ทั่วโลกผนึกกำลังปกป้องสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ที่การประชุมไซเตส

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ณ ที่ประชุมอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) ครั้งที่ 17 ซึ่งมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมมากว่า 180 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันตัดสินใจในประเด็นต่างๆ ที่จะนำไปสู่การช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างเป็นรูปธรรม และยกระดับการต่อสู้กับขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการร่วมกันกำหนดเป้าหมายและถ้อยแถลงเกี่ยวกับการซื้อขายสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า ที่มีถิ่นอาศัยในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง เช่น งาช้าง นอแรด ตัวนิ่มหรือตัวลิ่ม และเสือ
          ทั้งนี้ หนึ่งในข้อตกลงร่วมที่ทุกประเทศสมาชิกต่างเห็นพ้องตรงกัน คือการคงไว้ซึ่งกฎห้ามซื้อขายงาช้างและนอแรดระหว่างประเทศ และยังเพิ่มการคุ้มครองการค้าตัวนิ่มและนกแก้วแอฟริกันเกรย์ โดยประเทศเวียนนาม เป็นตลาดค้านอแรดที่ใหญ่ที่สุด ในแต่ละปีแรดแอฟริกาจำนวนมากต้องจบชีวิตลงเพื่อสังเวยความต้องการการบริโภคนอแรด ซึ่งในที่ประชุมได้มีมติกดดันให้ประเทศเวียดนามและประเทศโมซัมบิกหาหนทางหยุดยั้งการค้านอแรดอย่างผิดกฎหมายภายในเวลา 1 ปี มิฉะนั้นทางกลุ่มจะมีมาตราการลงโทษทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเรียกร้องให้ ประเทศซึ่งยังเปิดให้มีตลาดค้างาช้างอย่างถูกกฎหมายภายในประเทศ เช่น ประเทศไทย ดำเนินมาตรการทางกฎหมาย หรือวางกฎระเบียบกดดัน เพื่อปิดตลาดเหล่านั้นให้ได้โดยเร็วที่สุด
          อีกข่าวที่น่ายินดี คือรัฐบาลลาวประกาศจะปิดฟาร์มเสือในประเทศ และเพื่อให้แน่ใจว่าเสือจำนวน 700 ตัวที่อยู่ในฟาร์มจะไม่ถูกส่งต่อไปยังตลาดค้าเสือในต่างประเทศ ทางการประเทศลาวจะนำเสือเหล่านี้ไปปล่อยกลับคืนสู่พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายด้านชีวิภาพแห่งชาติ (National Biodiversity Conservation Areas) ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้จำนวนเสือในป่าของประเทศลาวกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง
          นอกจากนี้ หัวข้อการประชุมยังครอบคลุมไปถึงการกำหนดกฎระเบียบเรื่องการค้าปลาฉลามซิลกี ปลากระเบนปีศาจ รวมไปถึงพืชในตระกูลโรสวู๊ดให้เคร่งครัดมากยิ่งขึ้น
นายเตียกเส็ง ผู้อำนวยการหน่วยอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำโขงของ WWF ให้สัมภาษณ์ว่า " เราได้เห็นความก้าวหน้าที่สำคัญในหลายประเด็น เช่น การค้างาช้าง นอแรด และเสือ จากการที่รัฐบาลทั่วโลกผนึกกำลังร่วมกันในการประชุมครั้งนี้ หลายประเด็นเป็นประเด็นที่ก้าวหน้ามากกว่าถ้อยแถลง โดยเฉพาะความจำเป็นในการปกป้องสัตว์ป่าที่ถูกคุกคาม อีกทั้ง ยังเป็นการช่วยเสริมพลังในการดำเนินงานและวางมาตรการบังคับด้านกฎหมาย เพื่อให้แน่ใจว่ากฎระเบียบด้านการซื้อขายสัตว์ป่าจะเกิดการบังคับใช้จริงมากกว่าเป็นแค่เสือกระดาษ"
          ประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมยังให้การสนับสนุนกระบวนการทำงานตามแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งชาติ (National Ivory Action Plan: NIAP) ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงกับไซเตส โดยแผนปฎิบัติการนี้ จะช่วยทำให้เห็นช่องโหว่ของแต่ละประเทศในการควบคุมการค้างาช้าง รวมไปถึงช่วยยังยั้งการค้างาช้างที่จะเกิดขึ้น
          อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ หลายประเทศสมาชิกเริ่มหันมาใช้ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำประมงแบบยั่งยืน โดยไม่ทำร้ายปลาฉลามและปลากระเบน รวมไปถึงจำกัดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการทำฟาร์มเสือและการค้าสัตว์ป่าที่เกิดจากการเพาะพันธุ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำสัตว์ป่ามาปลอมปนเพื่อการค้า
          คุณเทเรซ่า ฟรานซ์ หัวหน้าตัวแทนผู้เข้าร่วมประชุมจาก WWF กล่าวว่า "มีการพยายามต่อรองในที่ประชุม แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผลของการประชุมคือการที่ทุกประเทศเห็นชอบร่วมกันที่จะลงมือป้องกันการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ และช่วยกันตรวจสอบประเทศสมาชิกอื่นๆ ว่าได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ โดยต่อไปนี้ ทุกประเทศจะไม่มีข้ออ้างใดๆ เพราะมีเครื่องมือในการทำงานที่หลากหลายและมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น จึงถือเป็นความรับผิดชอบของทุกประเทศที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ให้ไว้"
          การประชุมครั้งนี้ ยังถือเป็นครั้งแรกที่เปิดให้มีเวทีการสนทนาและยอมรับข้อสรุปในหลายเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นเร่งด่วนที่เกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่า เช่น ปัญหาคอร์รัปชั่น หรือการลดจำนวนความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ป่า 
          "การประชุมไซเตสครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมที่สำคัญและทรงพลังมากที่สุด จนอาจพูดได้ว่าเป็นการประชุมที่ประสบความสำเร็จที่สุดนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการจัดประชุมมา" คุณฟรานซ์กล่าว "ทุกประเทศทั่วโลกควรหันมาพิจารณากันอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในท้ายที่สุด"
 
 

ข่าวการค้าระหว่างประเทศ+ลักลอบค้าสัตว์ป่าวันนี้

ธนาคารเอชเอสบีซี ได้รับการโหวตเป็น ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของไทย

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ได้รับการยกย่องให้เป็น "ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของประเทศไทย" หรือ Best Trade Finance Bank พร้อมรั้งตำแหน่งผู้นำด้านการให้บริการลูกค้า ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ และผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการค้าระหว่างประเทศ จากผลสำรวจ Euromoney Trade Finance Survey 2025 (ยูโรมันนี่ เทรด ไฟแนนซ์ เซอร์เวย์ 2025) ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 13,000 ราย จากธุรกิจในกว่า 100 ประเทศและเขตแดนทั่วโลก ธนาคารเอชเอสบีซี ยังได้รับการโหวตให้เป็น "ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของโลก"

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย... กรมเจรจาฯ เชิญผู้ประกอบการกาแฟไทย! เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกาแฟไทยอย่างยั่งยืนด้วย FTA — กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ขอเชิญผู้ประกอบการ สหกรณ...

บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์น... "โกลเบล็ก" คัด 5 หุ้นเด่นติดโผกองทุน Thai ESGX เข้าลงทุน — บล. โกลเบล็ก (GBS) ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์นี้ Sideway ออกข้าง แนะจับตาสถานการณ์ตึงเครียดด้านการค้...

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิ... SME ไทยในคลื่นเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันทางการค้า Funding Societies ชี้โอกาสของ SME ในยุคแห่งความผันผวน — ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิญกับความผัน...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระ... DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที "THAIFEX - ANUGA ASIA 2025" — กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับหอการค้าไทย แ...