คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 มีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายกิติพงค์ พร้อมวงค์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ขึ้นเป็น เลขาธิการ สวทน. คนใหม่ แทนนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ที่ลาออก ไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำหรับนายกิติพงค์นั้น จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาชีวเคมี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักรและระดับปริญญาเอก ด้านการวิจัยเชิงพัฒนา ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน หลังเรียนจบ ได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักวิจัยนโยบายของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และเลื่อนเป็นผู้เชี่ยวชาญนโยบาย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามลำดับ และเมื่อมีการตั้ง สวทน.ในปี 2551 นายกิติพงค์ ก็ได้ข้ามฝั่งมารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิจัยและการจัดการนโยบาย ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิจัยและการจัดการนโยบาย ก่อนจะขึ้นสู่ตำแหน่ง รองเลขาธิการ สวทน. และที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เลขาธิการ สวทน. คนล่าสุด แทนนายพิเชฐ ที่ลาออกไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายกิติพงค์ ถือเป็นลูกหม้อของ สวทน. โดยแท้
สำหรับผลงานที่โดดเด่น ซึ่งนายกิติพงค์ ได้ร่วมผลักดันร่วมกับ นายพิเชฐ คือ โครงการเคลื่อนย้ายบุคลากรเข้าสู่ภาคเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือโครงการ ทาเลนท์ โมบิลิตี้ (Talent Mobility) โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ที่เพิ่งมีการลงนาม 35 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย รวมถึงโครงการใหญ่อย่างการสร้างเครือข่ายพัฒนากำลังคนและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ โดยมีความร่วมมือกันถึง 23 หน่วยงานนั้น นายกิติพงค์ก็เป็นกำลังหลักในการผลักดันเช่นเดียวกัน และยังอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ อีกมากมาย นับเป็นผู้ที่มีมุมมอง วิสัยทัศน์ และการปฏิบัติจริงในแนวทางการววิจัยและพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ในระดับนโยบายตัวจริง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ และศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ) ในการวิจัยและพัฒนาโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.วิ
วว. /จุฬาฯ /มทร.ล้านนา /ม.พายัพ /บริษัทไบโออัพฯ ร่วมรับรางวัลจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
—
วว. /จุฬาฯ /มทร.ล้านนา /ม.พายัพ /บริษัทไบโออัพฯ ร่วมรับรางวัลจ...
คลังความรู้ SciMath สสวท. พาหายสงสัย "น้ำท่วมอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่ ?"
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พาคลายข้อกังขากับบทคว...
วว. จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ …เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านการปกป้องดิน
—
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึ...
สสวท. ชวนครูเตรียมพร้อมรับเปิดเทอมกับ "ระบบจัดการเรียนรู้ออนไลน์ My IPST"
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนคุณครูเตรียมพร้อมรับเปิ...
FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
—
สถาบันเพิ่มผลผลิต...
สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น
—
สวทช. จับมือมูลนิธิ SO...
กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน
—
กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค...
สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...