เกาะติดโครงการมาตรการช่วยภัยแล้ง สตูล-ยะลา สศท.9 เผย เกษตรกรได้รับค่าจ้างเฉลี่ย 3,202 บ./คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 ติดตามผลโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 2558/59 ในมาตรการที่ 4 พื้นที่จังหวัดสตูล และยะลา ระบุ เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่าโครงการเกิดจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ช่วยสร้างรายได้ช่วงผลผลิตตกต่ำ โดยเกษตรกรได้รับค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 3,202 บาทต่อคน ส่วนใหญ่นำเงินไปลงทุนทางการเกษตรต่อ และ นำไปใช้จ่ายอุปโภคบริโภคตามลำดับ 
          นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา (สศท.9) ได้ติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 2558/59 (ช่วงที่1) ในมาตรการที่ 4 การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชน ซึ่งเป็นการประเมินระหว่างการดำเนินโครงการใน 2 จังหวัด คือ สตูล และ ยะลา ลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 15 พฤษภาคม 2559 พบว่า 
          ด้านการจ้างงาน ส่วนใหญ่จ้างแรงงานจากภายในชุมชน ตั้งแต่ 15 ถึง 60 คน ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ เช่น โครงการเพาะเห็ดนางฟ้า หมู่ที่ 1 ต.เกตรี อ.เมืองสตูล จ.สตูล และกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ 8 ต.ฉลุง อ.เมืองสตูล จ.สตูล รวมทั้งโครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย ต.พร่อน อ.เมืองยะลา จ.ยะลา เป็นต้น โดยจำนวนวันจ้างแรงงานต่อโครงการฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 11 วัน/ราย ค่าจ้างประมาณวันละ 300 บาท เกษตรกรได้รับค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 3,202 บาท/คน/โครงการ โดยมีการจ่ายทั้งแบบทยอยจ่ายเป็นงวดๆ และจ่ายในคราวเดียวหลังงานเสร็จ เมื่อได้รับเงินค่าจ้างแล้วเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 44 นำเงินไปลงทุนทางการเกษตร รองลงมา คือ นำไปใช้อุปโภค-บริโภค นำไปเก็บออม ใช้เป็นค่าเล่าเรียนบุตร และนำไปชำระหนี้ ร้อยละ 40 ร้อยละ 9 ร้อยละ 7 และ ร้อยละ 0.74 ตามลำดับ
          นอกจากนี้ เกษตรกรร้อยละ 96 เห็นว่าโครงการฯ มีประโยชน์มาก โดยร้อยละ 59 มีความพึงพอใจต่อค่าจ้างที่ได้รับอยู่ในระดับมาก เนื่องจากทำให้มีรายได้ในช่วงว่างงาน รองลงมาร้อยละ 20 มีความพึงพอใจมากที่สุด และร้อยละ 16 มีความพึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 4.08 มีความพึงพอใจน้อย ตามลำดับ
          ทั้งนี้ เกษตรกรเห็นว่า โครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่ดี เพราะเกิดจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ส่งผลกระทบต่อคนในชุมชนรวมทั้งเยาวชนที่ว่างงานทำให้มีงานทำเกิดรายได้ในช่วงราคาผลผลิตตกต่ำ สำหรับข้อเสนอแนะ ควรมีการบูรณาการในระดับหน่วยงานอย่างจริงจัง ตลอดจนอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน ทั้งยังช่วยต่อยอดโครงการต่อไปในอนาคต


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

'แปลงใหญ่มะม่วงส่งออกหนองแซง' จ.กาฬสินธุ์ ส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพสร้างรายได้กลุ่มปีละ 4 ล้านบาท

นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มมะม่วงส่งออกหนองแซง หมู่ที่ 9 ตำบลสำราญ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการผลิตและแปรรูปมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ได้รับการรับรองมาตรฐานแหล่งแปรรูปตามมาตรฐาน GMP และได้รับมาตรฐาน อย. ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้างความมั่น

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐ... 'ปลานิล' สินค้าเกษตรทางเลือก จ.นครราชสีมา เสริมรายได้เกษตรกร แนะแปรรูปเพิ่มมูลค่า — นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (...

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐก... สศท.8 โชว์ "กลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์" จ.ชุมพร แปรรูปกาแฟโรบัสต้า สร้างกำไรกลุ่มปีละ 21 ล้านบาท — นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุร...

นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวย... สศท.7 โชว์แปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ศกอ. จ.สุพรรณบุรี ดึงเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต — นางสาวสมบัติ พุทธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจกา...