ธุรกิจบัณฑิตย์โพล เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญยังคงคลุมเครือ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนทั่วประเทศจำนวน 1,705 คน โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 – 27 กรกฎาคม 2559 ผลปรากฏว่า
ประชาชนที่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ร้อยละ 13.35 ได้อ่านฉบับสรุปย่อสาระสำคัญ ร้อยละ 34.57 และ ยังไม่ได้อ่านเลย มีถึงร้อยละ 52.08 โดยในจำนวนประชาชนที่อ่านร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เข้าใจในเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ มีร้อยละ 77.0 ที่เหลืออีกร้อยละ 23.0 ยังไม่เข้าใจ
สำหรับเรื่องการออกไปลงประชามติของประชาชนนั้น พบว่า จะออกไปลงประชามติแน่นอน ร้อยละ 57.10 จะไม่ออกไปลงประชามติ ร้อยละ 13.67 และที่เหลืออีกร้อยละ 29.23 ยังแน่ใจว่าจะไปหรือไม่ ซึ่งในจำนวนคนที่คิดว่าจะออกไปลงประชามติแน่นอนนั้น จะตัดสินใจเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 35.52 จะตัดสินใจไม่เห็นชอบ ร้อยละ 17.43 และร้อยละ 47.05 ยังคงไม่แน่ใจ
นอกจากนั้นธุรกิจบัณฑิตย์โพลได้มีการถามอีกด้วยว่า "ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี" ซึ่งผลปรากฏว่ามีผู้ตอบ เห็นชอบกับหลักการนี้ ร้อยละ 42.37 และไม่เห็นชอบ ร้อยละ 27.82 ที่เหลือคือคนที่ยังไม่แน่ใจในหลักการดังกล่าว
สำหรับเนื้อหาที่ประชาชนที่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้ความสนใจ เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ เรื่อง 1) การคอร์รัปชั่น ร้อยละ 24.19 2) การเมือง ร้อยละ 17.96 3) เศรษฐกิจ ร้อยละ 17.83 4) คุณภาพชีวิต การรักษาพยาบาล ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินร้อยละ 16.96 5) การศึกษา ร้อยละ 14.21 6) ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพ ร้อยละ 8.35 และ 7) อื่นๆ ร้อยละ 0.50
นอกจากนั้นประชาชนที่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว ยังเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำให้ประเทศพัฒนาต่อไปได้ร้อยละ 37.02 ประชาชนเห็นว่าพัฒนาต่อไม่ได้ ร้อยละ 12.12 และ ร้อยละ 50.86 ยังคงไม่แน่ใจ ซึ่งประเด็นที่เห็นว่าสามารถพัฒนาได้มากที่สุดคือ 1) การคอร์รัปชั่น ร้อยละ 24.75 2) เศรษฐกิจ ร้อยละ 21.88 3) คุณภาพชีวิต การรักษาพยาบาล ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 14.87 4) การศึกษา ร้อยละ 13.60 5) การเมือง ร้อยละ 13.32 6) ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพ ร้อยละ 10.10 และ 7) อื่นๆร้อยละ 1.48
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือประชาชน ให้ความคิดเห็นว่าจะทำให้ความขัดแย้งลดลง คิดเป็นร้อยละ 53.30 และในขณะที่คิดว่าไม่ทำให้ความขัดแย้งลดลง คิดเป็นร้อยละ 46.70
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท 4 หลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ( Artificial Intelligence) ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม หลักสูตรทั้งหมดออกแบบเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการ Upskill และ Reskill เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและองค์กรในยุคดิจิทัล ผศ.ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ 'ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568' ปีที่ 7
—
CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ 'ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568' ปีที่ 7 หนุน...
วิทยาลัยนานาชาติ DPU เปิดหลักสูตรใหม่ 'ภาษาตะวันออกเพื่อธุรกิจ' ญี่ปุ่น-เกาหลี ตั้งเป้าผลิตบัณฑิตป้อนสู่ตลาดแรงงานระดับนานาชาติ เปิดรับสมัครแล้ววันนี้!!
—
วิทยาลัยนาน...
คณะการท่องเที่ยวฯ DPU จัดเวทีประชัน "HT MAKEUP GRAND COMPETITION 2025" ปี 2 เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการแต่งหน้าเสริมบุคลิกภาพให้นักศึกษา
—
คณะการท่องเที่ย...
CIBA DPU ลงนามความร่วมมือกับ ฟอร์ท คอร์ปฯ เจ้าของแบรนด์ดัง "เต่าบิน" เปิดประตูสู่การฝึกงานด้านนวัตกรรม พร้อมโอกาสร่วมงานในอนาคต
—
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย...
CADT DPU เผย บทสรุปเวทีสัมมนา "เส้นทางสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบินของไทย" ความร่วมมือจาก 4 ภาคส่วนคือกุญแจสู่ Net Zero
—
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้า...
CADT DPU ร่วมกับ ชสบ. จัดสัมมนา "SDGs in Thailand Aviation Industry Forum : เส้นทางสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการบินของไทย"
—
18 มี.ค.นี้ ที่ ห้องประชุมเฉ...
คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ชวน "ย้อนรอยวังบูรพา" ผ่าน Walking Tour จากศูนย์กลางความบันเทิง สู่มรดกประวัติศาสตร์พระนคร
—
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลั...