มอบดอกไม้แสดงความยินดีแด่ ท่านพรทิพย์ โรจน์ธำรงค์ รองเลขาธิการ สภาที่ปรึกษาฯ ในโอกาสเกษียณอายุราชการ 2559

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2559 เวลา 14.40 น. นายกฤษณ์สัมพันธ์ เมนะสูต อดีตรองเลขาธิการสภาปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนายทศพนธ์ นรทัศน์ ได้เข้ามอบดอกไม้แสดงความยินดีแด่ นางพรทิพย์ โรจน์ธำรงค์ รองเลขาธิการสภาที่ปรึกษาฯ ในโอกาสเกษียณอายุราชการ 2559 ณ ห้องรองเลขาธิการสภาที่ปรึกษาฯ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ท่าน พรทิพย์ โรจน์ธำรงค์ เคยดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กองบัญชีประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และเป็นข้าราชการในชุดบุกเบิก 19 คนแรก ที่มาร่วมกันดำเนินการจัดตั้ง "สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" ตามพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ซึ่งสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ เป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และมีฐานะเป็นกรมอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีภารกิจเกี่ยวกับการสนับสนุนกิจการของสภาที่ปรึกษาฯ
          ทั้งนี้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ท่านได้มุ่งมั่นทุ่มเทให้กับการทำงานในองค์กรแห่งนี้มาอย่างยาวนาน โดยได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ อาทิ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ ผู้อำนวยการสำนักกิจการสภาที่ปรึกษาฯ และรองเลขาธิการสภาที่ปรึกษาฯ จวบจนท่านจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 นี้
มอบดอกไม้แสดงความยินดีแด่ ท่านพรทิพย์ โรจน์ธำรงค์ รองเลขาธิการ สภาที่ปรึกษาฯ ในโอกาสเกษียณอายุราชการ 2559
 

มอบดอกไม้แสดงความยินดีแด่ ท่านพรทิพย์ โรจน์ธำรงค์ รองเลขาธิการ สภาที่ปรึกษาฯ ในโอกาสเกษียณอายุราชการ 2559
 

ข่าวกฤษณ์สัมพันธ์ เมนะสูต+พรทิพย์ โรจน์ธำรงค์วันนี้

กฤษณ์สัมพันธ์ เมนะสูต นักวิชาการอิสระอาวุโส เสนอความเห็น 4 ประเด็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559 นายกฤษณ์สัมพันธ์ เมนะสูต นักวิชาการอิสระอาวุโส ([email protected]) ได้เสนอความเห็น 4 ประเด็นต่อร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 2564) ได้แก่ (1) การส่งเสริมให้มีการใช้ยุทธศาสตร์การสื่อสาร เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว (2) การเพิ่มผลิตภาพของปัจจัยการผลิตในส่วนของการยกระดับแรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled Labor) ให้เป็นแรงงานฝีมือ (Skilled Labor) โดยการ