นางวรีมน นิยมไทย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายพาณิชย์ธนกิจ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ธนาคารเดินหน้าจัดทำกลยุทธ์พาลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในการไปเปิดตลาดอาเซียน โดยขณะนี้ได้ทำงานร่วมกันกับเครือข่ายของกลุ่มซีไอเอ็มบีในประเทศต่างๆอย่างใกล้ชิด เริ่มตั้งแต่กลยุทธ์ในภาพใหญ่ ไล่ลงมาจนถึงการแบ่งปันฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้ธนาคารเข้าไปนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินแก่ลูกค้าเอสเอ็มอีด้วยความเข้าใจ
"หัวใจคือ ความเข้าใจในความต้องการของลูกค้า ส่วนจุดแข็งคือการพาเขาไปเปิดตลาดได้คล่องตัวและง่ายขึ้น ด้วยเครือข่ายอันแข็งแกร่งของซีไอเอ็มบีกรุ๊ปทั่วอาเซียน เรากำลังสื่อสารตรงนี้ออกไปให้ลูกค้ารับรู้ ว่าถ้าธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คือ ประตูสู่อาเซียน แต่ช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ก็เริ่มเห็นลูกค้าเอสเอ็มอีที่สนใจขยายการลงทุนไปต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนนักลงทุนที่อยากเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งตอนนี้ธนาคารกำลังพัฒนาระบบและกระบวนการทำงานที่จะพาลูกค้าเชื่อมโยงเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้ง่ายขึ้น โดยตั้งเป้าหมายจะเปิดตัวในปลายปีนี้" นางวรีมน กล่าว
สำหรับความร่วมมือระหว่างเครือข่ายธนาคารสมาชิกในอาเซียนของกลุ่มซีไอเอ็มบีนั้น นับเป็นข้อได้เปรียบในการให้บริการ อาทิ ธนาคารเต็มรูปแบบในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา ช่วยอำนวยความสะดวกแก่บริษัทไทยที่ไปลงทุน รวมถึงบริษัทในไทยที่ทำการค้า นำเข้า-ส่งออก ทั้งการเปิดบัญชี การทำธุรกรรมโอนเงินและชำระเงิน การเข้าไปเป็นพันธมิตรกับบริษัทท้องถิ่น ตลอดจนการเป็นพันธมิตรของธนาคารท้องถิ่นของธนาคารซีไอเอ็มบีเอง และล่าสุดคือ การเป็นตัวแทนให้บริการเงินสกุลบาท-ริงกิต เต็มรูปแบบ ระหว่างไทยและมาเลเซีย
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายพาณิชย์ธนกิจ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ธนาคารให้ความสำคัญกับลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งเอสเอ็มอีรายใหญ่ รายกลางและรายเล็ก ปัจจุบัน ธนาคารแบ่งกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ยอดขายไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี กลุ่ม 2 ยอดขาย 100-1,000 ล้านบาทต่อปี และกลุ่ม 3 ยอดขาย 1,000-3,000 ล้านบาทต่อปี การแบ่งดูแลลูกค้าตามขนาดช่วยให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น
สำหรับแนวโน้มธุรกิจเอสเอ็มในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ยังเห็นโอกาสเติบโตได้ จากปัจจัยบวกคือโครงการลงทุนภาครัฐที่กำลังเดินหน้า เสริมด้วยมาตรการกระตุ้นการลงทุนที่รัฐบาลมีแผนออกมาต่อเนื่อง
นอกจากนี้ พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 2 ก.ค. นี้ เป็นปัจจัยสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของลูกค้าเอสเอ็มอี การนำทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากที่ดิน โรงงาน มาเป็นหลักประกันกู้เงิน ช่วยให้ขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
ยกตัวอย่าง ลูกค้าที่มีศักยภาพ มีแบรนด์ที่เป็นที่รู้จัก มีทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงทรัพย์สินข้าวของในร้าน ทุกอย่างเหล่านี้ สามารถนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงินได้ จากเดิมไม่สามารถทำได้ จะได้เห็นมีลูกค้าขอกู้เงินได้มากขึ้น เพราะเดิมหลักประกันเป็นปัญหาสำคัญที่คู่กับเอสเอ็มอีมาโดยตลอด
อนึ่ง ธนาคารตั้งเป้าหมายเติบโตสินเชื่อไว้ที่ 6-8%
บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย หนึ่งในผู้นำธุรกิจประกันชีวิต ผนึกกำลัง ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) ("ซีไอเอ็มบี ไทย") ภายใต้การบริหารงานของกลุ่มซีไอเอ็มบี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการทางด้านการเงินชั้นแนวหน้าของภูมิภาคอาเซียน ประกาศความร่วมมือเป็นพันธมิตรเพื่อขยายธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ในประเทศไทย โดยจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการประกันชีวิตของพรูเด็นเชียล ทั้งในด้านสุขภาพรวมถึงการสร้างความมั่งคั่ง ให้แก่ลูกค้าของซีไอเอ็มบี ไทย
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สานต่อวัฒนธรรม "งดการให้และการรับของขวัญ" ตามนโยบาย No Gift Policy อย่างต่อเนื่อง
—
นายเศรษฐจักร ลียากาศ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กำก...
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สานต่อวัฒนธรรม "งดการให้และการรับของขวัญ" ตามนโยบาย No Gift Policy อย่างต่อเนื่อง
—
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) สานต่อวัฒนธร...
ซมโปะ ประกันภัย ร่วมกับ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย นำทีมพนักงานจิตอาสาฟื้นฟูระบบนิเวศ ในโครงการปลูกป่าชายเลน ปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง
—
บริษัท ซมโปะ ประกันภัย ...
''ซีพี ออลล์' พร้อมเสนอขายหุ้นกู้ 3 รุ่น ให้กับประชาชนทั่วไป ชูดอกเบี้ย [3.00-4.10]% ต่อปี คาดเสนอขายวันที่ 11 และ 14-15 มิถุนายน นี้
—
"ซีพี ออลล์" ผู้บร...
ครั้งแรกของการร่วมมือระหว่างธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย และ GB Prime Pay ผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
—
ครั้งแรกของการร่วมมือระหว่างธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย...