ปวดข้อนิ้วมือเรื้อรัง...ระวังเป็นโรครูมาตอยด์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          อาการปวดข้อนิ้วมือเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยไม่แพ้อาการปวดข้อเข่า หรือปวดหลัง ซึ่งสาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากหลายอย่าง ทั้งที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อ เช่น เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของข้อนิ้วมือเอง ได้แก่ ข้ออักเสบ และข้อนิ้วเสื่อม โรคข้ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับบริเวณข้อนิ้วมือมีหลายโรค แต่โรคที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง คือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสที่ข้อจะถูกทำลาย กระดูกกร่อน และตามมาด้วยข้อผิดรูปหรือพิการได้ 
          โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตราส่วน 8:1 สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น จนถึงวัยสูงอายุ ปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องและทำให้เกิดโรค รวมทั้งกรรมพันธุ์ การติดเชื้อ การสูบบุหรี่ และปัจจัยจากสภาพแวดล้อมบางอย่าง 
          อาการสำคัญของผู้ป่วยคือปวดข้อและมีข้ออักเสบเรื้อรังที่ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะที่บริเวณข้อนิ้วมือ และข้อมือ แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีข้ออักเสบได้ทุกข้อทั่วทั้งร่างกาย รวมทั้งข้อไหล่ ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า ข้อที่มีการอักเสบจะมีลักษณะกดเจ็บ บวม แดง อุ่นหรือร้อน เมื่อขยับหรือใช้งานจะมีอาการปวด เวลาตื่นนอนตอนเช้าผู้ป่วยมักจะมีอาการข้อฝืด ตึง แข็ง ขยับได้ลำบาก ( morning stiffness) ต้องใช้เวลาสักพักจึงจะขยับข้อได้ดีขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วยได้ ธรรมชาติของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีการทำลายกระดูกอ่อนที่บุผิวข้อ ทำให้ในระยะยาวเกิดการทำลายข้อ กระดูกกร่อน ข้อผิดรูป ส่งผลต่อการใช้งาน หรืออาจก่อให้เกิดความพิการ 
          นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจมีอาการในระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ภาวะซีด ตาอักเสบ ปอดอักเสบมีพังผืด เส้นเลือดฝอยอักเสบ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ และกระดูกต้นคอกดทับไขสันหลัง เป็นต้น การวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยทั้งประวัติ การตรวจร่างกาย การถ่ายภาพรังสี ( x-ray) การตรวจเลือดหาค่ารูมาตอยด์ ( rheumatoid factor) และแอนติบอดี้ที่จำเพาะต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ( anti-CCP) ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยแล้วผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องด้วยการใช้กลุ่มยาต้านโรครูมาติก ( disease-modifying antirheumatic drugs ; DMARDs) เพื่อลดการอักเสบของข้อ ช่วยชะลอและป้องกันการทำลายข้อได้ในระยะยาว 
          เป้าหมายในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในปัจจุบัน คือมุ่งหวังที่จะให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ปวดข้อ ทำงานได้เป็นปกติ และลดโอกาสเกิดข้อพิการ ซึ่งการรักษาจะประสบความสำเร็จได้ถ้าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 1 ปีแรกที่เริ่มมีอาการ ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดข้อ หรือสังเกตเห็นข้อบวม แดง อุ่นหรือร้อน โดยเฉพาะที่บริเวณข้อนิ้วมือ และข้อมือ หรือมีอาการข้อฝืด ตึง แข็งเวลาตื่นนอนในตอนเช้า ถึงแม้จะเป็นมาไม่นานควรจะรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยแลรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
ปวดข้อนิ้วมือเรื้อรัง...ระวังเป็นโรครูมาตอยด์
 

ข่าวโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์+โรงพยาบาลเวชธานีวันนี้

แพทย์จีนแนะนำปรับสมดุลชีวิตเมื่อเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ในการแพทย์แผนจีนโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะสามารถจัดอยู่ในกลุ่มโรค "?? Wang bi"หรือ "?? Wan bi" "??? Li Jie Feng" ซึ่งจัดเป็นโรคปวดข้อที่รักษาได้ยาก โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคทางระบบภูมิคุ้มกัน ที่มีการดำเนินของโรคค่อนข้างยาวนาน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด และยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ โดยการใช้ยาแผนปัจจุบันมักใช้กลุ่มยาประเภทยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) สเตียรอยด์ และสารชีวภาพ เพื่อลดอาการเจ็บปวดของข้อที่อักเสบ และควบคุมการดำเนินของโรค ซึ่งต้องระวังผลข้างเคียงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด

เมนารินี เอเชีย-แปซิฟิก ลงนามข้อตกลงร่วมกับแอสเทลลัส ขึ้นแท่นผู้จำหน่ายยาสไมราฟแต่เพียงผู้เดียวในตลาดไต้หวันและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางแห่ง

เมนารินี เอเชีย-แปซิฟิก (Menarini Asia-Pacific) ได้ลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเด็ดขาดระยะยาวร่วมกับแอสเทลลัส ฟาร์มา อิงค์ (Astellas Pharma Inc.) หรือ แอส...

ก็เพราะว่า!.. วิตามินดีเป็นหนึ่งในสารอาหา... ทำไม?... ถึงไม่ควรให้เด็กขาด "วิตามินดี" — ก็เพราะว่า!.. วิตามินดีเป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นมากที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของเด็ก มีส่วนช่วยใน...

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยจัดเสวนา เข้... ภาพข่าว: สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเรียนรู้ สู้รูมาตอยด์ แบบเจาะลึก — สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยจัดเสวนา เข้าใจ เรียนรู้ สู้รูมาตอยด์ แบบเจ...

Zydus เปิดตัวชีววัตถุคล้ายคลึง Adalimumab ตัวแรกของโลก

การเข้าถึงการรักษาด้วยชีววัตถุคล้ายคลึงชนิดนี้จะช่วยพลิกชีวิตผู้ป่วยถึง 12 ล้านคนในอินเดียที่ต้องทนทุกข์จากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน และโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด...

Coherus ประกาศเริ่มต้นการทดลองขั้นที่ 3 ของการใช้ยา CHS-0214 (ชีววัตถุคล้ายคลึง Etanercept) รักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเรื้อรัง

Coherus ผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้ความร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจยาชีววัตถุของ Baxter International Coherus BioSciences, Inc. ประกาศเริ่มต้นการทดลองขั้นที่ 3 ของการใช้ยา CHS...

Coherus ประกาศเริ่มต้นการทดลองขั้นที่ 3 ของการใช้ยา CHS-0214 (ชีววัตถุคล้ายคลึง Etanercept) รักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

Coherus ผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้ความร่วมมือกับ Daiichi Sankyo และ Baxter Coherus BioSciences, Inc. ประกาศเริ่มต้นการทดลองขั้นที่ 3 ของการใช้ยา CHS-0214 ซึ่ง...