องการอุปกรณ์พกพา (mobility) มากขึ้น และต้องการนำอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต (Internet of Things) ลูกค้าให้น้ำหนักกับการเชื่อมต่อเข้าระบบอย่างไม่สะดุดโดยใช้การระบุอัตลักษณ์บุคคลเชิงดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ (trusted digital identities) พร้อมทั้งมีระบบการป้องกันความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว (privacy) ที่สูง
          แนวโน้มที่ 1 ผู้ใช้ต้องการใช้อุปกรณ์พกพาเพียงอันเดียว ที่สามารถทำงานได้หลายอย่างมากขึ้นเรื่อย ๆ (all in one) โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนที่ทุกคนมีและต้องพกไปทุกที่ทุกเวลา
          คนยุคปัจจุบันใช้ชีวิตกับอุปกรณ์ดิจิทัล (digital lifestyles) มากขึ้น ต้องการการเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตตลอดเวลาและอยากได้ประสบการณ์การใช้งานที่มีความปลอดภัยสูง พัฒนาการของเทคโนโลยีที่เราน่าจะเห็นในอนาคต คือการพัฒนาเรื่องความปลอดภัยในการเข้าสู่ระบบต่าง ๆ โดยการระบุอัตลักษณ์บุคคลผ่านอุปกรณ์พกพาซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นทุกคนมีใช้กันในทุกที่ทุกเวลา
          อย่างเช่นในอาคาร CityPoint ในมหานครลอนดอน พนักงานรักษาความปลอดภัยสามารถใช้สมาร์ทโฟนของตนเป็นเสมือนเครื่องอ่าน NFC (Near Field Communication) เพียงการแตะสมาร์โฟนของตนไปที่บัตร RFID เขาสามารถตรวจสอบการเข้าออกของคนที่ถือบัตรนั้น และตรวจสอบตัวตนของบุคคลคนนั้น ณ จุดตรวจได้เลย สมาร์ทโฟนกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางของการต่อเชื่อมส่วนบุคคลและถูกเรียกร้องให้สามารถทำงานได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพิ่มจากอุปกรณ์แสดงอัตลักษณ์บุคคลไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้อ่านค่าต่าง ๆ อย่างเอนกประสงค์อีกด้วย
          แนวโน้มที่ 2 ผู้ใช้ต้องการมีประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีขึ้น และปลอดภัยขึ้น
          ผู้ใช้ต้องการประสบการณ์ในการใช้งานที่สามารถเข้าถึงบริการและแอฟพลิชันต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้นแต่ยังคงมีความปลอดภัยสูง ประสบการณ์ของผู้ใช้แบบนี้ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสูงสุดหนึ่งในสองอันดับต้น ๆ ที่ผู้ใช้ทั่วโลกต้องการให้มีในการพัฒนาบนระบบการรักษาความปลอดภัยในการเข้าออกอาคารโดยใช้อุปกรณ์พกพาในระยะ 3 ปีข้างหน้านี้ตามการศึกษาของ Frost & Sullivan Asia-Pacific
          การใช้ข้อมูลทางชีวภาพของบุคคล (biometrics) น่าจะเป็นทิศทางในการพัฒนาโดยนำเข้ามาใช้กับเรื่องความปลอดภัย ในประเทศบราซิล สถาบันการเงินชั้นนำ 4 ใน 5 แห่งได้ใช้เทคโนโลยีที่ตรวจสอบข้อมูลทางชีวภาพของบุคคลนี้เพื่อให้ลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินกว่าสองพันล้านรายการต่อปีได้อย่างปลอดภัยบนเครื่องเอทีเอ็มของตน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีหลายโครงการของรัฐบาลในภูมิภาคนี้ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีข้อมูลชีวภาพของบุคคลเช่นกันและการที่ประชาชนทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ใช้เงินสดกันมากขึ้น ผลักดันให้ตลาดสมาร์ตการ์ดและเครื่องอ่านลายนิ้วมือเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะถึง 8.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 3 แสนล้านบาท) ในปี ค.ศ. 2022 (พ.ศ. 2565)
          แนวโน้มประการที่ 3 มีการใช้อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งต้องการเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีความต้องการการระบุอัตลักษณ์บุคคลเชิงดิจิทัลที่เชื่อถือได้ (trusted digital identities) ในทุก ๆ การเชื่อมเข้าสู่ระบบต่าง ๆ
          อุตสาหกรรมอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะจะเติบโตสูงมากและมีการใช้ตัวเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดและส่งข้อมูลเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการเร่งประสิทธิภาพของพนักงาน ตรวจสอบทรัพย์สิน ใช้เพื่อประหยัดพลังงานและความปลอดภัยของพนักงาน
          แนวโน้มการพัฒนาแบบนี้ทำให้การทำงานกับดิจิทัลกลายเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทและมีคุณค่าเป็นส่วนตัว และเปิดทางให้มีการพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่แบบใหม่ ๆ ให้มีความเป็นอัจฉริยะขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ได้
          แนวโน้มที่ 4 มีต้องการให้โซลูชั่นทางด้านความปลอดภัยและป้องกันความเป็นส่วนตัวที่ฝังอยู่ในทุก ๆ อุปกรณ์
          Gartner คาดการณ์ว่าในแต่ละวันของปีนี้จะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ กว่า 5.5 ล้านชิ้นเพิ่มเข้ามาเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ทำให้มีความต้องการเทคโนโลยีทางด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวให้ฝังอยู่ในอุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้นทั่วไปในตลาดต่าง ๆ ทั้งในด้านการชำระเงิน ตลาดการขนส่ง อุตสาหกรรม การอุปโภคบริโภคและการรักษาสุขภาพ เห็นได้จากตัวอย่างของ อาคาร CityPoint การที่จะบรรลุเป้าหมายสร้างความปลอดภัยให้ทุกสรรพสิ่ง (Security of Things) ทำได้เพียงใช้บัตร RFID ที่สามารถอ่านได้ง่ายด้วยการแตะกับสมาร์ทโฟน
          ตลาดการอ่านข้อมูลทางชีวภาพของบุคคลเพื่อระบุอัตลักษณ์ยังคงมีบทบาทที่สำคัญมากในการปกป้องความปลอดภัยในโลกที่มีการเชื่อมต่อมากขึ้น อุปกรณ์อ่านลายนิ้วมือเป็นเครื่องอ่านข้อมูลเชิงชีวภาพของบุคคลตัวหนึ่งที่สามารถเข้ารหัสได้อย่างชาญฉลาดและทนทานการงัดแงะซึ่งสนองแนวโน้มนี้จึงมีการเติบโตที่สูงในปัจจุบัน
          แนวโน้มที่ 5 การปรับปรุงนโยบายความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ปฏิบัติตามให้ทันสมัยและการนำตัวอย่างความสำเร็จชั้นเลิศขององค์กรอื่นมาปรับใช้ มีความสำคัญพอ ๆ กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
          ในอุตสาหกรรมความปลอดภัยยังคงมุ่งเน้นไปที่การมองหาเทคโนโลยีอะไรที่จะนำมาใช้และปรับใช้อย่างไร อย่างเช่น การที่สหรัฐอเมริกาจะนำอุปกรณ์มือถือมาใช้แสดงแทนใบขับขี่ จะต้องมีการสร้างระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน องค์กรที่ดูแลจะต้องทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายและขณะเดียวกันต้องป้องกันข้อมูลส่วนตัวได้อย่างรอบด้าน
          ยิ่งกว่าการมุ่งมองหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อป้องกันความปลอดภัยขององค์กร องค์กรต่าง ๆ ควรจะมองหาตัวอย่างความสำเร็จชั้นเลิศขององค์กรอื่นเพื่อมาปรับใช้ในระบบป้องกันความปลอดภัยทั้งระบบของตน ตัวอย่างความสำเร็จชั้นเลิศและนโยบายความปลอดภัยที่ประสบความสำเร็จมีความสำคัญพอ ๆ กันหรือยิ่งกว่าการใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยที่ล้ำหน้าในยุคที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้องค์กรทุกองค์กรเป็นองค์กรเสมือน (virtually any organization)
          ถ้าท่านต้องการข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มของความปลอดภัยโดยการระบุอัตลักษณ์บุคคล สามารถปรึกษาผู้บริหารของ HID Global โดยติดต่อคุณ Kraeng Tangchotika Senior Sales Manager - PACS, Thailand and IndoChina มือถือ +6689 455 0807 หรือ email : [email protected]
แนวโน้ม 5 ประการของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยโดยการระบุอัตลักษณ์บุคคล (Secure Identity)

ข่าวอิเล็กทรอนิกส์+นาฬิกาอัจฉริยะวันนี้

GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending Business

นายยงยุทธ ตะริโย (ที่ 2 จากขวา) ประธานกรรมการบริษัท (รักษาการ) และรองประธานกรรมการบริษัท นายอนุวัตร โกศล (ขวาสุด) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายปิตินันท์ ลีลาเมธวัฒน์ (ที่ 3 จากขวา) ประธานกรรมการตรวจสอบฯ บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ GCAP จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-AGM) ณ สำนักงานใหญ่ อาคารแอทสาทร ชั้น 19 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติทุกวาระตามที่คณะกรรมการเสนอ รวมถึงอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนโดยการออกหุ้นสามัญใหม่ 53,389,734 หุ้น

นายเสรี จินตนเสรี (แถวหน้าที่ 2 จากซ้าย) ... PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น — นายเสรี จินตนเสรี (แถวหน้าที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท ไพลอน ...

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (... NEX จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ — เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX ผู้นำในอุตสาหก...

นายบวร วงศ์สินอุดม ประธานกรรมการ, นายสืบพ... PRAPAT ผู้ถือหุ้นโหวตจ่ายปันผล "หุ้น-เงินสด" รวม 0.08 บ./หุ้น รับทรัพย์ 26 พ.ค. นี้ — นายบวร วงศ์สินอุดม ประธานกรรมการ, นายสืบพงศ์ เกตุนุติ ประธานบริษัท, ...

นายสุรพิทย์ กีรติบุตร ประธานกรรมการบริษัท... SNPS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติจ่ายปันผล 0.13 บาทต่อหุ้น — นายสุรพิทย์ กีรติบุตร ประธานกรรมการบริษัท รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษ...

ผศ.ดร.พูนศักดิ์ บุญสาลี (ซ้ายสุด) ประธานก... SAK จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (E-AGM) ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.15 บาทต่อหุ้น — ผศ.ดร.พูนศักดิ์ บุญสาลี (ซ้ายสุด) ประธานกรรมการบริหาร นางสมบูรณ์...