จิล ดัลลี่ ผู้บุกเบิกสวัสดิภาพของสัตว์และผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย เสียชีวิตแล้ว หลังต่อสู้กับมะเร็งในระยะสั้นๆ ของแชมป์ระดับเอเชียของสุนัขและแมวผู้ยากไร้

21 Feb 2017
เป็นเรื่องที่น่าเสียใจและเสียดายอย่างสุดซึ้ง ในการแถลงข่าวการจากไปของ จิล ดัลลี่ ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย ในขณะที่มีอายุเพียง 58ปี หลังจากที่ต่อสู้กับโรคมะเร็งด้วยระยะเวลาเพียงสั้นๆ จิล เข้ารับรางวัล "เคไนท์ ฮีโร่ ออฟ เดอะ เยียร์" (Canine Hero of the year) ที่งานประชุมเพื่อสัตว์ในเอเชีย ปี 2554 (2011 Animals for Asia Conference) ณ เมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้เขายังเป็นบุคคลแรกที่ไม่ใช่ชาวเอเชียโดยกำเนิด ที่ได้รับการขนานนามจากสถานีช่องชาแนล นิวส์ เอเชีย๖Channel News Asia)ของประเทศสิงคโปร์ ให้เป็นชาวเอเชียแห่งปี (Asian of the year)
จิล ดัลลี่ ผู้บุกเบิกสวัสดิภาพของสัตว์และผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย เสียชีวิตแล้ว หลังต่อสู้กับมะเร็งในระยะสั้นๆ ของแชมป์ระดับเอเชียของสุนัขและแมวผู้ยากไร้

หลังจากเกษียญ จิล และจอห์น สามีของเธอ ย้ายจากบ้านเกิด ยอร์กเชอร์ ประเทศอังกฤษ ไปอยู่จังหวัดภูเก็ต ในปี 2546 ทั้งสองมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ที่จะทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับสุนัขและแมวเรร่อน น่ากลัว ปัญหาที่พวกเขาได้สังเกตเห็นก่อนหน้านี้หลังจากได้มาเที่ยวที่ภูเก็ตในช่วงพักร้อนเป็นเวลาหลายครั้ง เขาทั้งสองได้จัดตั้งทีมงานโดยร่วมกับ มาร์กอต ฮอมบวร์ก สุภาพสตรีชาวดัตช์ วัยเกษียณ ที่ได้จดทะเบียนมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยในนามมูลนิธิของดัตช์ ในปีก่อนหน้า และได้ เริ่มจัดการทำหมันให้สุนัขจรจัดในระแวกที่เธออาศัยอยู่ ช่วงแรกในกรุงเทพฯ ก่อนที่จะย้ายไปพำนักที่จังหวัดภูเก็ตในเวลาต่อมา

พวกเขาได้ทำงานร่วมกัน ในการดูแลพยาบาลสุนัขและแมวเร่ร่อนบนเกาะ และจัดทำคลีนิคทำหมันเคลื่อนที่รอบๆเกาะภูเก็ต ด้วยกันกับอาสาสมัครสัตวแพทย์จากนานาประเทศ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นทุนทรัพย์ของพวกเขาเอง เพียงหนึ่งปีถัดมาหลังจากนั้น จิล ก็อ่อนแอลง จากอาการซี่โครงหัก เหตุจากที่เธอช่วยสุนัขตัวหนึ่ง ที่วิ่งลงไปในนาข้าวที่มีน้ำท่วมขัง การช่วยเหลือครั้งนี้ ทำให้เธอติดเชื้อจากแบคทีเรียในดินอย่างไม่รู้ตัว และเพียงไม่กี่วันต่อมา หมอบอกว่าเธอมีโอกาสรอดชีวิตเพียง 10% จากเชื้อเซบติซิเมียนี้ วิธีเดียวที่จะรักษาชีวิตเธอไว้ได้ คือการตัดขาบริเวณตั้งแต่หัวเข่าลงไปของเธอออกทั้งสองข้าง ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 เธอได้รับการยืนยันจากโรงพยาบาล ในการกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านช่วง

คริสมาสต์ สามวันหลังจากนั้นเกิดภัยพิบัติสึนามิ เข้าถล่มเกาะภูเก็ตที่คร่าชีวิต เลออน์ โคเซ่นส์ เพื่อนและอาสาสมัครที่ดีที่สุดไป จิล ยังคงทำงานอย่างแข็งขันแม้ยังใช้รถเข็น เธอให้คำปรึกษากับผู้รอดชีวิตและญาติของเหยื่อสึนามิ ก่อนที่จะกลับไปเริ่มทำงานที่คลินิกเคลื่อนที่ทั่วบริเวณเกาะอีกครั้งหนึ่ง

จิล ฝึกตัวเองให้เดินด้วยขาเทียม ทั้งๆ ที่ทำให้ท่อนขาที่เสียดสีมีแผลพุพอง เปื่อย และและเจ็บปวด แต่เธอก็กลับมาเดินได้อีกครั้งครั้งในที่สุด ช่วง 12 ปีที่ผ่านี้ จิล ไม่ใช้รถเข็นอีกต่อไป

มาร์กอต จำต้องเกษียญจากงานก่อนที่จะถึงเวลาเนื่องจากปัญหาสุขภาพ จิล เริ่มผลักดันและขยายงานของมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยออกไป รวมถึงการสร้างศูนย์พำนักแด่เหล่าสัตว์เป็นแห่งแรก ในขณะที่ จอห์น สามีมุ่งเน้นไปที่การค้าเนื้อสุนัขทื่ผิดกฏหมาย และจิล เป็นผู้ดูแลการทำหมันสัตว์เป็นหลัก เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดใหม่ของลูกสุนัข และแมว ซึ่งภารกิจนี้ยังเป็นการเติมเต็มความฝันของเพื่อนผู้เป็นที่รัก เลออน์ ที่จะสร้างศูนย์พำนักให้กับสุนัขที่ถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ รวมถึงลูกสุนัขถูกทิ้งที่เด็กเกินไปที่จะดูแลตัวเอง

ช่วงสามปีที่ผ่านมานี้ เธอออกแบบ และควบคุมดูแลอาคารโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่อุทิศให้กับสุนัขยากไร้ข้างถนน ในเอเชีย และสิ่งอำนวยความสะดวกของศูนย์พักพิงที่อาจแตกต่างจากศูนย์อื่นทั่วโลก สถานที่ที่ จิล ดูแลการออกแบบส่วนต่างๆ ได้อย่างละเอียด แม้กระทั่งสกรูที่นำใช้งาน เพื่อให้ทุกส่วนตอบโจทย์การใช้งานจริง สมบูรณ์แบบ เป็นไปอย่างถูกต้อง ทุกอาคารของศูนย์พำนักฯ รวมถึงโรงพยาบาลแมวได้รับการออกแบบโดย จิล เองด้วย ที่มุ่งมั่นที่จะมอบการดูแลที่ดีที่สุดสำหรับสุนัขและแมวที่ไร้บ้าน

การทำงานของ จิล มุ่งเน้นเพื่อการดูแล พิทักษ์ รักษา สัตว์ที่ยากไร้เท่านั้น ปราศจากนัยยะทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจิลเองปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะเกี่ยวข้องกับใครใดๆ ก็ตามที่มีวัตถุประสงค์ที่ต่างออกไปจากความมุ่งมั่นนี้

ทุกวันนี้ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย เป็นมูลนิธิทำงานเพื่อสุนัขจรจัดและแมวที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ปัจจุบันมีพนักงานเกือบ 200 คน โดยเป็นพนักงานที่จดทะเบียนใน 7 ประเทศ และมีเป้าหมายในการทำหมันจำนวน 100,000 ครั้ง ต่อปี และเพื่อหยุดยั้งการทารุณกรรม และอุตสาหกรรมค้าเนื้อสุนัขในเอเชีย และกำลังขยายการดำเนินงานไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค และทั่วประเทศไทย ปราศจาก จิล และความมุ่งมั่นของเธอในการดำเนินภารกิจขององค์กรให้ประสบความสำเร็จ ก็ปราศจากมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยในวันนี้ สุนัขและแมวจรจัดของภูมิภาคได้สูญเสียหนึ่งในฮีโร่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกมัน เป็นเรื่องที่น่าเศร้าในการต่อสู้อย่างกล้าหาญเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้า แต่โรคร้ายก็ได้คร่าชีวิตของเธอไป

เธอจาก จอห์น สามีของเธอไป แต่ภารกิจในการช่วยเหลือสุนัขและแมวยังคงดำเนินต่อไป

จิล ดัลลี่ ผู้บุกเบิกสวัสดิภาพของสัตว์และผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย เสียชีวิตแล้ว หลังต่อสู้กับมะเร็งในระยะสั้นๆ ของแชมป์ระดับเอเชียของสุนัขและแมวผู้ยากไร้