นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. ได้ชี้แจงว่าตามที่ปรากฏข่าวในสื่อสาธารณะวิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. ในทำนองว่า
๑. สำนักงานป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระของไทย ถูกจัดอับดับอยู่อันดับที่ 12 ท้ายสุดในเอเชีย ตามรายงานขององค์กร PERC ทำให้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นจากนานาชาติ
๒. สำนักงาน ป.ป.ช. จ้องดำเนินคดีทุจริตกับฝ่ายพรรคเพื่อไทย แต่ละเลยคดีของพรรคประชาธิปัตย์
๓. สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ค่าคะแนนคุณธรรมและความโปร่งใส ปี ๒๕๕๙ (ITA) ๗๓.๕๒ คะแนน อยู่ลำดับที่ ๑๐๐ ยังไม่โปร่งใสเท่าที่ควร
สำนักงาน ป.ป.ช. ขอชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
ประเด็นที่ 1 กรณีถูกจัดอับดับอยู่อันดับที่ 12 ท้ายสุดในเอเชีย ตามรายงานขององค์กร PERC
ขอเรียนว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเก่าเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๗ ซึ่งจากการจัดอันดับองค์กรอิสระด้านตรวจสอบการทุจริต ของ PERC ไทยอยู่อันดับที่ ๑๒ จาก ๑๖ ประเทศ แต่ต่อมาในเดือนเมษายน ๒๕๕๘ PERC รายงานว่าองค์กรอิสระด้านตรวจสอบการทุจริตของไทยอันดับดีขึ้น โดยอยู่อันดับที่ ๑๐ จาก ๑๖ ประเทศ เรียงตามลำดับดังนี้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง มาเก๊า สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ไทย จีน ฟิลิปปินส์ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียตนาม
ประกอบกับจากผลสำรวจขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ประเทศไทยได้ค่าคะแนนดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ปี 2558 ที่ประกาศเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 ได้ 38 คะแนน ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 8 แหล่งข้อมูล ที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ นำไปใช้ประกอบการให้คะแนนและจัดอันดับ พบว่าประเทศไทย ได้คะแนนเพิ่มขึ้นถึง 3 แหล่งข้อมูล ซึ่งหนึ่งในสามแหล่งข้อมูลที่ไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้น คือ แหล่งข้อมูล PERC ไทยได้ 42 คะแนน สูงขึ้นจากปีที่แล้ว 7 คะแนน (ปี ๒๕๕๗ ได้ ๓๕ คะแนน) ดังนั้น จากข้อมูลของ PERC ไทยจึงมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ PERC เก็บข้อมูลจากการสำรวจความเห็นของนักธุรกิจในท้องถิ่นและนักธุรกิจชาวต่างชาติที่เข้าไปทำงานหรือประกอบธุรกิจในไทยเกี่ยวกับระดับปัญหาการทุจริตว่ามีภาพลักษณ์อย่างไรเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สำหรับแหล่งข้อมูลที่ไทยได้คะแนนเท่าปีที่ผ่านมา มี ๔ แหล่งข้อมูล และได้คะแนนลดลงมีเพียง ๑ แหล่งข้อมูล
นอกจากนี้ เมื่อดูผลการสำรวจความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อสำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจจากประชากร จำนวน 2,400 คน เป็นภาคประชาชน 50.9 % ผู้ประกอบการ/ภาคเอกชน 20 % และข้าราชการ/ภาครัฐ 25.1% จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ปรากฏว่า
- ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อสำนักงาน ป.ป.ช.และองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ด้านการต่อต้าน
การทุจริต ได้คะแนน 5.71 จาก 10 ซึ่งนับว่าสูงที่สุด 6 รอบการสำรวจที่ผ่านมา
- ประชาชนไม่สามารถที่จะทานทนต่อการทุจริต ซึ่งผลการสำรวจได้ค่าคะแนน 2.48 (คะแนน 0 = ไม่สามารถทนได้ คะแนน 10 = สามารถทนได้) รวมถึงผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพล (Master Poll) เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๙
เรื่อง ประสบการณ์ของแกนนำชุมชนต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างแกนนำชุมชน จำนวน 1,076 ตัวอย่าง จากจังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ได้ให้คะแนนผลการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (จากคะแนนเต็ม 10) พบว่ารัฐบาลได้คะแนนในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน 8.31 คะแนน ขณะที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ 8.12 คะแนน และสำนักงาน ป.ป.ท. ได้ 7.99
ประเด็นที่ ๒ สำนักงาน ป.ป.ช. จ้องดำเนินคดีทุจริตกับฝ่ายพรรคเพื่อไทย แต่ละเลยคดีของพรรคประชาธิปัตย์
ขอเรียนว่าการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยึดถือตามพยานหลักฐาน ไม่กลั่นแกล้งใคร และไม่ช่วยเหลือใคร ทั้งนี้เมื่อดูข้อมูลคดีโดยภาพรวมที่ผ่านมาของทั้งสองฝ่าย จะเห็นได้ว่า คดีของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดและมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไปในหลายคดี ตัวอย่างคดีที่ให้ข้อกล่าวหาตกไป เช่น (๑) กรณีคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จ่ายเงินประกันตัวผู้ต้องขังคดีอาญาที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองโดยไม่มีอำนาจและไม่มีกฎหมายรองรับ (๒) กรณีคณะรัฐมนตรีร่วมกันลงมติพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ (3) กรณีกล่าวหานายภูมิธรรม เวชยชัย เอื้อประโยชน์ให้บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด เป็นต้น ขณะที่คดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติทั้งชี้มูลความผิด ได้แก่ ชี้มูลนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กรณีแทรกแซงการปฏิบัติราชการของกระทรวงวัฒนธรรม (คดีถอดถอน) และให้ข้อกล่าวหาตกไป หลายคดีเช่นเดียวกัน
ประเด็นที่ ๓ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ค่าคะแนนคุณธรรมและความโปร่งใส ปี ๒๕๕๙ (ITA) ๗๓.๕๒ คะแนน อยู่ลำดับที่ ๑๐๐ ยังไม่โปร่งใสเท่าที่ควร
ขอเรียนว่า การวัดคุณธรรมและความโปร่งใสในระบบราชการ (ITA) มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจหน่วยงานของรัฐว่ามีมาตรฐาน คุณธรรมและความโปร่งใสในระดับใด ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานนั้นๆ ไปพิจารณาประเด็นที่มีค่าคะแนนน้อย เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่ได้รับค่าคะแนนน้อย จะต้องปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้น เพื่อคุณธรรมและความโปร่งใสในภาพรวมของประเทศจะดีขึ้น และได้รับการยอมรับจากสากล สำหรับสำนักงาน ป.ป.ช. สังคมอาจจะมองเรื่องความโปร่งใสเกี่ยวกับการขอข้อมูลหรือเปิดเผยข้อมูลทางคดี อันนี้จึงอาจเป็นจุดที่ทำให้ได้คะแนนประเมินในปีนี้ไม่สูง แต่เรื่องนี้ ป.ป.ช. มีความจำเป็นเนื่องจากข้อมูลทางคดีมีผลต่อการพิจารณา มีผลกระทบต่อบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในคดี ทำให้บางครั้งไม่อาจให้ข้อมูลหรือเปิดเผยได้ ซึ่งก็คงต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ลงนามส่งมอบงานในตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้แก่ นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยภายในงานมีรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ร่วมเป็นสักขีพยานจำนวนมาก ในการนี้ นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้กล่าวให้โอวาท แก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ใจความว่า "ความเป็นคน ป.ป.ช. ในห้วงเวลา 37 ปี
ป.ป.ช. ส่งข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ในการวางมาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการเบิกจ่ายยา ตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
—
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิ...
คณะผู้แทนจากกระทรวงการตรวจตราแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเยือนสำนักงาน ป.ป.ช. ประเทศไทย
—
พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ให้การต้อนรับ นาย...
เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบโล่โรงเรียนต้นแบบด้านความโปร่งใส
—
วันนี้ (26 พฤษภาคม 2560) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบโล่รางวัล และเ...
7 ปี “รางวัลช่อสะอาด” สำนักงาน ป.ป.ช. มอบเป็นกำลังใจให้ผู้สร้างสรรค์งานด้านสื่อเนื้อหาหนุนต้านทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
—
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะ...