ยาวันละ 18 เม็ด เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ก้องภพ หนุ่มวิศวกรรม มทร.ธัญบุรี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          "ผมป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคSLE ตั้งแต่อายุ 13 ปี เวลาที่ผมป่วยตัวผมจะบวม หน้าบวม เหนื่อยง่าย ผิวลอก ต้องหยุดพักผ่อน ทุกวันนี้ผมต้องทานยาให้ตรงเวลา วันละ 18 เม็ด เพื่อรักษาอาการและความอยู่รอดของชีวิตผม และที่สำคัญเพื่ออนาคตวิศวกรอาชีพที่ผมใฝ่ฝัน" "ก้อง" นายก้องภพ วันโทน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมอาหาร ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ นักศึกษาสู้ชีวิตอีกหนึ่งคนที่ต้องต่อสู้กับการทำงานส่งตนเองเรียนและต่อสู้กับโรค SLE โรคที่ก้องภพต้องเรียนรู้และต่อสู้ในการเอาชีวิตรอด
          ก้อง เล่าว่า "ผมตรวจพบโรคนี้ตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ตัวบวมหน้าบวม แขนลอก นอนโรคพยาบาลอยู่ 1 เดือนเต็ม จากการวินิจฉัยโรคของหมอผมป่วยเป็นโรค SLE" พ่อกับแม่เลิกกันตั้งแต่ตนเองเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 3 ตนเองอาศัยอยู่กับพ่อ จึงหางานทำเพื่อหาเงินมาแบ่งเบาภาระทางบ้านโดยเริ่มทำงาน part time ที่เคเอฟซีตั้งแต่ชั้น ม.3 หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต ที่โรงเรียนธัญบุรี สอบตรงเข้าที่สาขาวิศวกรรมอาหาร ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ "อยากเป็นวิศวกร" เมื่อเข้ามาศึกษาที่ มทร.ธัญบุรี คุณพ่อซึ่งเป็นพนักงานที่บริษัท SPY โดนให้ออกจากที่ทำงาน คุณพ่อจึงออกมาขับสิบล้อ "อาชีพคนขับสิบล้อไม่ได้อยู่ประจำขับรถไปตามจังหวัดต่างๆ" ตนเองจึงอาศัยอยู่ที่บ้านคนเดียวและหาเงินส่งเสียตนเองเรียน ที่หยุดทำงานตอน ม.6 ต้องกลับมาทำงานอีกครั้ง โดยเข้าทำงานที่ เคเอฟซี ในตำแหน่งทอดไก่ โดยได้ชั่วโมงละประมาณ 40 บาท ทำช่วงที่หลังเลิกเรียน 18.00 – 23.00 น. รายได้ประมาณเดือนละ 4,000 บาท และช่วงปิดเทอม รายได้เดือนละ 8,000 – 9,000 บาท ที่ทำงานอยู่คลอง 2 อยู่ใกล้ ขับมอเตอร์ไซค์ใส่เสื้อแขนยาวส้วมหมวกกันน็อคป้องกันตนเองจากแสงแดด"เพราะผมโดดแดดมากไม่ได้"
          ค่าใช้จ่ายทั้งหมดตนเองเป็นคนรับผิดชอบ แต่บ้านที่อาศัยอยู่ปัจจุบันพ่อเป็นคนหาค่าเช่า เงินที่ได้ทั้งหมดจะแบ่งใช้จ่าย และจะใช้จ่ายประหยัดให้ได้มากที่สุด ค่าเทอม ค่าใช้จ่ายประจำวัน ใช้จ่ายวันละ 100 บาท ตอนเย็นกลับบ้านทำกับข้าวทานเอง 1 เดือน พ่อจะกลับมาหาตนเอง 1 ครั้งต่อเดือน "แค่นี้ผมดีใจแล้วครับ" มีบ้างที่ท้อ ที่ต้องทำงานหาเงินเรียนเอง เพื่อนไปเที่ยว ถ้ามีเวลาจะไปเที่ยวกับเพื่อน แต่นานๆ ครั้ง ไม่เคยน้อยใจที่ไม่ได้เที่ยว กลับโชคดีการทำงาน "สอนให้มีความพยายาม" ได้รู้จักสังคมได้เจอชีวิตของคนหลายๆ แบบ สังคมของคนทำงานสอนให้รู้ว่าต้องมีความรับผิดชอบ ต้องมีความตรงต่อเวลา 
          "นอกจากที่ต้องดิ้นรนหาเงินมาเรียนแล้ว ตนเองต้องต่อสู้กับโรค ที่ตนเองไม่ได้อยากเป็น แต่เมื่อเป็นแล้ว ต้องยอมรับ ตอนที่เริ่มเป็นใหม่ๆ มีท้อแท้ แต่เพื่อความมีชีวิตรอดตนเองต้องปฏิบัติตัว ทานยาตามที่หมอสั่งให้ตรงเวลา ไม่ตากแดด และไปพบหมอเดือนละ 1 ครั้ง "ค่ารักษาพยาบาลใช้สิทธิ์ประกันสังคม" เม็ดยาที่ผมทานเปลี่ยนไปตามที่หมอสั่ง ปัจจุบันตนเองทานยาวันละ 18 เม็ด แรกๆ ไม่อยากทานไม่อยากเอาเข้าปาก แต่เพื่อควบคุมอาการไม่ให้อาการกำเริบต้องทานยา ถ้าอาการกำเริบจะไปทำงานไม่ได้ ไปทำงานไม่ได้ ไม่มีเงินเรียน" ปัจจุบันตนเองเรียนได้เกรดเฉลี่ย 1.85 โดยเป็นเกรดเฉลี่ยที่น้อยมาก เพราะว่าตนเองต้องทำงาน เวลาส่วนใหญ่จะไปทำงาน ไม่ค่อยมีเวลาทบทวนหนังสือ แต่ตนเองจะพยายามไม่ให้เกรดต่ำกว่า 1.8 เทอมนี้ต้องตั้งใจเรียน ทำให้เกรดเฉลี่ยขึ้นมาสูงกว่า เพราะว่าจะโดนไทร์ออกจากมหาวิทยาลัย "ฝันให้ไกลไปให้ถึง ทุกปัญหามีทางแก้" ทุกปัญหามีทางออกเสมอ อยู่ที่ตัวเราเองคิดจะหาทางแก้ปัญหาหรือเปล่า "ผมทำทุกวันนี้คือทำเพื่อพ่ออยากให้พ่อสบาย เรียนจบมีงานทำ เป็นวิศวกรตามความฝันของผม" คนที่ป่วยเป็นโรคเดียวกับผม เรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคนี้ พยายามควบคุมตนเอง ปฏิบัติตนตามที่หมอสั่ง สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไปเช่นเดียวกับผม ก้องกล่าวทิ้งท้าย
ยาวันละ 18 เม็ด เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ก้องภพ หนุ่มวิศวกรรม มทร.ธัญบุรี
 
ยาวันละ 18 เม็ด เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ก้องภพ หนุ่มวิศวกรรม มทร.ธัญบุรี
 
ยาวันละ 18 เม็ด เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ก้องภพ หนุ่มวิศวกรรม มทร.ธัญบุรี
ยาวันละ 18 เม็ด เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ก้องภพ หนุ่มวิศวกรรม มทร.ธัญบุรี

ข่าวคณะวิศวกรรมศาสตร์+วิศวกรรมศาสตร์วันนี้

เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ ณ จังหวัดปราจีนบุรี เยี่ยมชมกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษที่เลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบบริหารจัดการตามมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้โมเดล "Circular Economy" หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ดั๊บเบิ้ล เอ นำมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน พร้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ... มทร.ธัญบุรี เจ๋ง! คิดค้นกระถางรักษ์โลกจากวัสดุชีวมวล สร้างรายได้ ลด PM 2.5 — หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ... คณะวิศวฯ มจพ. จับมือ สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย อบรมนักวิเคราะห์ระบบอัตโนมัติ SA ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ พ.ศ 2568 — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท...

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด เ... รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้ — จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แม...

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม... รอบที่ 3 รับสมัครนักศึกษาใหม่ รอบ Admission น้องๆนักศึกษาเตรียมตัวให้พร้อม — คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดรับนั...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดโ... 'SPU Engineering Camp 2025' ม.ศรีปทุม พานักเรียนสัมผัสโลกวิศวกรรม เรียนรู้จริง ปฏิบัติจริง! — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดโครงการ "SPU Enginee...

ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคีย... ฟอร์ติเน็ต จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยกระดับทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อส่งมอบนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับคุณภาพ ป้อนตลาด ฟอร์ — ฟอร์ติเน็ต ผู้...

NT ปลื้มเปิดตัว NT Metaverse ศูนย์บริการใ... NT ร่วมกับ จุฬาฯ เปิดตัวแพลตฟอร์มศูนย์บริการ NT Metaverse — NT ปลื้มเปิดตัว NT Metaverse ศูนย์บริการในโลกเสมือน พร้อมโชว์ผลงานสนับสนุนทุนวิจัยและโครงสร้าง...

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2568 รศ.ดร.พิชัย จั... คณะวิศวะ มทร.กรุงเทพ ตรวจสอบอาคารสูงในมหาวิทยาลัยประเมินความมั่นคงและปลอดภัยหลังแผ่นดินไหว — เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2568 รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหา...