นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี 2560 เพื่อพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก ร่วมกับนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ดร.มัตถกา คงขาว นักวิจัยห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำอาง หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสุขภาพ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี พ.ศ. 2560 เพื่อทำวิจัยในหัวข้อ "An development of a new delivery system for HPV vaccine candidates against cervical cancer" หรือการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ในการรักษามะเร็งปากมดลูก จากรัฐบาลออสเตรเลีย (Australia-APEC Women in Research Fellowship) กำหนดสิงหานี้ เดินหน้าทำวิจัยร่วมกับศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ตั้งเป้าให้วิธีรักษามะเร็งโดยใช้วัคซีนเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษามะเร็งปากมดลูกต่อไป
          ดร.มัตถกา คงขาว เปิดเผยว่า "งานวิจัยที่ได้รับทุน คือเรื่อง "The development of a new delivery system for HPV vaccine candidates against cervical cancer" เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ในการรักษามะเร็งปากมดลูก เนื่องจากในปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ก่อให้เกิดการตายของผู้หญิงทั่วโลกเป็นอันดับที่ 2 การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดร่วมกับการให้เคมีบำบัดซึ่งเป็นวิธีรักษาทั่วไปของโรคมะเร็ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อการรักษาต่ำ หรือแม้กระทั่งตอบสนองในช่วงแรกและเกิดการกลับมาใหม่ของมะเร็ง ดังนั้น การหาวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกวิธีใหม่ จึงยังเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจของนักวิจัยด้านมะเร็ง โดยมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุเกือบ 100% มาจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า HPV หรือ Human papilloma virus ฉะนั้น การรักษาโดยใช้วัคซีนเพื่อไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เพิ่มขึ้นเพื่อทำลายไวรัสเหล่านี้หรือภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษามะเร็งประเภทนี้ นอกจากนี้ วัคซีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูกที่มีอยู่ท้องตลาดขณะนี้เป็นวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน แต่ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการรักษาเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดมะเร็งเหล่านี้"
          "งานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นการทำงานร่วมกับ Professor Istvan Toth จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (The University of Queensland) ในการพัฒนาวัคซีนสำหรับการรักษามะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งออกแบบระบบนำส่ง เพื่อนำส่งวัคซีนที่ได้ไปยังเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส HPV ของมะเร็งปากมดลูกอย่างจำเพาะเจาะจง และยังเป็นการริเริ่มการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดในการต่อต้านและรักษามะเร็งปากมดลูกอีกด้วย โดยมีกำหนดจะเดินทางไปทำวิจัยที่ออสเตรเลียในเดือนสิงหาคมนี้"
          ทั้งนี้ ทุน Australia-APEC women in Research Fellowship เป็นแหล่งทุนที่สนับสนุนเงินทุนวิจัยหลังปริญญาเอกให้กับนักวิจัยหญิง ที่ประสบความสำเร็จในการทำวิจัยจากกลุ่มประเทศเอเปค โดยทุนวิจัยนี้เป็นการส่งเสริมการทำวิจัยร่วมกันของนักวิจัยหญิงในกลุ่มประเทศเอเปคกับสถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในประเทศออสเตรเลีย โดยแหล่งทุนจะเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนเพื่อทำวิจัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและกระชับความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัย เพิ่มเครือข่ายงานวิจัยและเปิดโลกทัศน์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกับนักวิจัยในประเทศออสเตรเลีย
นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี 2560 เพื่อพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก ร่วมกับนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์
 
นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี 2560 เพื่อพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก ร่วมกับนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์
นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี 2560 เพื่อพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก ร่วมกับนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์ นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี 2560 เพื่อพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก ร่วมกับนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+รัฐบาลออสเตรเลียวันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร... สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น — สวทช. จับมือมูลนิธิ SO...

กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค กระทรว... กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน — กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...