น้อมถวายอาลัยพ่อแห่งแผ่นดิน มรภ.สงขลา บันทึกเรื่องราวจากลูกถึงพ่อ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           ในฐานะคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายอาลัยส่งดวงพระวิญญาณพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดีนทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และใคร่ขอประมวลเรื่องราวความทรงจำที่ลูกมีต่อพ่อแห่งแผ่นดิน เพื่อเป็นอนุทินในใจลูกตราบนานเท่านาน 
          ละครเวทีเพื่อพ่อ 
          นับย้อนไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ในช่วงเดือนธันวาคม พุทธศักราช 2557 กลุ่มนักศึกษาดนตรีสากล มรภ.สงขลา ได้รวมตัวกันทำละครเวทีครั้งแรกในชีวิต โดยให้ชื่อเรื่องว่า "สิ่งที่เหลืออยู่" ละครเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนความรักอันยิ่งใหญ่ของพ่อที่มีต่อลูก ผ่านตัวละครสำคัญ คือ ลุงศักดิ์ ชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่งที่มีอาชีพกวาดถนน ทุกวันลุงศักดิ์จะคอยปัดกวาดถนนให้สะอาดอยู่เสมอ ด้วยความหวังว่าสักวันหนึ่งพระองค์ท่านจะเสด็จประพาสผ่านถนนเส้นที่เขากวาด แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ทำด้วยหัวใจ เพราะระลึกเสมอว่า พระองค์ท่านทรงเหน็ดเหนื่อยและทรงลำบากเพื่อให้คนไทยได้มีชีวิตที่ดีขึ้น
          "รู้สึกภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย เพราะพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย เพื่อให้ปวงชนชาวไทยทุกคนได้อยู่อย่างสุขสบาย ฉะนั้น สิ่งที่จะทำได้ในฐานะเยาวชนคือเป็นคนดี ช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนร่วมสังคม ตนเชื่อว่าเยาวชนทุกคนรัก เคารพ และอยากทำความดีเพื่อพระองค์ท่าน อยากฝากว่าเราทุกคนคืออนาคตของชาติ มาช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นโดยการรักซึ่งกันและกัน ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ช่วยเหลือคนที่ลำบาก แค่นี้สังคมก็น่าอยู่มากขึ้นแล้ว" นายดำรงพล เพ็งธรรม ผู้สวมบทเป็นลุงศักดิ์ กล่าวไว้ในขณะนั้น 
          ละครเทิดพระเกียรติเรื่องนี้ ตราตรึงอยู่ในหัวใจของผู้ชมตลอดมา เนื่องจากทุกตัวละครได้สะท้อนถึงความรัก ความเทิดทูน ความจงรักภักดีที่มีต่อพระองค์ท่าน และภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย ได้อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ได้อยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ตลอดระยะเวลาร่วม 70 ปี พระองค์ทรงงานอย่างหนักเพื่อให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเสด็จไปทุกที่ไม่ว่าที่แห่งนั้นจะทุรกันดารเพียงใด นี่เป็นเพียงเหตุผลเล็กๆ ในหลายร้อยพันเหตุผล ที่คนไทยรักพ่อแห่งแผ่นดิน ทว่า กลับเทียบไม่ได้เลยกับที่พระองค์ทรงรักคนไทยทุกคนโดยปราศจากเหตุผลใดๆ
          นักศึกษาทุนพระราชทาน 
          พระเมตตาของพระองค์ท่าน เป็นที่ประจักษ์ต่อพสกนิกรชาวไทยมาเนิ่นนาน เช่นเดียวกับที่ น.ส.สุนทรียา ลาสสวัสดิ์ นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาไทย ได้รับโอกาสทางการศึกษาผ่านทางทุนพระราชทาน เป็นทุนประเภทให้เปล่าต่อเนื่องจนจบปริญญาเอก ซึ่งเงินทุนนี้เป็นเงินส่วนพระองค์ที่พระราชทานมาให้ผ่านทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ มอบให้แก่ผู้ที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดี แต่มีฐานะยากจน พระองค์คือผู้ให้ชีวิตใหม่แก่เด็กผู้ด้อยโอกาส เปรียบดังแสงสว่างของชีวิต ได้ช่วยให้เธอซึ่งเป็นเพียงลูกชาวสวนจนๆ พ่อเสียชีวิตตั้งแต่ ม.3 มีทุนการศึกษาเรียนต่อจนถึงระดับสูงสุดของชีวิต
          หลังทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร นักศึกษาทุนพระราชทานอย่าง สุนทรียา สะท้อนความรู้สึกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้งว่า
          13 ตุลาคม 2559 น้ำตาลูกหลั่งเป็นสายมิอาจหยุดได้ เมื่อรู้ว่าพ่อจากไป เหมือนโลกนี้ดับ ในขณะที่นั่งในหอประชุมผู้คนเป็นร้อยๆ กลับเหมือนอยู่อีกโลกหนึ่ง นั่งอยู่คนเดียว เคว้งคว้างเหลือเกิน อาจจะพูดได้ว่าหนูร้องไห้เสียใจหนักกว่าเพื่อนๆ ที่รู้ข่าวพร้อมกันในขณะนั้น หนึ่งด้วยในฐานะพสกนิกรไทย สองด้วยในฐานะของลูกคนหนึ่ง และสามในฐานะนักเรียนทุนพระราชทาน เด็กที่เรียนอาศัยกินนอนในโรงเรียนของพระองค์ท่านมาก่อน แม้ในระดับมหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น หนูจึงเป็นคนของพระองค์ท่านอย่างมิต้องสงสัย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเสียใจขนาดนี้แล้ว หนูยังสามารถลุกขึ้นมาสู้ สู้ด้วยการทำการบ้าน แม้จะทำไปร้องไป เปิดข่าวของท่านไปก็เถอะ เพราะความตระหนักในพระราชประสงค์ ที่ท่านอยากให้หนูมีโอกาสได้เรียน และต้องเรียนให้ดี เพื่อประเทศ 
          เหตุการณ์ความสูญเสียครั้งใหญ่หลวงนี้ทำให้เกิดความคิดได้หลายอย่างทีเดียว นั่นคือหนูพิจารณาตัวเองว่านี่เราดีพอสำหรับนักเรียนทุนพระราชทานหรือยัง ภาพพระราชกรณียกิจของท่านผ่านเข้ามาในหัวโดยไม่ต้องฉายวิดีโอ แม้แต่ข้าวทุกเม็ด อาหาร ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว ก็ยังเป็นของท่าน หนูมีรูปใบเล็กๆ ใบหนึ่งของท่านใส่ติดกระเป๋าเสมอเวลาเดินทางไกล เพื่อนหนูเห็นถามว่าพกมาทำไม ตอนนั้นหนูไม่ตอบ แต่ตอนนี้หนูตั้งใจตอบเลยว่าอุ่นใจ นี่คือสิ่งที่เป็นสิริมงคลในชีวิต ในชีวิตประจำวันของหนูมีท่านอยู่เสมอ ตั้งแต่ตื่นนอน ของใช้ทุกอย่างต้องใช้อย่างคุ้มค่า เช่น ยาสีฟัน ปากกา นี่คือสิ่งง่ายๆ ที่หนูทำในตอนนี้ สำหรับในอนาคตอาชีพในฝันของหนูคือ การทำงานในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ พระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อสืบสานงานของพระองค์ท่านต่อไป
          ครูของครูพัฒนาชุมชน
          ในโอกาสที่โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.สงขลา เปิดการเรียนการสอนครบ 28 ปี จึงได้จัดงานบูชาครูพัฒนาชุมชน "จากองค์ราชันย์ถึงสามัญชน ปราชญ์แผ่นดินถิ่นสยาม" เมื่อช่วงเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2558 ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดหลักด้านการพัฒนาชุมชนที่นักพัฒนายึดถือปฏิบัติ ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของผู้ให้กำเนิดศาสตร์แห่งการพัฒนาชุมชน จึงจัดงานดังกล่าวขึ้นเพื่อระลึกถึงพระคุณครู ควบคู่ไปกับถ่ายทอดความรู้ด้านการทรงงานพัฒนาชุมชนของกษัตริย์นักพัฒนา องค์ต้นแบบการพัฒนาชุมชนของประเทศไทย ผู้เปรียบเสมือนครูของครูพัฒนาชุมชน
          กฐินพระราชทาน
          พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินประจำปี 2558 ให้แก่ มรภ.สงขลา สำหรับน้อมนำไปถวายแด่พระสงฆ์จำพรรษาถ้วนไตรมาส ณ วัดในวัง ต.นาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา นับเป็นโอกาสอันหาได้ยากยิ่งที่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ตลอดจนประชาชนทั่วไป จะได้ร่วมบุญกับพระองค์ท่าน
          รวมหัวใจคนรักพ่อ
          กิจกรรมต่างๆ ที่ มรภ.สงขลา ในฐานะคนของพระราชาได้รวมพลัง "คนรักพ่อหลวงของแผ่นดิน" ถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน ไม่ว่าจะเป็นการพร้อมใจกันตักบาตรและเจริญพระพุทธมนต์พระคาถาโพชฌังคปริตร เพื่อถวายพระพรชัย หรือแม้แต่ร่วมอธิษฐานจิตในห้วงเวลาแห่งความวิกฤติ และท้ายสุด กับกิจกรรมร่วมน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายอาลัยส่งดวงพระวิญญาณพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดีนทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จสู่สรรคาลัย
แม้วันนี้ คำอธิษฐานของคนไทยทั้งประเทศจะไม่บังเกิดผล แต่ทว่า ความรักจากลูกที่ส่งผ่านไปถึงพ่อ จะยังคงอยู่เป็นนิรันดร์
น้อมถวายอาลัยพ่อแห่งแผ่นดิน มรภ.สงขลา บันทึกเรื่องราวจากลูกถึงพ่อ
 
น้อมถวายอาลัยพ่อแห่งแผ่นดิน มรภ.สงขลา บันทึกเรื่องราวจากลูกถึงพ่อ
น้อมถวายอาลัยพ่อแห่งแผ่นดิน มรภ.สงขลา บันทึกเรื่องราวจากลูกถึงพ่อ
 

ข่าวมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา+มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลวันนี้

"เกษตร" มรภ.สงขลา นำ นศ. เรียนรู้กระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว

มรภ.สงขลา นำนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช เรียนรู้กระบวนการผลิต เก็บรักษา และตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว พร้อมรับองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567 ผศ.ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ชั้นปีที่ 2 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ศึกษาเรียนรู้วิธีการผลิต การเก็บรวบรวมรักษา และการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นเมล็ดพันธุ์จำหน่าย และเมล็ดพันธุ์ขยาย ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง และศูนย์

อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร-คณะวิทยาศาสตร... มรภ.สงขลา เยือน "ม. UPNVJT" อินโดนีเซีย ร่วมสัมมนาด้านเทคโนโลยีอาหาร — อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร-คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เยือน Universitas Pembangunan...

มรภ.สงขลา จับมือธนาคารออมสิน ทำโครงการออม... มรภ.สงขลา ผนึก ธ.ออมสิน ทำโครงการ "ยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น" เปิดเวที นศ. นำเสนอผลสัมฤทธิ์ นำองค์ความรู้พัฒนาวิสาหกิจชุมชน — มรภ.สงขลา จับมือธนาคารออมสิน ทำโครงก...

มรภ.สงขลา ลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ Un... มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ "UniMAP" มาเลเซีย แลกเปลี่ยนการวิจัย การเรียนการสอนด้านวิศวกรรม-เทคโนโลยีอุตสาหกรรม — มรภ.สงขลา ลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ Un...

ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มรภ.สงขลา ส่งผลงาน "... "ถังขยะไม่มีวันเต็ม" ผลงานชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มรภ.สงขลา คว้ารางวัลผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมฯ "Green Youth" ระดับเงิน — ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มรภ.ส...

มรภ.สงขลา ร่วมประชุมสร้างความรู้ความเข้าใ... มรภ.สงขลา ร่วมเวทีประชุมเตรียมความพร้อมจัดอันดับ "Impact Ranking" — มรภ.สงขลา ร่วมประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการจัดอันดับการดำเนินงาน...

นักศึกษาวิศวกรสังคม กลุ่มการสร้างบ้านปลา ... มรภ.สงขลา สุดปลื้ม นศ.วิศวกรสังคม กลุ่มการสร้างบ้านปลา คว้า 2 รางวัลนำเสนอผลงานโครงการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ ระดับประเทศ — นักศึกษาวิศวกรสังคม กลุ่มการสร้างบ้าน...

มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ Universiti Sai... มรภ.สงขลา ผนึก “ม.Sains Malaysia” ลงนามความร่วมมือแลกเปลี่ยนวิชาการ วัฒนธรรม เสริมสร้างประสบการณ์ทางการศึกษา — มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ Universiti Sains...

ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มร... ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มรภ.สงขลา จับมือ ธ.ออมสินภาค 18 ลงพื้นที่เฟ้นหากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร่วมโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น — ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สถาบันวิจัยแล...

วันที่ 10 มกราคม 2567 นายสมนึก พรหมเขียว ... มรภ.สงขลา เปิดบ้านรับการประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสงขลา — วันที่ 10 มกราคม 2567 นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานใน...