เปิด “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 59” พร้อมกัน 5 ภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “โลกแห่งการสื่อสาร”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า "ในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์มีความสำคัญกับคนในทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่ในเด็กปฐมวัย เพราะวิทยาศาสตร์คือพื้นฐานของการเรียนรู้ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงเป็นก้าวสำคัญในการสร้างเยาวชนของชาติให้รู้จักการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในขั้นพื้นฐาน ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ เราได้ส่งเสริมให้โรงเรียนระดับปฐมวัยในสังกัดเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล โดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมกันสร้างพื้นฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กไทย ให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ โดยการรู้จักช่างสังเกต ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะให้นักเรียนเหล่านี้เติบโตขึ้นเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ หรือเป็นกำลังสำคัญในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต" รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว 
          ด้าน นายสาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพการจัดงานในส่วนของภาคกลางว่า "กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีภารกิจหลักในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ รวมทั้งการสื่อสารเผยแพร่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ใน สาขาต่าง ๆ สู่สังคม เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้การวางรากฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กตั้งแต่วัยเยาว์จึงมีความสำคัญยิ่ง ในการปลูกฝังเด็กให้เติบโตไปพร้อมกับวิทยาศาสตร์ โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย" จึงถือว่าเป็นเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็ก รู้จัก เข้าใจ และสามารถนำประโยชน์จากการเรียนรู้นี้ไปดำเนินชีวิตต่อไปในสังคมได้ ซึ่ง อพวช. ก็ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย" ที่พร้อมส่งเสริมให้เด็กในวัยอนุบาล (3 – 6 ปี) ได้เริ่มเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ เพราะหากเราปลูกฝังความรักความประทับใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก ก็จะง่ายต่อการพัฒนากระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งในแต่ละปีจะเห็นว่า "เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย" จะหยิบยกเรื่องราวที่อยู่ใกล้ตัวมาให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ทำกิจกรรมที่สามารถเข้าใจได้ง่ายและรู้สึกสนุกที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง โดยในปีนี้ อพวช. ยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่ในการจัดกิจกรรมฯ โดยจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม นี้ ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี อพวช.
          คุณสุวดี จงสถิตย์วัฒนา ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด รองประธานกรรมการ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เปิดเผยว่า "โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นโครงการที่เราจัดกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เราได้ตระหนักถึงปัญหาของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ที่ผ่านมาซึ่งไม่ได้รับการพัฒนาทักษะอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้ปัจจุบันเกิดการขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้ทำการศึกษาโครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในประเทศเยอรมนี จากมูลนิธิ "Haus der Kleinen Forscher" (หรือ มูลนิธิบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย) และได้นำโครงการดังกล่าวมานำร่องเป็นต้นแบบในประเทศไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเยาวชน เป้าหมายสำคัญเพื่อปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ และเอกชน 8 หน่วยงาน ได้แก่ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กลุ่มบริษัท บี.กริม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
          ปัจจุบันได้ดำเนินโครงการเข้าสู่ปีที่ 6 ซึ่งได้ขยายผลสู่กว่า 15,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ผ่านผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น 220 แห่ง โดยมีกิจกรรมอบรมครู พัฒนาสื่อการเรียนการสอน และทำกิจกรรมสู่กลุ่มครอบครัว ในปีนี้เราจัดกิจกรรมภายใต้หัวข้อ "โลกแห่งการสื่อสาร" เพราะการสื่อสารเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของเรา การสื่อสารในสังคมดิจิตัลยังเป็นเรื่องที่ซับซ้อนสำหรับเด็ก เราจึงจัดกิจกรรมสร้างประสบการณ์ด้านการสื่อสารให้ครูและเด็กได้ตั้งคำถาม ฝึกการสังเกตและหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ฐานประกอบด้วย 1.เรื่องการสื่อสาร การฟัง การมองเห็นและการรับรู้ด้วยความรู้สึก : กิจกรรม รูปหน้ายิ้มแบบต่างๆ (Emoticon)และกิจกรรมการแสดงประกอบท่าทาง 2.เรื่องภาพวาด รหัสและสัญลักษณ์ : กิจกรรมมองมาทางนี้สิ ,สิ่งนี้แหละที่ฉันชอบ และกิจกรรมตัวอักษรจากการกด 3.เรื่องจากที่นี่ถึงที่นั่น : กิจกรรมไปรษณีย์ของเราเอง (จรวดลูกโป่ง) 4.เรื่องการติดต่อสื่อสารยุคดิจิทัล : กิจกรรมการระบายสีตามรหัส โดยจากฐานกิจกรรมเด็กๆ จะได้เรียนรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสารที่หลากหลายสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นทักษะที่โครงการฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์"
นอกจากนี้ ในปีนี้ยังมีการจัดงานเปิดตัวพร้อมกันอีกใน 4 ภูมิภาคต่างๆ ดังนี้ 1.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดบึงกาฬ ดำเนินงานโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.ภาคตะวันออก ณ จังหวัดสระแก้ว ดำเนินงานโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3.ภาคเหนือ ณ จังหวัดน่าน ดำเนินงานโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 4.ภาคใต้ ณ จังหวัดสตูล ดำเนินงานโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
          ทั้งนี้จึงอยากจะขอเชิญชวนโรงเรียนอนุบาล และศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ มาเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวฯ สำหรับผู้สนใจ สามารถดูรายละเอียด และดาวน์โหลดเนื้อหา คู่มือการจัดกิจกรรมได้ในเว็บไซต์www.littlescientistshouse.com และ www.nsm.or.th
เปิด “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 59” พร้อมกัน 5 ภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “โลกแห่งการสื่อสาร”
 
เปิด “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 59” พร้อมกัน 5 ภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “โลกแห่งการสื่อสาร”
เปิด “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 59” พร้อมกัน 5 ภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “โลกแห่งการสื่อสาร”
เปิด “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 59” พร้อมกัน 5 ภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “โลกแห่งการสื่อสาร”
 


ข่าวเทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย+บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยวันนี้

งานเทศกาลบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประจำปี 2560

งานเทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประจำปี 2560 กิจกรรมปลูกฝังการเป็นนักวิทย์ปฐมวัย ภายใต้แนวคิด "บ้านแห่งอนาคต" มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ (มศว.) และกลุ่มบริษัท บี.กริม จัดงาน "เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประ

ไทยพีบีเอส เปิดประสบการณ์วิทยาศาสตร์และเท... ไทยพีบีเอส ยกทัพ ความรู้ ความสนุก ร่วมงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567” — ไทยพีบีเอส เปิดประสบการณ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับน้อ...

บี.กริม ร่วมส่งมอบคุณค่าแก่สังคม ผ่านโครง... บี.กริม ร่วมส่งมอบคุณค่าแก่สังคม ผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เดินหน้าส่งเสริมความรู้ด้าน STEM แก่นักเรียนกว่า 160,850 คน — บี.กริม ร่วมส่งมอบคุณค่าแ...

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพร... สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงานสัมมนาวิชาการ "ครบรอบ 10 ปี โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย กับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" — สมเด็จพระกน...

เริ่มแล้วงาน "เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย... เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย จัดใหญ่ 4 ภูมิภาค เปิดพื้นที่ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้วิทย์ — เริ่มแล้วงาน "เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประจำปี 2562" ภายใต้หัวข้อ...

เริ่มแล้วงาน "เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย... เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ปีที่ 9 จัดใหญ่ 4 ภูมิภาค เปิดพื้นที่ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้วิทย์ — เริ่มแล้วงาน "เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประจำปี 2562" ภายใ...

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และ กลุ่ม ... งานเทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประจำปี 2560 — มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และ กลุ่ม บริษัท บี.กริม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย...

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับ กร... ก้าวสู่ปีที่ 7 "เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประจำปี 2560" ภายใต้แนวคิด บ้านแห่งอนาคต — มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์...

พร้อมกัน 5 ภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ "โลกแห่งก... งาน “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 59” — พร้อมกัน 5 ภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ "โลกแห่งการสื่อสาร" มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับ กระทรวงว...