ยิง “จรวดบั้งไฟช้างสาร๑” ทะยานสู่ท้องฟ้า ฝันไกลต้นแบบส่ง ดาวเทียม - จรวดไทย ขึ้นสู่อวกาศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สจล. อัพเกรด "บั้งไฟ 4.0" ผนวกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หลักการ "แอโรไดนามิกส์" เข้ากับภูมิปัญญาไทย ผุด "จรวดบั้งไฟช้างสาร๑" พร้อมติดตั้ง GPS บอกพิกัดบันทึกข้อมูล เล็งเปิดน่านฟ้าจรวดขนส่งพาณิชย์ไทย ดัน "ยโสธร" สู่เมืองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ 
          นับจากวันนี้ไปถึง 3 เดือน คือช่วงเวลาที่ชาวอีสาน พร้อมใจกันสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมานานกว่า 100 ปี ซึ่งจากจุดเริ่มต้นในอดีตถึงปัจจุบันบั้งไฟที่จุดขึ้นฟ้าเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธินั้น ได้รับการพัฒนารูปแบบและเชื้อเพลิงตามภูมิปัญญาของชาวบ้าน จนสามารถพุ่งทะยานขึ้นสู่ที่สูงได้เร็วและไกลกว่าเดิม แต่หากได้มีการผนวกองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเข้าไป จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพต่อยอดภูมิปัญญาไทยได้ก้าวไกลยิ่งขึ้น
          สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. ร่วมกับ บริษัท Zignature Marketing จำกัด ซึ่งเป็นฝ่ายปฏิบัติการในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐ (U.S. Space and Rocket Center – USSRC) สถาบันวิจัยการบินและอวกาศแห่งประเทศไทย (Thailand Space and Aeronautics Research – TSR) ชมรมอนุรักษ์มรดกยโสธร และกองทัพบก นำเอาองค์ความรู้หลักการอากาศพลศาสตร์ (aerodynamics) และเทคโนโลยีติดตามจรวด หรือ GPS เพื่อบอกพิกัด ความเร็ว ความสูง และประสิทธิภาพของการยิง รวมถึงติดตั้งเทคโนโลยีจับภาพเคลื่อนไหว ขณะจรวดเดินทางจากพื้นสู่อากาศ พัฒนาเป็นบั้งไฟต้นแบบ 4.0 ชื่อว่า "จรวดบั้งไฟช้างสาร๑" ความสูงประมาณ 2 เมตร หน้าตัดกว้างประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม อันเป็นการผนวกความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ากับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
          ผศ.พลศาสตร์ เลิศประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาเทคโยโลยีป้องกันประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผู้ดูแลโครงสร้างจรวดสมัยใหม่ตามหลักการอากาศพลศาสตร์ (aerodynamics)กล่าวว่า จุดเริ่มต้นในการเข้ามาศึกษารูปแบบและความสามารถของบั้งไฟ อันเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากประเพณีบุญบั้งไฟถือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน แต่ในระยะหลังเนื่องจากชาวบ้านได้พัฒนารูปแบบและเชื้อเพลิงของบั้งไฟได้ดีขึ้น ทำให้สามารถพุ่งขึ้นไปในระยะที่สูงมากโดยหากเป็นบั้งไฟแสน ซึ่งบรรจุเชื้อเพลิงหรือดินดำประมาณ 120กิโลกรัม ความสูงที่พุ่งขึ้นฟ้าไปไกล 5-10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นขีดความสามารถที่สูงใกล้เคียงกับจรวดสมัยใหม่ในต่างประเทศมาก
          ดังนั้น เพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ให้บั้งไฟของคนไทยมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพที่ดีขึ้น และเพื่อศึกษาข้อมูลที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครศึกษามาก่อน ตั้งแต่รูปแบบ น้ำหนัก ประสิทธิภาพการยิง ความเร็ว ความสูง และพิกัดที่ตกพื้น จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาและศึกษาต้นแบบบั้งไฟ 4.0 ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ นอกจากจะช่วยให้การจุดบั้งไฟมีความปลอดภัยที่มากขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันยังทำให้เกิดความชัดเจนของข้อมูลสำหรับใช้อ้างอิงตามหลักวิชาการได้อีกด้วย โดยในส่วนของการพัฒนาบั้งไฟตามหลักการอากาศพลศาสตร์ หรือ aerodynamics นั้น ได้มีการติดตั้งครีบหรือฟินเข้าไปในส่วนของปลายบั้งไฟด้วย ซึ่งตามหลักการแล้วนอกจากเพิ่มความสมดุลแล้ว ยังเพิ่มเสถียรภาพการทะยานสู่อากาศด้วย โดยจากการทดสอบพบว่าสามารถขึ้นได้สูงกว่าปกติถึง 2 เท่า
          "จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบั้งไฟต้นแบบ หลังจากพัฒนาตามหลักการอากาศพลศาสตร์ ซึ่งพบว่าช่วยให้บั้งไฟพุ่งได้สูงขึ้นมากกว่าเดิมกว่า 2 เท่า นับเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนารูปแบบการส่งวัตถุไปสู่ขอบอวกาศ ประยุกต์เป็นแนวทางในการส่งดาวเทียมหรือจรวดของไทย ขึ้นสู่อวกาศได้ในอนาคต ขณะที่การติดตั้งเทคโนโลยีติดตามจรวด หรือ GPS ซึ่งจะสามารถบอกพิกัด ความเร็ว ความสูง และประสิทธิภาพของการยิง รวมถึงติดตั้งเทคโนโลยีจับภาพเคลื่อนไหวขณะจรวดเดินทางจากพื้นสู่อากาศ ยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวนพื้นที่ปลอดภัย โดยเฉพาะรัศมีในการตกสู่พื้นดินที่ถือเป็นความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความสูญเสีย ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านได้อีกด้วย" ผศ.พลศาสตร์ กล่าว
          นายพลกฤษณ์ สุขเฉลิม สถาบันวิจัยการบินและอวกาศแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า การอัพเกรดบั้งไฟซึ่งถือเป็นตัวแทนของเทคโนโลยีแบบเก่า เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้บั้งไฟที่มีความสามารถสูงอยู่แล้วมีภาพลักษณ์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น และมีการศึกษาในมุมมองตามหลักวิทยาศาสตร์มากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงประเพณีบุญบั้งไฟของไทยเรา ไม่ต่างจากการแข่งขันจรวดในต่างประเทศ กีฬาที่มีการแข่งขันจรวดทำมือมานานกว่า 20-30 ปี โดยวัดจากความสูงที่พุ่งขึ้นฟ้าได้สูงที่สุดเหมือนในบ้านเรา แต่ที่แตกต่างคือของต่างประเทศมีการติดตั้งระบบเพื่อติดตามจรวด ทำให้รู้ระดับความสูงและพิกัดของจรวดหลังจากพุ่งขึ้นฟ้า ในขณะที่ของไทยเรายังไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อบันทึกหรือศึกษาอย่างจริงจัง แต่จากการศึกษารูปแบบและเชื้อเพลิงของบั้งไฟไทยถือว่าเรามีของดีไม่แพ้ต่างชาติ เพียงแต่ว่ายังไม่มีการผนวกองค์ความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์เข้ามายกระดับภูมิปัญญาของชาวบ้านให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
          ขณะที่ นายกฤษณ์ คุนผลิน ผู้แทนศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ USSRC ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและบริหารทุนวิจัยโครงการนี้ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการพัฒนาโครงการ "บั้งไฟ 4.0 วิถีไทย วิถีโลก" ว่า ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการพูดคุยกับนาย Charles Duke นักบินอวกาศ Apollo 16 ซึ่งกล่าวว่าไทยเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่เริ่มยิงจรวด จึงเริ่มรวบรวมทีมงานและหาทุนเพื่อนำเทคโนโลยีไทยแท้ผนวกเข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ในการสร้างเทคโนโลยีของไทยเองในการสำรวจและทำธุรกิจด้านอวกาศ ซึ่งเมื่อมาเห็นบั้งไฟของไทยเป็นครั้งแรกที่ยโสธร สิ่งที่เห็นคือธุรกิจแสนล้านเหรียญสหรัฐและทำให้นึกถึงการที่ธุรกิจอวกาศ ได้เปลี่ยนเมือง Huntsville ในรัฐ Alabama ที่ในอดีตทำเกษตรกรรมเหมือนยโสธร แต่ในปัจจุบันเป็นเมืองด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สองของสหรัฐ จึงเชื่อมั่น การเอาจริงในเรื่องนี้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15-20 ปี จะทำให้เห็นผลด้านการพัฒนาธุรกิจอวกาศในไทยอย่างแน่นอน
          "กว่า 60 ปี ที่ผ่านมา ชาวตะวันตกใช้จรวดในการสำรวจอวกาศ เพื่อพามนุษย์และเครื่องจักรต่างๆ ออกสู่อวกาศ จนการเดินทางสู่อวกาศด้วยจรวดเป็นการเดินทางที่แพร่หลายในปัจจุบัน หากแต่ไม่ใช่เพียงชาวตะวันตกที่เริ่มต้นคิดค้นการเดินทางขึ้นสู่ท้องฟ้าด้วยจรวด แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คนไทยนี่เองที่เริ่มต้นสร้างและยิงจรวดขึ้นสู่ท้องฟ้ามาก่อนแล้วกว่าพันปี ซึ่งก็คือประเพณีบุญบั้งไฟนั่นเอง เบื้องหลังวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน คือเทคโนโลยีชาวบ้านที่มาจากภูมิปัญญาในการสร้างบั้งไฟที่ตกผลึกและสั่งสมผ่านการทดลองมานับพันปี จนเกิดเป็นบั้งไฟที่ทรงพลังที่ไม่แพ้การแข่งขันจรวดในที่อื่นๆ ของโลก ซึ่งนวัตกรรมชาวบ้านนี้หากนำมาผนวกกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ จะสามารถนำไปสู่การทำให้บั้งไฟเป็นจรวดที่ทันสมัยอย่างแน่นอน" นายกฤษณ์ กล่าว
          ด้าน ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สำหรับแนวทางการส่งเสริมขีดความสามารถของนักศึกษาไทย ในด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศนั้น ขณะนี้ สจล. ได้จัดตั้งวิทยาลัยวิศวกรรมอวกาศและระบบโลก (College of Space and Earth Systems Engineering : SESE) คาดว่าจะเปิดรับสมัครนักศึกษาและทำการเรียนการสอนได้ในปีการศึกษา 2561 ซึ่งในเบื้องต้นได้มีความร่วมมือกับองค์การอวกาศโลกและของญี่ปุ่น ตามความมุ่งมั่นที่ต้องการสร้างนักบินอวกาศไทยให้ได้ในอนาคต ควบคู่ไปกับการผลิตบุคลากรที่มีองค์ความรู้ด้านการจัดการน้ำ ภัยธรรมชาติ พลังงาน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในโลกปัจจุบัน โดยได้ลงนามความร่วมมือกับกรมฝนหลวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำฝนหลวงเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งของประเทศ และร่วมมือกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการรับรู้ระยะไกลและพยากรณ์อาการและภูมิภาค เพราะหากเรามีการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำจะช่วยเหลือเกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน
          ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา ทีมพัฒนาบั้งไฟต้นแบบ 4.0 ได้ยิง "จรวดบั้งไฟช้างสาร๑" ความสูงประมาณ 2 เมตร หน้าตัดกว้างประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม ขึ้นสู่ท้องฟ้า จ.ยโสธร ในประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ บันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ผลในด้านต่างๆ พบว่าสามารถทะยานสู่ท้องฟ้าจุดสูงสุดที่ระดับ 470 เมตร โดยมีอัตราความเร็วขาขึ้นที่ 450 กิโลเมตร/ชม. และใช้เวลาประมาณ 21 วินาที ซึ่งในภาพรวมถือว่าประสิทธิภาพของการยิงในครั้งนี้ เป็นที่น่าพอใจและประสบผลสำเร็จตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ สามารถนำไปเป็นต้นแบบในการต่อยอดรูปแบบ การส่งวัตถุเช่น ดาวเทียม และจรวดของไทย ขึ้นสู่อวกาศได้ในอนาคต
          นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.th
ยิง “จรวดบั้งไฟช้างสาร๑” ทะยานสู่ท้องฟ้า ฝันไกลต้นแบบส่ง ดาวเทียม - จรวดไทย ขึ้นสู่อวกาศ
 
ยิง “จรวดบั้งไฟช้างสาร๑” ทะยานสู่ท้องฟ้า ฝันไกลต้นแบบส่ง ดาวเทียม - จรวดไทย ขึ้นสู่อวกาศ
ยิง “จรวดบั้งไฟช้างสาร๑” ทะยานสู่ท้องฟ้า ฝันไกลต้นแบบส่ง ดาวเทียม - จรวดไทย ขึ้นสู่อวกาศ
ยิง “จรวดบั้งไฟช้างสาร๑” ทะยานสู่ท้องฟ้า ฝันไกลต้นแบบส่ง ดาวเทียม - จรวดไทย ขึ้นสู่อวกาศ

ข่าวจรวดบั้งไฟช้างสาร๑+วิทยาศาสตร์วันนี้

วว. ร่วมเป็นเกียรติในการประชุมวิชาการนานาชาติ "Green Asia and Sustainability Forum" พร้อมโชว์ภารกิจ วทน.

ดร.พงศธร ประภักรางกูล รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.ปริยะดา วิสุทธิแพทย์ ผู้อำนวยการ สำนักสื่อสารองค์กร (สสอ.) บุคลากร สสอ. และสำนักยุทธศาสตร์วิสาหกิจ ร่วมเป็นเกียรติในการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 11 "Green Asia and Sustainability Forum" หัวข้อ "นวัตกรรม วิทยาศาสตร์สุขภาพ คุณภาพการศึกษาเชิงดิจิทัล และการจ้างงานที่มีผลิตภาพต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคมวิถี

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. เยือนจีนมุ่งเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิจัยพัฒนาสู่ระดับนานาชาติ — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... กระทรวง อว. ผนึกกำลัง สอวช. เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 ดันเทคโนโลยีสู้วิกฤตภูมิอากาศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สำ...

(14 พฤษภาคม 2568) ณ โถงแถลงข่าว ชั้น Grou... ENTEC สวทช. โชว์พลังวิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนระบบนิเวศพลังงานไทยที่ยั่งยืน — (14 พฤษภาคม 2568) ณ โถงแถลงข่าว ชั้น Ground อาคารวิจัยโยธี สวทช. ถนนพระราม ...

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew) เป็นหนึ่งในถั... วว. พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำนมธัญพืชเสริมน้ำผลมะม่วงหิมพานต์ — เม็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew) เป็นหนึ่งในถั่วที่มีเส้นใยอาหาร อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุม...

เยาวชนไทยพิชิตชัย 1 เหรียญทอง 6 เหรียญทองแดง 1 เกียรติคุณประกาศ ฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย จากซาอุดีอาระเบีย

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เปิดเผยว่าตามที่ได้จัดส่งผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอ...