ดร.กาญจนา กาญจนสุต คนไทยคนแรกขึ้นรับรางวัล "โพสเทล เซอร์วิส อวอร์ด" จากประชาคมอินเทอร์เน็ตสากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต หรือที่ถูกเรียกในวงการอินเทอร์เน็ตว่า มารดาแห่งอินเทอร์เน็ตไทย ได้รับการประกาศให้ขึ้นรับรางวัลโจนาธาน บี โพสเทล เซอร์วิส อวอร์ด ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้กระทำคุณประโยชน์ต่อประชาคมอินเทอร์เน็ตอย่างโดดเด่น ระหว่างงานประชุมคณะทำงานด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (Internet Engineering Task Force: IETF) ครั้งที่ 97 ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมคอนราด กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติจากประชาคมอินเทอร์เน็ตโลกให้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติดังกล่าว
เมื่อเวลาประมาณ 17:40 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสาธารณรัฐเกาหลี ของวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมคอนราด กรุงโซล ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดงานประชุมคณะทำงานด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ตครั้งที่ 97 ทางประชาคมอินเทอร์เน็ตสากล (Internet Society: ISOC) นายกองซาโล คามาริลโล (Mr.Gonzalo Camarillo) ประธานกรรมาธิการ (Chair of the Board of Trustees) ของประชาคมอินเทอร์เน็ตสากล ได้ขึ้นประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "โพสเทล เซอร์วิส อวอร์ด" สำหรับปี 2559 นี้ โดยผู้ได้รับการเลือกจากคณะกรรมการพิจารณา คือ ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต รองประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNICF) จากนั้นนายคามาริลโลได้มอบรางวัลลูกแก้วคริสตัลให้แก่ ศ.ดร.กาญจนา ต่อหน้าสักขีพยานซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารข้อมูลจากทั่วโลกที่เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ ศ.ดร.กาญจนา ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย และการสร้างสรรผลงานต่อแวดวงอินเทอร์เน็ตอันเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสากลมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษของการอุทิศตน
          ทั้งนี้ ศ.ดร.กาญจนา เป็นผู้แรกที่นำอินเทอร์เน็ตมายังประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2529 โดยการสร้างการเชื่อมต่อทางอีเมลระหว่างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียกับภายนอกประเทศ และได้ขยายวงกว้างรองรับการใช้งานอีเมลออกไปยังสถาบันการศึกษาและองค์กรอื่น ๆ จนกระทั่งอินเทอร์เน็ตมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศในปัจจุบัน ศ.ดร.กาญจนา ได้ก่อตั้งหน่วยงานหลายหน่วยงานที่ขับเคลื่อนการเติบโตของอินเทอร์เน็ตในประเทศและภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) ที่ดูแลบริหารโดเมน .th และ .ไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ห้องปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและวิจัย (intERLab) ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ตให้กับภูมิภาค และศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่เป็นกลางแห่งแรกของประเทศไทย (BKNIX) เป็นต้น
          "ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกให้รับรางวัลอันทรงค่านี้ซึ่งมีความหมายกับดิฉันมาก ดิฉันรู้จักชื่อ ดร.โพสเทล เป็นครั้งแรกเมื่อ 30 ปีที่แล้วผ่านเพื่อนของดิฉันที่ช่วยดิฉันเชื่อมต่อให้เกิดอีเมลครั้งแรกจากประเทศไทย นั่นคือโรเบิร์ต เอลซ์ ที่หลายท่านในที่นี้คงจะรู้จัก ซึ่งหลังจากนั้นดิฉันไม่เคยหยุดงานด้านพัฒนาอินเทอร์เน็ต มันเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับดิฉันซึ่งมีเหล่าสมาชิก IETF หลายท่านที่พร้อมยื่นมือให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ดิฉันขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ และขอขอบคุณประชาคมอินเทอร์เน็ตสากลสำหรับรางวัลและการยอมในครั้งนี้ ดิฉันมั่นใจอย่างยิ่งว่าผู้คนที่ได้ให้ความช่วยเหลือดิฉันจะร่วมรับรางวัลนี้ ขอบคุณค่ะ" ศ.ดร.กาญจนากล่าว
          สำหรับรางวัล โจนาธาน บี โพสเทล เซอร์วิส อวอร์ด (Jonathan B. Postel Service Award) หรือ โพสเทล เซอร์วิส อวอร์ด จัดตั้งขึ้นโดยประชาคมอินเทอร์เน็ตสากล (Internet Society) เพื่อมอบให้แก่ผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ในด้านการสื่อสารข้อมูลอย่างโดดเด่นและเป็นที่ประจักษ์ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างผลงานทางด้านเทคนิคอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม การสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาคม และความเป็นผู้นำ โดยรางวัลนี้เริ่มมีการมอบให้แก่ผู้ที่ได้รับการคัดสรรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาและมอบเพียงปีละ 1 รางวัลเท่านั้น
ทั้งนี้ ชื่อรางวัล โพสเทล เซอร์วิส อวอร์ด ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับ ดร.โจนาธาน โพสเทล หรือ Jon Postel หนึ่งในสามของผู้คิดค้นอินเทอร์เน็ตให้กับโลกใบนี้ และดูแลบริหารประชาคมอินเทอร์เน็ตมาตลอด 30 ปีที่อยู่ในสายอาชีพด้านระบบเครือข่าย อีกหนึ่งคุณูปการที่สำคัญของ ดร.โพสเทล คือเป็นผู้เขียน RFC ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานทางด้านเทคนิคของอินเทอร์เน็ตเป็นคนแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ถึง พ.ศ. 2541 รวมถึงเป็นผู้บริหารอาพาเน็ต (APANET) ประธานคนแรกของไออานา (IANA: Internet Assigned Number Authority) และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งคณะกรรมการด้านสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต (Internet Architecture Board) อีกด้วย
ดร.กาญจนา กาญจนสุต คนไทยคนแรกขึ้นรับรางวัล "โพสเทล เซอร์วิส อวอร์ด" จากประชาคมอินเทอร์เน็ตสากล

ข่าวo:bus+o:itวันนี้

ซีพีแรม เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร

ซีพีแรม เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร หวังเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหารของไทย พร้อมผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก บริษัท ซีพีแรม จำกัด (CPRAM) ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารพร้อมรับประทาน เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร เสริมแกร่งอุตสาหกรรมอาหารของไทย พร้อมผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก ด้วยงบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท เป็นศูนย์กลางในการสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโน

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อกา... วัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล คือจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ — ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์กร การนำเทคโนโล...

In today's digital era, technology plays ... Digital-Ready Culture: The Key to Future Success — In today's digital era, technology plays a vital role in driving business transformation. The ability...

วางกลยุทธ์ปี พ.ศ. 2537 มุ่งมั่นก้าวสู่เป้... บ๊อช ยืนหยัดด้วยจุดแข็งด้านผู้นำทางเทคโนโลยี — วางกลยุทธ์ปี พ.ศ. 2537 มุ่งมั่นก้าวสู่เป้าหมายที่ท้าทายยิ่งขึ้น ผลประกอบการปี พ.ศ. 2567 รายได้จากยอดขาย 90...

Aroma Group ผู้นำด้านธุรกิจกาแฟครบวงจรในป... Aroma Group เปิดตัวกาแฟแคปซูลใหม่ 8 สูตร มอบประสบการณ์กาแฟพรีเมียมที่บ้าน — Aroma Group ผู้นำด้านธุรกิจกาแฟครบวงจรในประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านกาแฟค...

แผ่นระบายความร้อนแบตเตอรี่แบบไบโอนิกช่วยเ... มาห์เล เตรียมจัดแสดงโซลูชันอี-โมบิลิตี้พร้อมรับอนาคต ที่งานซับคอน ไทยแลนด์ 2025 — แผ่นระบายความร้อนแบตเตอรี่แบบไบโอนิกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนขอ...

Bionic battery cooling plate enhances bat... MAHLE to showcase future-ready e-mobility solutions at SUBCON Thailand 2025 — Bionic battery cooling plate enhances battery performance and sustainability...

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแ... THANARA นวัตกรรมความงามผสานไมโครไบโอมฟื้นฟูสุขภาพผิวด้วย 4P-Biotics สูตรเฉพาะจากออล-ดีเอ็นเอ — อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแลผิวจากไมโครไบโอมแ...

A professor from Chulalongkorn University... THANARA: A Microbiome-Based Skincare Innovation Featuring 4P-Biotics Technology by AL-DNA — A professor from Chulalongkorn University's Faculty of Science...