รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          วันนี้ (15 พฤษภาคม 2560) ที่ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เห็นชอบการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ FiT สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) โดยมีหลักเกณฑ์เงื่อนไข ดังนี้ ขนาดโครงการมีกำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 50 เมกะวัตต์ เป็นสัญญาประเภท Non-firm สำหรับการรับซื้อไฟฟ้าไม่ต้องผ่านกระบวนการแข่งขันด้านราคา (Competitive Bidding) โดยต้องเป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. หรือเป็นโครงการภายใต้ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ของกระทรวงมหาดไทย ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการกลางจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจะต้องมีสัญญาในการรับขยะชุมชนเป็นเชื้อเพลิงหรือเชื้อเพลิง RDF จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยืนยันปริมาณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการผลิตตลอดอายุโครงการ และสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กทม. และเมืองพัทยา) โดยมีอัตราการรับซื้อ FiT เท่ากับ 3.66 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ ในส่วนของการกำหนดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าฯ มอบหมายให้ กกพ. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย รับไปดำเนินการ โดยให้คำนึงถึงแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศเป็นสำคัญ และนำเสนอ กบง. พิจารณาเห็นชอบก่อนออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าฯ
          พร้อมกันนี้ ที่ประชุม กพช. ได้รับทราบความคืบหน้าการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร ซึ่งมีเป้าหมายการรับซื้อรวม 800 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น หน่วยงานราชการ 400 เมกะวัตต์ และ สหกรณ์ภาคการเกษตร 400 เมกะวัตต์ โดยโครงการฯ ในระยะที่ 1 จากเป้าหมายการรับซื้อ 400 เมกะวัตต์ มีผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตรทั้งหมด จำนวน 67 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 281.32 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีโครงการฯ ที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ตามกำหนด 55 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 232.87 เมกะวัตต์ ปฏิเสธการรับซื้อ 1 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 5 เมกะวัตต์ และอีก 11 ราย กำลังผลิตติดตั้ง 43.45 เมกะวัตต์ ได้ยื่นอุทธรณ์ เนื่องจากมีเหตุที่ทำให้โครงการฯ ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่ง กกพ. อยู่ระหว่างการพิจารณา สำหรับโครงการฯ ในระยะที่ 2 เนื่องจาก กกพ. จำเป็นต้องหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกรณีหน่วยงานราชการ จึงออกประกาศจัดหาไฟฟ้าฯ ได้ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2560 โดยมีเป้าหมายการรับซื้อ 219 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น สหกรณ์ภาคการเกษตร ประมาณ 119 เมกะวัตต์ และหน่วยงานราชการ 100 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2561 แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติมีข้อจำกัด ทั้งระยะเวลาในการดำเนินงานและข้อกำหนดตามกฎหมาย ซึ่งอาจส่งผลทำให้โครงการฯ ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล สอดคล้องกับสถานการณ์ และขั้นตอนการดำเนินงานในทางปฏิบัติ ที่ประชุม กพช. จึงได้เห็นชอบมอบอำนาจให้ กบง. พิจารณาการขยายระยะเวลาจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ของโครงการฯ ในระยะที่ 1 สำหรับกรณีที่ กกพ. พิจารณาการอุทธรณ์แล้วฟังขึ้น แต่ทั้งนี้ให้กำหนดบทลงโทษปรับลดอัตรา FiT ลง ร้อยละ 5 จากอัตรา FiT ที่เคยได้รับอนุมัติไว้ที่ 5.66 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกรณีโครงการโซลาร์ค้างท่อ และหักลดระยะเวลาการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามเหตุผลข้อเท็จจริงจากการอุทธรณ์ โดยอายุของสัญญาจะยังสิ้นสุดภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2584 พร้อมเห็นชอบให้เลื่อนกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ของโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร พ.ศ. 2560 (โครงการฯ ระยะที่ 2) จากเดิมภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2561 เป็นวันที่ 30 ธันวาคม 2561 โดยมอบหมายให้ กกพ. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และเห็นชอบให้ยุติการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการฯ ภายหลังจากการดำเนินการในระยะที่ 2 แล้วเสร็จ
          นอกจากนี้ ที่ประชุม กพช. ยังได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าร่างพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2560 ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และ สำนักงานบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) (สบพน.) อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนต่อร่าง พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันฯ ผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2560 รวมทั้งจัดทำรายละเอียดการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (RIA) และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติ มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา ครม. และ สนช. ต่อไป คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ปลายปีนี้ ทั้งนี้ วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันฯ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ผันผวนมากจนเกินไป รวมทั้งเป็นกลไกหลักของประเทศในการป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชนจากการปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน
          รวมทั้งรับทราบแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสภาวะวิกฤติก๊าซธรรมชาติ ปี 2564 – 2566 ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ เนื่องจากความล่าช้าของการสรุปแนวทางการบริหารจัดการก๊าซในอ่าวไทย ทำให้การผลิตไม่ต่อเนื่องและก๊าซมีปริมาณลดลง รวมทั้งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดไม่สามารถดำเนินการได้ ส่งผลทำให้การจัดหาก๊าซธรรมชาติไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ที่คาดการณ์ไว้ตามแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2558 – 2579 (Gas Plan 2015) ที่ปรับปรุงใหม่ ทั้งนี้ คาดว่าปัญหาดังกล่าวฯ จะส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศ คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าสูงถึง 13,623 ล้านหน่วย หรือเทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ขนาด 1,700 เมกะวัตต์ โดยกระทรวงพลังงานมีมาตรการในการดำเนินการต่างๆ ดังนี้ การเจรจาตกลงราคาและปริมาณการจัดหาก๊าซธรรมชาติโครงการบงกชเหนือ โดยมีการรับประกันอัตราขั้นต่ำในการผลิต ในช่วงปี 2562 - 2564 เพื่อให้มีปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติก่อนสิ้นอายุสัมปทานในปี 2565 เพิ่มขึ้น พร้อมกำหนดแนวทางเลือกสำหรับการเตรียมความพร้อม ทั้งด้านการลดความต้องการใช้ไฟฟ้า (Demand Side) อาทิ การส่งเสริมติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา (Solar Rooftop) เพื่อลดความต้องการไฟฟ้าช่วงพีคกลางวันและการใช้มาตรการ Demand Response (DR) เพื่อประหยัดไฟฟ้าตามช่วงเวลาที่ภาครัฐกำหนดเป็นการเฉพาะ สำหรับด้านการจัดหาเชื้อเพลิง/พลังงานไฟฟ้า (Supply Side) อาทิ การจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย (JDA) การเพิ่มความสามารถในการเก็บสำรองก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เช่น การขยายโครงการ LNG Receiving Terminal แห่งที่ 1 มาบตาพุด จ.ระยอง และเร่งรัดการพัฒนาโครงการ Floating Storage and Regasification Unit (FSRU) ในพื้นที่ภาคใต้ เป็นต้น รวมถึงการจัดหาพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติม เช่น รับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (สปป.ลาว หรือกัมพูชา) และรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมอีกตามนโยบาย SPP Hybrid-Firm และ VSPP-Semi Firm เพิ่มขึ้น เป็นต้น
          สำหรับโครงการ "โรงไฟฟ้า-ประชารัฐ" สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชุม กพช. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการฯ ซึ่งปัจจุบันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ร่วมกับบริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลเรียบร้อยแล้ว จำนวน 3 แห่ง คือ พื้นที่ อ.เมือง จ.นราธิวาส พื้นที่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี และพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 15.9 เมกะวัตต์ และจะจ่ายไฟเข้าระบบจำหน่ายของ กฟภ. รวม 12 เมกะวัตต์ ใช้เศษไม้ยางพาราเป็นเชื้อเพลิงหลัก โดยคาดว่าจะสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2562 – 2563 ทั้งนี้ โครงการฯ ดังกล่าว ยังกำหนดให้มีการจัดสรร 10% ของกำไรสุทธิในแต่ละปีกลับคืนให้แก่ชุมชนในพื้นที่ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยเพิ่มการสร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมระบบป้องกันตนเองของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบกระจายศูนย์ ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงในชุมชนอย่างยั่งยืน

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)

ข่าวกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ+ประยุทธ์ จันทร์โอชาวันนี้

บอร์ด ปตท. เคาะแนวทางช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง ยึดมั่นธรรมาภิบาลต่อทุกภาคส่วน

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเทียบเท่า 6,000 ล้านบาท มุ่งช่วยเหลือประชาชน มั่นใจไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่มกราคม เมษายน 2566) และขอความร่วมมือ ปตท

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลั... สนพ. จัดกิจกรรมสัมมนา “สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนPDP 2018” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา — กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัม...

กิจกรรมสัมมนา “การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผน PDP 2018 " ภาคตะวันออก

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัมมนา "การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (Power Development Plan : PDP 2018) ภาคตะวันออก" ซึ่งแผนดังกล่าวได้ผ่านความ...

หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน... นักลงทุนข้ามชาติ ห่วงรัฐไม่เร่งต่อสัญญา SPPกระทบอุตสาหกรรม ฉุด EEC สะดุด — หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันที่ 9 สิงหาคม 2561 ระบุว่า ...

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ...

กพช. รับทราบแนวทางการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สัมปทานจะสิ้นอายุ

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีวาระรับทราบในหลักการการบริหารจัดการ...

กกพ. ย้ำหลักการตามนโยบายการกำหนดโครงสร้างค่าฟ้าฟ้าใหม่ ปี 61

"กกพ."ย้ำชัด "ปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่" รอบล่าสุด ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษา เพื่อดูผลกระทบให้รอบด้านอย่างสมดุล พร้อมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนก่อนประกาศใช้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า...