กยท. ร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับแผนงานวิจัยฯ ดึงงานวิจัยยางชั้นเลิศ มอบทุนวิจัยต่อยอดการพัฒนา

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมหน่วยงาน 6 ส. ตั้ง "เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ" มุ่งส่งเสริม และสนับสนุนทุนแผนงานวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ด้าน กยท. ร่วม สวก. หนุนวิจัยด้านยางพาราโดยเฉพาะ งบหนุนกว่า 60 ล้าน
          เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการกำกับแผนงานวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2560 โดยหัวเรือหลัก คือ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ยกทัพหน่วยงาน 6 ส. ได้แก่ (1) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (2) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (3) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) (4) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) (5) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และ (6) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตั้งเป็น"เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ" (คอบช.) ทำหน้าที่ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนทุนแผนงานวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ ยังร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) จัดทำกรอบวิจัย และปิดรับข้อเสนอการวิจัยดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา มีงานวิจัยรวม 25 กลุ่มเรื่อง ทุนสนับสนุนประมาณ1,005 ล้านบาท ณ ห้องประชุมบอลรูม เอบี โรงแรมมารวย การ์เด้นท์ กรุงเทพฯ
นายเชาว์ ทรงอาวุธ รักษาการในตำแหน่งรองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง ผู้แทนหน่วยงานหลักด้านยางพารา เปิดเผยว่า วช. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับแผนงานวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ หรือภายใต้ชื่อ คอบช. เพื่อเร่งพัฒนางานวิจัยที่สามารถนำไปใช้จริง และส่งผลต่อการพัฒนาและยกระดับประเทศในด้านต่างๆ ทาง กยท. ในฐานะหน่วยงานหลักดูแลจัดการบริหารยางพาราทั้งระบบของประเทศอย่างครบวงจร ได้ร่วมกับ สกว. หนึ่งในเครือข่าย คอบช. ที่ดำเนินการรับผิดชอบงานวิจัย 7 กลุ่มเรื่อง ซึ่งมีหัวข้องานวิจัยยางพาราประกอบอยู่ด้วย โดยส่วนงานวิจัยด้านยางพาราได้รับงบจัดสรรสำหรับการสนับสนุนงานวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 60 ล้านบาท มีการเสนอโครงการทุนวิจัยด้านยางพาราจำนวน 49 โครงการ แบ่งเป็นโครงการเดี่ยว 44 โครงการ และแผนงานวิจัยอีก 5 โครงการ ซึ่งผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดกรองงานวิจัย โดยอยู่ภายใต้กรอบวิจัยทั้งหมด 5 กรอบ คือ (1) การวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อศึกษาแนวทาง/มาตรการ/นโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศทั้งระบบ (2) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ยางพาราและไม้ยางพาราที่มีคุณภาพ (ต้นน้ำและกลางน้ำ) (3) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมและผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีศักยภาพทางการตลาด (อุตสาหกรรมปลายน้ำ) (4) การวิจัยมาตรฐานยางดิบ ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยางพารา และ (5) การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนด้านยางพารา และไม้ยางพาราของประเทศ
          ทั้งนี้ กยท. ในฐานะหน่วยงานที่บริหารจัดการดูแลยางพาราทั้งประเทศ เข้ามามีบทบาทในการคัดกรองงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ร่วมกับ สกว. ที่เป็นหน่วยงานหลัก โดย กยท. จะสนับสนุนข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับยางพาราในเชิงวิชาการ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมทั้งให้ความร่วมมือกับแวดวงวิชาการในการศึกษาและพัฒนา เพราะงานวิจัยต่างๆ เหล่านี้ สามารถต่อยอดเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ แก่วงการยางพารา และจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ รวมถึงพี่น้องชาวสวนยางในอนาคต
 

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ+สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยวันนี้

แจงกรอบวิจัยปีงบ 61 มุ่ง เดินหน้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 หนุนเครือข่ายรัฐ-เอกชน พัฒนาสังคมเศรษฐกิจมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ในการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2561 จัดโดยเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ร่วมกับมหาวิทยาลั... ราชภัฏพระนครจับมือเครือข่ายวิชาการและงานวิจัยจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ I-SEEC 2017 — มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิ...

ขับเคลื่อนโลจิสติกส์-โซ่อุปทาน สศก. เตรียมคลอดรายงานฉบับสมบูรณ์พัฒนาสินค้า 5 ชนิด พ.ย.นี้

สศก. จับมือ วช. และ สกว. รุกโครงการศึกษาวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรสำคัญ 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ทุเรียน และหน่อไม้ฝรั่ง พร้อมจัดเวทีสัมมนาระดมสมอง ก่อนคลอดรายงานฉบับสมบูรณ์...

3 องค์กรผนึกจัดประชุม “เพิ่มมูลค่าจากไขอ้อย”

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคโนโลยีการสกัดไขอ้อยจากกากหม้อกรอง...

คอบช. จัดงานแถลงข่าวเรื่อง “ผลวิจัยโลจิสติกส์ของเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงการ 2 ล้านล้านบาท”

เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ร่วมกับ สำนักประสานงานโครงการวิจัยด้านโลจิสติกส์ ร่วระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ...

วช. และ สกว. ประชุมสัมมนา เรื่อง “งานประชุมเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภายใต้บริบทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

ปฎิทินข่าวประชาสัมพันธ์ วช.และสกว ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community : AEC) วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 08.30-16.30 น. ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ...

สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของ... วิศวะมหิดล รวมพลัง 3 องค์กร เดินหน้า เฟส 3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และ Big Data สาธารณสุขไทย — สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของไทย ได้แก่ กระทรวงสาธาร...

นักวิจัย ม.มหิดล คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563 คิดค้นยาชีวภาพแอนติบอดีมนุษย์สำหรับรักษาโรคไข้เลือดออก

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี และ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน...

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระ... “สรนิต” มอบประกาศนียบัตร ประกาศเกียรติคุณ งานแถลงข่าว “การนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทย ร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีนานาชาติ” — สำนักงานคณะกรรมการ...