มะเร็งเต้านมภัยร้ายผู้หญิงไทยที่ต้องรู้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          โรคมะเร็งเต้านมจัดได้ว่ามะเร็งร้ายอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก เพราะมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งในผู้หญิงที่พบมากเป็นอันดับ 1 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่ามีผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 20,000 คนต่อปีหรือ 55 คนต่อวัน ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในขณะที่ผู้หญิงอเมริกัน คาดการณ์ว่าเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมราว 40,450 คนในปี 2015 ส่วนในปี 2016 พบผู้ป่วยหญิงอเมริกันรายใหม่ที่มีการแพร่เชื้อของมะเร็งเต้านมจำนวน 246,660 คน และที่ยังไม่มีการแพร่เชื้อมะเร็งประมาณ 61,000 คน แม้ว่ามะเร็งเต้านมจะเป็นโรคที่เราได้ยินมานาน ได้ฟังมาบ่อย และเป็นโรคใกล้ตัวผู้หญิง ซึ่งปัจจุบันพบเป็นมะเร็งร้ายอันดับ 1 ที่พบในผู้หญิงทั่วโลก หากแต่ยังมีความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมที่เราควรรู้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นข้อสงสัยที่ว่าขนาดเต้านมเล็กอาจมีโอกาศเสี่ยงน้อยกว่าเต้านมใหญ่ มีก้อนเนื้อแต่ไม่เจ็บไม่ใช่มะเร็ง หรือการทำรังสีจากเครื่องแมมโมแกรม ยิ่งทำยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
          นพ.สาธิต ศรีมันทยามาศ ศัลยแพทย์มะเร็งเต้านม โรงพยาบาลวัฒโนสถ กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หากแต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค เช่น ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ปัจจัยทางพันธุกรรมโดยเฉพาะหากครอบครัวมีญาติสายตรง เช่น มารดา พี่สาว น้องสาว เป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ มีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านมหลายคน หรือมีญาติเคยเป็นมะเร็งเต้านมเมื่ออายุน้อย หรือเป็นมะเร็งเต้านมพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ปัจจัยด้านฮอร์โมนเพศคือเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุน้อยกว่า 12 ปี หรือประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี ผู้หญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกหลังอายุมากกว่า 30 ปี นอกจากนี้ผู้หญิงที่กินยาฮอร์โมนทดแทนหลังวัยทองเป็นระยะเวลานานเกิน 5 ปี ปัจจัยทั้งหมดนี้ก็มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน รวมทั้งการดื่มสุรา การฉายรังสีบริเวณทรวงอก และการกินยาคุมกำเนิด ซึ่งพบว่าเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคอยู่บ้าง แต่ไม่ชัดเจนมากนัก ระยะอาการของมะเร็งเต้านมและโอกาสรักษาให้หาย อาจเรียกว่าเป็นโรคร้ายที่แฝงมาอย่างเงียบๆ เพราะอาการเริ่มต้นของมะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้สึกเจ็บ จนกระทั่งก้อนเนื้อเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น เมื่อนั้นผู้ป่วยจึงจะเริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น "มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกจะเป็นก้อนเล็กๆ หรือเป็นเพียงแค่กลุ่มหินปูน ซึ่งไม่สามารถคลำได้ อีกทั้งมักไม่มีอาการเจ็บ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รู้สึกเจ็บอาจพบเพียงแค่ 10% เท่านั้น ซึ่งบ่งบอกได้ว่าก้อนเนื้อมักมีขนาดใหญ่ จนเกิดการบดเบียด ดึงรั้ง หรือก้อนเนื้ออาจมีการอักเสบร่วมด้วย สำหรับคนไข้ส่วนใหญ่ที่มาพบหมอ มักจะอยู่ในระยะที่คลำเจอก้อนแล้ว หรือบางรายอาจมีเต้านมผิดรูปหรือแผลที่เต้านม ซึ่งก้อนเนื้อหากมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 2 ซม. และไม่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ถือเป็นอาการในระยะที่ 1 แต่หากคลำเจอก้อนที่มีขนาดใหญ่เกิน 2 ซม.หรือมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง มักเป็นอาการในระยะที่ 2 หรือ 3 แล้ว ซึ่งการตรวจเจอในระยะเริ่มต้น เช่น ในระยะ 0 หรือระยะที่ยังไม่มีการลุกลาม โอกาสที่ผู้ป่วยจะมีอัตราเวลาการรอดชีวิตเกิน 10 ปีสูงถึง 95-100% และอัตราการรอดชีวิตที่ 10 ปีจะลดลงเหลือประมาณ 80%, 70% และ 50% ในระยะที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ สำหรับผู้ป่วยระยะที่ 4 หรือโรคมะเร็งมีการแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่นๆแล้ว จะมีเพียงผู้ป่วยไม่ถึง 10% เท่านั้นที่สามารถรอดชีวิตได้เกิน 10 ปีอย่างไรก็ตาม การตรวจเช็คเต้านมด้วยตนเองควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปและตรวจเป็นประจำทุกเดือน และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ร่วมกับการตรวจทางรังสีด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) และอัลตร้าซาวด์ (ultrasound) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น หรือระยะก่อนลุกลามเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตหรืออัตราการรักษาให้หาย ถ้าก้อนที่ตรวจพบจากแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ มีลักษณะที่บ่งบอกว่ามีโอกาสเป็นมะเร็ง จึงจะทำการเจาะชิ้นเนื้อมาตรวจโดยใช้เข็ม ซึ่งเป็นการตรวจที่คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัวมากและไม่ทำให้เนื้องอกมีการลุกลามหรือแพร่กระจาย" สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเต้านมหลักๆ คือการผ่าตัดสำหรับมะเร็งระยะที่ยังไม่มีการแพร่กระจาย ไปอวัยวะอื่น ซึ่งปัจจุบันสามารถผ่าตัดได้ทั้งแบบสงวนเต้าคือผ่าออกเฉพาะบางส่วนที่มีปัญหา หรือผ่าตัดออกทั้งเต้าแล้วอาจมีการเสริมสร้างเต้านมใหม่โดยใช้เนื้อเยื่อของผู้ป่วยเองหรือซิลิโคน หลังจากการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยอาจต้องมีการรักษาอื่นๆ ร่วมด้วยได้แก่ การให้เคมีบำบัด การฉายแสง การให้ยาต้านฮอร์โมนและให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็ง เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก และเพิ่มอัตราการรอดชีวิต 
          "ถ้ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้ว เราจะให้ยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน หรือยาออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งเป็นตัวหลัก เนื่องจากการผ่าตัดอาจไม่ช่วยในเรื่องที่มะเร็งแพร่กระจายแล้ว อย่างไรก็ตาม หากมะเร็งแพร่ไปยังอวัยวะที่ไม่สำคัญ เช่น กระดูกและผิวหนัง ผู้ป่วย สามารถใช้ชีวิตได้อีกนาน แต่ถ้ากระจายไปที่ตับ ปอดหรืออวัยวะภายใน อัตราการรอดชีวิตก็จะลดลง ทั้งนี้การรักษาแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้


          ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
          1.สิ่งที่ได้ยินมา อาหารไขมันสูง ของมัน และของทอด เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม ข้อเท็จจริง อาหารไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมโดยตรง แต่อาหารบางอย่างจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น อาหารไขมันสูง เมื่อรับประทานมากๆ จะสะสมกลายเป็นไขมันในร่างกาย และเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมนเพศมีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ส่วนอาหารพวกเนื้อสัตว์ก็ไม่ได้พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ การบริโภคพืชผักหรือไฟเบอร์ จะช่วยลดการเกิดมะเร็งได้ทุกชนิดรวมทั้งมะเร็งเต้านมด้วย
          2.สิ่งที่ได้ยินมา การสวมชุดชั้นในขณะนอนหลับ เสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม ข้อเท็จจริง ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยัน แม้ในอดีตจะมีหนังสือตีพิมพ์ว่าการสวมชุดชั้นในขณะนอนหลับ อาจเกิดการบีบรัดระบบน้ำเหลือง ทำให้ระบบน้ำเหลืองไหลเวียนไม่สะดวกและมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันได้ถึงความเกี่ยวพันดังกล่าว การสวมชุดชั้นในขณะหลับจึงไม่ได้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด
          3.สิ่งที่ได้ยินมา หากไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม เราก็จะไม่เป็นมะเร็งเต้านม ข้อเท็จจริง เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะมะเร็งเต้านมมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมแค่ 10% และมะเร็งเต้านมในปัจจุบันเกิดขึ้นได้เองมากกว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้
          4.สิ่งที่ได้ยินมา ผู้หญิงที่มีเต้านมเล็ก มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าผู้หญิงเต้านมใหญ่ ข้อเท็จจริง ไม่เป็นความจริง ปัจจัยเรื่องขนาดไม่ได้มีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านม เพราะฉะนั้นผู้หญิงที่มีเต้านมเล็กและใหญ่ มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้เท่าๆ กัน
          5. สิ่งที่ได้ยินมา ทำแมมโมแกรมบ่อยๆ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ข้อเท็จจริง ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่มีน้ำหนักเพียงพอยืนยันถึงความเชื่อดังกล่าว อีกทั้งรังสีที่ใช้ในการตรวจแมมโมแกรมมีปริมาณน้อยนิด รวมทั้งการตรวจเช็คแมมโมแกรมเพียงปีละครั้ง ก็ไม่ได้มีอันตรายหรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด
          อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40-60 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี โดยให้แพทย์ตรวจเต้านมร่วมกับการทำดิจิตอลแมมโมแกรมและทำอัลตราซาวด์ ที่สามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างละเอียดตั้งแต่ขนาดเล็ก(เพียง 0.5 -1 ซม.) ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยสามารถให้ผลได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้แนวทางการรักษามะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลวัฒโนสถ (Breast cancer pathway) ซึ่งได้รับการรับรองจากมาตรฐานนานาชาติจาก JCI ยังเน้นการดูแลตลอดโปรแกรมโดยทีมแพทย์เฉพาะทางในแต่ลั่สาขาที่พร้อมให้ความรู้ในการดูแลตนเอง ซึ่งการป้องกันให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง ก็คือหมั่นตรวจเช็คร่างกายสม่ำเสมอ อย่าละเลยการตรวจสอบสังเกตอาการด้วยตัวเอง หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ช่วยตรวจเช็ค อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะถ้าตรวจพบแต่เนิ่นๆ จะได้รับรักษาได้อย่างทันท่วงที มีโอกาสรักษาโรคมะเร็งให้หายได้สูง
มะเร็งเต้านมภัยร้ายผู้หญิงไทยที่ต้องรู้
 

มะเร็งเต้านมภัยร้ายผู้หญิงไทยที่ต้องรู้
มะเร็งเต้านมภัยร้ายผู้หญิงไทยที่ต้องรู้
 

ข่าวสถาบันมะเร็งแห่งชาติ+โรคมะเร็งเต้านมวันนี้

รับได้จริงๆ เหรอ? 22 คนต่อวันที่มะเร็งเต้านมคร่าชีวิตหญิงไทย มูลนิธิถันยรักษ์ฯ x ทรู ชวนลดเสี่ยง "เต้า ต้อง ตรวจ" รอไม่ได้ ยิ่งเร็ว ยิ่งรอด

The Global Cancer Observatory รายงานว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทะลุ 2.3 ล้านราย และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมถึง 685,000 คนในปี 2565 ซึ่งมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ รวมถึงในประเทศไทย โดยข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้เสียชีวิตในประเทศไทยด้วยโรคนี้ กว่า 8,200 คน หรือเฉลี่ยถึง 22 คนต่อวัน มีผู้หญิงไทยป่วยด้วยมะเร็งเต้านมประมาณ 22,000 คนต่อปี และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ที่น่าตกใจ คือเรายังพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

'มะเร็งเต้านม' เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่ส... รพ.มะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ จัดงาน Voice of Care "เสียงจากความใส่ใจ" Breast Cancer Awareness Month 2023 เชิญชวนคนไทยตรวจมะเร็งเต้านม — 'มะเร็งเต้านม' เป็นโรค...

บทความ โดย ศูนย์บริการการแพทย์ บริษัท กรุ... มะเร็งเต้านม: ภัยร้ายที่สามารถเอาชนะได้ — บทความ โดย ศูนย์บริการการแพทย์ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) มะเร็งเต้านม ภัยเงียบของผู้หญิงทั่วโลก 7...

กลุ่มเซ็นทรัล ผนึกกำลัง เซ็นทรัล รีเทล, เ... กลุ่มเซ็นทรัล ผนึกธุรกิจในเครือ เปิดแคมเปญการตลาด ช่วยผู้ป่วยมะเร็ง ในโครงการ Women Cancer — กลุ่มเซ็นทรัล ผนึกกำลัง เซ็นทรัล รีเทล, เซ็นทรัลพัฒนา, เซ็นทร...

นายณัฐสิทธิ์ สุนทราณู ผู้อำนวยการ ธุรกิจบ... ภาพข่าว: เคทีซีร่วมกับซาบีน่ามอบเงินและเสื้อชั้นในให้กับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ — นายณัฐสิทธิ์ สุนทราณู ผู้อำนวยการ ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัต...

ผลิตภัณฑ์วาโก้ โมชั่น แวร์ (Wacoal Motion... วาโก้ โมชั่น แวร์ จับมือ ซีดับเบิ้ลยู - เอ็กซ์ จัดเดิน - วิ่งการกุศล 3 วัน 3 สนาม 3 จังหวัด สมทบทุนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมยากไร้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ - รพ. มะเร็งภูมิภาครวม 8 แห่ง — ผลิตภัณฑ์วา...

สมพงษ์ รัศมีธรรม (ที่ 4 จากซ้าย) กรรมการบ... ภาพข่าว: "วาโก้" มอบเงินบริจาค 1 ล้านบาท แด่มูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เพื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมยากไร้ — สมพงษ์ รัศมีธรรม (ที่ 4 จากซ้าย) กรรมการบริหาร บร...

ไอ.ซี.ซี. เชิญร่วมงานแถลงข่าว โครงการวาโก้โบว์ชมพู สู้มะเร็งเต้านม Beauty Inside ปี 2559

บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์วาโก้ร่วมกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติและสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย จัดงานแถลงข่าว โครงการวาโก้โบว์ชมพู สู้มะเร็งเต้านม Beauty Inside เพื่อ...

วาโก้เดินหน้าสานต่อโครงการ "วาโก้โบว์ชมพู... ภาพข่าว: วาโก้ จัดฝึกอบรม 'Wacoal Pink Lady Service’ มุ่งเป้ายกระดับเครือข่ายงานบริการของวาโก้ทั่วประเทศ — วาโก้เดินหน้าสานต่อโครงการ "วาโก้โบว์ชมพู สู้มะ...