มธ. เปิดพื้นที่นำร่องให้ชาวนาเครือข่ายขายข้าวตรงสู่ผู้บริโภค พร้อมชี้ไทยขาดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และ สภาพนักงานมหาวิทยาลัย มธ. จัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่นำร่องให้ชาวนาเครือข่ายขายข้าวตรงสู่ผู้บริโภคโดยในระยะแรกจะมีเครือข่ายชาวนาจากจังหวัดปทุมธานี สุพรรณบุรี และลพบุรี นำข้าวมาจำหน่ายถึงมือผู้บริโภคเป็นจำนวนกว่า 2 ตัน ทั้งนี้ ภายในยังมีการนำเสนอมุมมองจากนักวิชาการด้านการบริหารธุรกิจ โดยแนะทุกภาคส่วนช่วยกันแก้ไขสภาวะราคาข้าวตกต่ำรวมถึงการบูรณาการองค์ความรู้และหลักการบริหารจัดการ โดย "ภาคเกษตรกร" ควรรวมตัวเป็นเครือข่ายหรือเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างอำนาจต่อรองและสร้างโอกาสทางการแข่งขัน "ภาครัฐบาล" ควรเข้ามามีบทบาทในการผลักดันการจัดตั้งโรงสีข้าวภายในชุมชนให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการขจัดการเกิดปัญหาเกษตรกรถูกโรงสีข้าวกดราคา "ภาคการศึกษา" ควรเข้ามามีบทบาทในการถ่ายทอดองค์ความรู้และร่วมพัฒนาสินค้าของเกษตรกรและชาวนาไทย และ "ภาคประชาชน" ควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนในการซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวโดยตรงจากชาวนาไทย ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีเครือข่ายชาวนาร่วมงานจำนวนมาก
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ. เปิดเผยว่าสำหรับสถานการณ์ข้าวของชาวนาไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2559 (มกราคม – สิงหาคม 2559) พบว่า ประเทศไทยมีกำลังผลิตข้าวได้กว่า 6 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวมกว่า 9.6 หมื่นล้านบาท (ข้อมูลจาก กระทรวงพาณิชย์) แต่ทั้งนี้ กลับพบว่าชาวนาไทยประสบปัญหาข้าวราคาตกต่ำเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากการถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางผู้รับซื้อข้าว และโรงสีข้าวในพื้นที่ชุมชนที่มีจำนวนน้อยซึ่งยังผลให้ล่าสุด ชาวนาไทยสามารถขายข้าวสารได้ในราคาเพียง 5,000 บาทต่อตันทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวนาให้สามารถมีรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในฐานะหน่วยงานภาคการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ชนบท อันจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงได้ร่วมกับสภาพนักงานมหาวิทยาลัย มธ. จัดกิจกรรมการเปิดพื้นที่นำร่องให้ชาวนาเครือข่ายขายข้าวตรงสู่ผู้บริโภคโดยในระยะแรกจะมีเครือข่ายชาวนาจากจังหวัดปทุมธานี สุพรรณบุรี และลพบุรี ขนข้าวมาจำหน่ายถึงมือผู้บริโภคเป็นจำนวนกว่า 2,000 กิโลกรัม บริเวณพื้นที่ตลาดนัดวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ส.บอ.)
          ทั้งนี้ ในอนาคต ทางวิทยาลัยฯ เตรียมส่งเสริมให้นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีส่วนร่วมในการช่วยชาวนาในการพัฒนาและบริหารการตลาดออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ในหลักสูตรการพัฒนาชุมชน อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาทางวิทยาลัยฯ ได้สร้างศูนย์เรียนรู้ด้านอาหาร พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนที่สนใจ เข้ามาร่วมอบรมและเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการเกษตรในรูปแบบต่างๆ อาทิ การทำไบโอแก๊ส (Biogas) การปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ และการทำบ้านดิน เป็นต้น อันสอดรับกับปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยฯ ด้วยมุ่งปลูกฝังและบ่มเพาะบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน และสังคม ตลอดจนมีจิตสาธารณะที่มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภาคประชาชนในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
          ด้าน ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า สภาวะราคาข้าวตกต่ำเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำแทบทุกปี ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพในองค์รวม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ไข รวมถึงปัจจุบันระบบการขายข้าวของไทย ไม่มีการรวบรวมข้อมูลอุปสงค์และอุปทานของการผลิตข้าวอย่างแม่นยำ จึงทำให้กระทบต่อราคาการขาย ผู้ซื้อจึงจำเป็นต้องรับซื้อราคาต่ำ เพื่อป้องกันการขาดทุนของตนเอง ทำให้ผลกระทบตกอยู่ที่ภาคการเกษตรที่ต้องแบกรับปัญหาเหล่านั้น ดังนั้น ภาครัฐควรจัดระบบอุปสงค์ และอุปทานของข้าว กำหนดจำนวนการปลูก จำนวนการขาย ประเภทการขาย โดยใช้การบูรณาการองค์ความรู้และหลักการบริหารจัดการ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
          1. ภาคเกษตรกร ชาวนาไทยในแต่ละชุมชนควรรวมตัวเป็นเครือข่ายหรือเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง และสร้างโอกาสทางการแข่งขัน ควบคู่ไปกับสร้างคุณค่าให้กับข้าวในแต่ละท้องถิ่นด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อยกระดับจากการเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เป็นสินค้าพรีเมี่ยม ผ่านการสร้างแบรนด์ (Branding) การสร้างเรื่องราวและความแตกต่างให้กับสินค้า การสร้างรูปลักษณ์หรือแพ็คเกจจิ้ง (Packaging) เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าข้าวของเกษตรกร ควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภค
          2. ภาครัฐบาล หน่วยงานภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในการผลักดันการจัดตั้งโรงสีข้าวที่มีประสิทธิภาพสูงภายในชุมชนให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการขจัดการเกิดปัญหาเกษตรกรถูกโรงสีข้าวกดราคา อีกทั้งควรให้การสนับสนุนช่องทางการกระจายสินค้าข้าวให้ถึงมือผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดยให้เกิดระบบการกระจายสินค้าผ่านการขนส่งโดยไปรษณีย์ไทยที่สามารถส่งตรงผู้บริโภคได้ถึงหน้าบ้านในราคาถูก ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดข้อจำกัดปัจจุบันของการส่งสินค้าของชาวนาไทยที่มีต้นทุนสูงในการกระจายสินค้าตรงถึงมือผู้บริโภค และช่วยลดการพึ่งพากลไกการกระจายสินค้าผ่านโรงสีและพ่อค้าคนกลาง
          3. ภาคการศึกษา สถาบันการศึกษา หรือบุคคลกรทางการศึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวไทย ทั้งในส่วนการพัฒนามาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพของข้าวการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน นอกเหนือจากด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแล้วยังมีด้านบริหารธุรกิจที่ควรได้รับการพัฒนา การบริหารจัดการ การตลาด การบริหารความเสี่ยง หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดนี้สถาบันการศึกษาควรที่จะเข้ามามีบทบาทในการถ่ายทอดองค์ความรู้และร่วมพัฒนาสินค้าของชาวนาไทย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ข้าวจากชาวนาไทย อันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาไทยได้อย่างยั่งยืน
          4. ภาคประชาชน ประชาชนไทยควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนในการซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวโดยตรงจากชาวนาไทยโดยในปัจจุบันปริมาณข้าวสารร้อยละ 60 ของการผลิตทั้งหมดจะถูกบริโภคภายในประเทศ ซึ่งปริมาณการบริโภคข้าวภายในประเทศในสัดส่วนที่สูง ถือว่าเป็นโอกาสที่ผู้บริโภคในประเทศจะมีส่วนช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวโดยตรงจากชาวนาไทย นอกเหนือจากนั้น ข้าวมูลค่าสูงอย่างข้าวหอมมะลิที่เป็นที่นิยมของตลาดในประเทศ ยังมีการบริโภคภายในประเทศสูงถึงประมาณร้อยละ 60 ของผลผลิตข้าวหอมมะลิ ซึ่งบ่งบอกถึงพฤติกรรมการกินข้าวของคนไทยที่เลือกจากความพึงพอใจในรสชาติและคุณภาพของสินค้า และเป็นโอกาสสำหรับกลุ่มชาวนาไทยในการพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ข้าวมูลค่าสูงที่มีคุณลักษณะและคุณประโยชน์อย่างหลากหลาย

          ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และ สภาพนักงานมหาวิทยาลัย มธ. ได้จัดกิจกรรมนำเสนอมุมมองจากนักวิชาการด้านการบริหารธุรกิจ พร้อมเปิดพื้นที่นำร่องให้ชาวนาเครือข่ายขายข้าวตรงสู่ผู้บริโภคขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดยมีเครือข่ายชาวนาในพื้นที่ปทุมธานี สุพรรณบุรี และลพบุรี ร่วมงานจำนวนมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์02-564-4440-59 ต่อ 1321 หรือคลิกเข้าไปที่ http://psds.tu.ac.th/
มธ. เปิดพื้นที่นำร่องให้ชาวนาเครือข่ายขายข้าวตรงสู่ผู้บริโภค พร้อมชี้ไทยขาดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
 
มธ. เปิดพื้นที่นำร่องให้ชาวนาเครือข่ายขายข้าวตรงสู่ผู้บริโภค พร้อมชี้ไทยขาดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
มธ. เปิดพื้นที่นำร่องให้ชาวนาเครือข่ายขายข้าวตรงสู่ผู้บริโภค พร้อมชี้ไทยขาดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
มธ. เปิดพื้นที่นำร่องให้ชาวนาเครือข่ายขายข้าวตรงสู่ผู้บริโภค พร้อมชี้ไทยขาดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...