อพท. จับมือนิด้าจัดหลักสูตรท่องเที่ยวยั่งยืนปั้นคนรุ่นใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          อพท. ผนึกนิด้าจัดทำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนสาขาการท่องเที่ยว การโรงแรม และการบริการ ตอกย้ำเป็นองค์กรแห่งองค์ความรู้
          พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า เพื่อยกระดับการดำเนินงานของ อพท. ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อพท. จึงได้ร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จัดทำกรณีศึกษา (Case Study) ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ อพท. ที่สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายใต้เกณฑ์ GSTC และจัดฝึกอบรมคณาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ในการนำกรณีศึกษาของ อพท. ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และแวดวงวิชาการได้อย่างดียิ่งขึ้น
          กิจกรรมการฝึกอบรมครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายใต้เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีต้นแบบการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เทียบเคียงได้กับมาตรฐานสากล และที่สำคัญคือ เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวที่นำไปสู่ความ "มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" ตามนโยบายของรัฐบาล
          ทั้งนี้ "สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก" หรือ Global Sustainable Tourism Council (GSTC) เป็นองค์กรระดับโลกที่ได้กำหนดเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria: GSTC) ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ โดยองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) ได้นำเอาเกณฑ์ของ GSTC ไปปรับใช้กับประเทศสมาชิก เนื่องจากเป็นเกณฑ์ที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างเป็นระบบ โดยแหล่งท่องเที่ยวจะต้องบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมองภาพรวมที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ 1) การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน 2) การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบ ทางสังคม-เศรษฐกิจแก่ชุมชนท้องถิ่น 3) การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบ ทางวัฒนธรรมแก่ชุมชนและนักท่องเที่ยว และ 4) การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบด้านลบทางสิ่งแวดล้อม
          สำหรับ อพท. ได้นำแนวทางของเกณฑ์ GSTC มาปรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานในพื้นที่พิเศษทั้ง 6 แห่ง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 โดยปี 2559 อพท. ได้จัดสัมมนาและนิทรรศการ "Grow Green Together, Travel Forever" เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559 เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงาน อพท. ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ GSTC ทั้ง 4 ด้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ อพท. ภายใต้เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) ให้เป็นที่ยอมรับ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทั้งบุคคลทั่วไปและในวงการวิชาการ ซึ่งจะสามารถยกระดับภาพลักษณ์การดำเนินงานของ อพท. ให้เป็นที่รู้จักในฐานะคลังความรู้ชั้นนำด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่สำคัญของประเทศ และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การปฏิรูปการท่องเที่ยวไทยให้อยู่ในระดับสากลได้อีกทางหนึ่ง
          อย่างไรก็ตาม GSTC ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ อพท. เมื่อปี 2558 และได้พัฒนาผู้ฝึกสอนที่ได้รับอนุญาต (Authorized Trainers) ให้กับบุคลากรของ อพท. รวมทั้งมอบสิทธิให้ อพท. นำเนื้อหาหลักสูตรระดับโลกนี้มาแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งในปี 2559 อพท. ได้มีการจัดการฝึกอบรมในพื้นที่พิเศษของ อพท. ก่อน จากนั้น อพท. กับ GSTC ได้ทำการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับบริบทของประเทศไทยมากที่สุด และเปิดการฝึกอบรมให้กับบุคคลทั่วไปในระยะต่อไป
          ดังนั้นในการร่วมมือกับนิด้าเพื่อจัดทำชุดองค์ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบกรณีศึกษา (Case Study) ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ อพท. จึงเป็นการขยายผล และต่อยอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายใต้เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) ของ อพท. ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในวงกว้าง สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรในวงการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว หน่วยงานผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานปฏิบัติ กลุ่มคนรุ่นใหม่ และผู้สนใจทั่วไป สามารถใช้เป็นต้นแบบการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เทียบเคียงกับมาตรฐานสากลได้





อพท. จับมือนิด้าจัดหลักสูตรท่องเที่ยวยั่งยืนปั้นคนรุ่นใหม่ อพท. จับมือนิด้าจัดหลักสูตรท่องเที่ยวยั่งยืนปั้นคนรุ่นใหม่

ข่าวสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์+สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตวันนี้

เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ผนึก NIDA เปิดการอบรมหลักสูตร "ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม"

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร"ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม" หรือ NIDA Bio Circular Green Economy Executive Program (NIDA BCG) จัดโดย เวฟ บีซีจี (Wave BCG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยมีนายถิรพงศ์ คำเรืองฤทธิ์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล หรือ (WAVE) และรศ. ดร.ดนุวัศ สาคริก (ซ้าย) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... บางจากฯ แบ่งปันแนวคิดการจัดการงานสื่อสาร แนวคิดการบริหารธุรกิจอย่างมีสมดุล เพื่อความยั่งยืน — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยื...

โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโต... โบลท์ (Bolt) เผยสถิติ คนไทยมีแนวโน้มหันมาเลือกการเดินทางแบบปลอดมลพิษมากขึ้น — โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของหมวดรถยนต์ไฟฟ้า (...

บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู... PHOL เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาปริญญาตรีควบโท วิศวกรรมการเงิน KMITL-NIDA เยี่ยมชมบริษัท — บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสิน...