ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นหากรักษาด้วยนวัตกรรมการรักษาแบบใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          แต่ปัจจุบันมีผู้ป่วยเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถเข้าถึงการรักษาดังกล่าว
          58 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin lymphoma - NHL) ทั้งหมดในประเทศไทย เป็นผู้ป่วยในกลุ่ม Diffuse large B cell lymphoma ซึ่งมีระดับความรุนแรงมากที่สุด
          หากผู้ป่วยสามารถเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาใหม่นี้ สามารถเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตมากขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์
          วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560 – การศึกษาใหม่พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิ้น (Non-Hodgkin lymphoma -NHL) ทั้งหมดในประเทศไทยมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้นหากได้รักษาอย่างถูกวิธี
          รายงานดังกล่าวมาจากผลการศึกษาจากฐานข้อมูลทะเบียนผู้ป่วย NHL ถึงลักษณะและข้อมูลทางคลินิค จำนวน 4,056 ราย ผ่านระบบอินเตอร์เนต จากศูนย์การแพทย์หลัก 13 แห่ง ใน 4 ภาคของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง 2560 
          จากงานวิจัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบบ นอน-ฮอดจ์กิ้น Non-Hodgkin (NHL) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทวิเคราะห์ เกี่ยวกับลักษณะทางพยาธิสภาพ ลักษณะโรค และ อัตราการรอดชีวิต จากกรณีศึกษาของประเทศไทย[1] พบว่า อายุเฉลี่ยของคนไทยที่พบว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ 56 ปี และพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยในกลุ่ม diffuse large B-cell lymphoma ซึ่งเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่รุนแรงที่สุด
          นอกจากนี้ งานวิจัยยังเผยอีกว่าจำนวนกว่า 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งหมด ได้รับการรักษาโดยเคมีบำบัด (คีโม) และจากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B-cell ทั้งหมด 3,402 รายนั้นมีจำนวนเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับการรักษานวัตกรรมใหม่ ซึ่งพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้โอกาสการรอดชีวิตของสูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างเดียวถึง 30%
          ปัจจุบันรัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะจัดหา นวัตกรรมดังกล่าวให้กับผู้ป่วยทุกราย หลังจากที่ได้พิจารณาให้เป็นยามาตรฐานในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว 
          ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธานินทร์ อินทรกำธรชัย ภาควิชาโลหิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ประธานกลุ่มการศึกษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย) กล่าวว่า "หลักฐานงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าถึงการรักษาด้วยนวัตกรรมใหม่นี้ มีโอกาสรอดชีวิตสูง ขึ้นกว่าในอดีตมาก"
          นพ.. ธานินทร์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "สิ่งสำคัญคือเราควรมีความตระหนักว่ามะเร็งไม่ได้เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบเฉพาะบุคคลเท่านั้น และควรให้ความสำคัญในเป็นวาระแห่งชาติ เพราะประเด็นนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ด้านของสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อครัวเรือน สังคม รวมไปถึงเศรษฐกิจด้วย ผมคิดว่ารัฐบาลควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย ด้วยการพิจารณาบรรจุนวัตกรรมใหม่นี้เข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติและจัดหายาเพื่อให้ผู้ป่วยทุกรายสามารถเข้าถึงได้ปีนี้"
          ทั้งนี้ข้อมูลการเสียชีวิตปี พ.ศ. 2558[2] โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ยังเปิดเผยว่า โรคมะเร็งนับเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตในประเทศ ซึ่งมีจำนวนที่สูงกว่าโรคหลอดเลือดสมองถึง 3 เท่า มากกว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนถึง 5 เท่า และสูงยิ่งกว่าโรคเบาหวานถึง 6 เท่า
ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นหากรักษาด้วยนวัตกรรมการรักษาแบบใหม่
 

ข่าวมะเร็งต่อมน้ำเหลือง+ผู้ป่วยมะเร็งวันนี้

แพทย์แนะนวัตกรรมการรักษารับ "วันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก" ด้วยยาพุ่งเป้ากลุ่มใหม่ เช่น Bi-specific antibody และเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด CAR-T Cell ความหวังใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรม เสวนา ปาฏิหาริย์ เปลี่ยนมะเร็ง ให้เป็นสุข Miracle is all around ครั้งที่ 10 หรือ Miracle X เพื่อรณรงค์เนื่องใน "วันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก" วันที่ 15 กันยายนของทุกปี ให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการรักษาแก่ผู้ป่วย การรักษาด้วย Targeted therapy กลุ่มใหม่ ๆ เช่น Bi-specific antibody และเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด CAR-T Cell ความหวังใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกลุ่มที่ไม่สามารถทำ Stem cell transplantation มาจุดพลังใจไปกับอดีตผู้ป่วย "The X Fighters :

ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย ร... ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฯ ตระหนักพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น ร่วมผลักดันการรับรู้ เพิ่มโอกาสหายขาดของผู้ป่วย — ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งป...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬ... จุฬาฯ แถลงความก้าวหน้านวัตกรรม "เซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell" โอกาสใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งของไทย โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ — จุฬาลงกรณ์ม...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬ... จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 17 ความก้าวหน้านวัตกรรม "เซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell" โอกาสใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งของไทย — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา...

มูลนิธิรามาธิบดีฯ องค์กรแห่งการให้ขอส่งต่... มูลนิธิรามาธิบดีฯ ส่งต่อแรงบันดาลใจดีๆ จากเรื่องราวจริง 3 อดีตผู้ป่วยผ่านภาพวาด 3 มิติ “ศิลปะสร้างสุข สานฝันในรั้วรามาฯ” — มูลนิธิรามาธิบดีฯ องค์กรแห่งการ...

ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย ช... ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฯ ชี้ 10 สัญญาณเตือน โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเช็คก่อน รู้ก่อนรักษาหายทัน — ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย ชี้ 10 สัญญาณเต...

ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทยจั... เปิดประสบการณ์ผู้ป่วย 'สู้มะเร็งต่อมน้ำเหลือง' จนหายขาด เนื่องใน "วันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก" — ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทยจัดเสวนา "ปาฏิหาริย์...