รพ. กรุงเทพ เปิดตัวหน่วยการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร (GI Motility Unit) พร้อมเทคโนโลยีช่วยตรวจรักษาโรคท้องผูกและกรดไหลย้อน

24 Feb 2017
หากคุณมีอาการ เช่น ท้องผูก ขับถ่ายมีปัญหา กรดไหลย้อน แสบบริเวณหน้าอก อาการเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยมีอาการอยู่อย่ารอจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะปัญหาเหล่านั้นสามารถแก้ได้อย่างเป็นระบบ รวดเร็วและตรงจุดได้ที่หน่วยการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร (GI Motility Unit) โรงพยาบาลกรุงเทพ
รพ. กรุงเทพ เปิดตัวหน่วยการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร (GI Motility Unit) พร้อมเทคโนโลยีช่วยตรวจรักษาโรคท้องผูกและกรดไหลย้อน

ศ.พญ. วโรชา มหาชัย ผู้อำนวยการอาวุโสศูนย์ทางเดินอาหารและตับกรุงเทพ กล่าวว่า หน่วยการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร (GI Motility Unit) เป็นคลินิกเฉพาะทางซึ่งเปิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการการวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารทั้งส่วนบนและส่วนล่าง เพื่อรองรับผู้ป่วยในกลุ่มที่มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร จะเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในเรื่องของภาวะกรดไหลย้อน ภาวะท้องผูกมีอาการปวดหรือเจ็บขณะขับถ่ายหรือภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก หรือมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการขับถ่าย เป็นต้น รวมไปถึงลำไส้แปรปรวน การกลืนลำบาก ภาวะท้องอืด ท้องเฟ้อ ที่สืบค้นหาสาเหตุไม่ได้ โดยใช้เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยและการรักษารูปแบบใหม่ ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์เฉพาะทาง และบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ด้วยมาตรฐานการให้การดูแลรักษาในระดับสากล และทางโรงพยาบาลได้รับความไว้วางใจให้จัดงานประชุมวิชาการ International GI Motility Workshop ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแพทย์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเข้ามาศึกษาการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ในการตรวจรักษากลุ่มคนไข้ที่มีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นภาวะกรดไหลย้อน ท้องผูก ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นพ. กุลเทพ รัตนโกวิท แพทย์ด้านระบบการทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวเสริมว่า ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มาด้วยอาการที่แตกต่างกันออกไปหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็น กรดไหลย้อน ท้องผูก ลำไส้แปรปรวน กลืนลำบาก หรือกลั้นอุจจาระไม่ได้ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ที่มาเข้ารับบริการในหน่วยนี้ จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนและกลุ่มที่มีภาวะท้องผูก โดยในกลุ่มกรดไหลย้อน จะมีการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร (24/48/96 pH Monitoring) เป็นการตรวจบันทึกค่ากรดหรือด่างในหลอดอาหาร เพื่อวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของภาวะกรดไหลย้อนในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะกรดไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร แต่อาการไม่แน่ชัด หรือผู้ป่วยที่มีกรดไหลย้อนอยู่เดิมหลังได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น รวมไปถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วไม่สามารถหยุดยาลดกรดได้ ซึ่งการตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่างในกลุ่มนี้จะตรวจวัดความเป็นกรดในหลอดอาหาร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบมีสาย คือใส่สายเข้าไปทางโพรงจมูก สายจะยาวลงไปถึงบริเวณเหนือหูรูดของหลอดอาหารเล็กน้อย กับแบบที่ 2 เป็นแบบแคปซูล ซึ่งจะต้องอาศัยการส่องกล้องเข้าไปติดแคปซูลที่หลอดอาหารส่วนปลาย ทั้ง 2 แบบจะมีเครื่องเล็กๆ ติดไว้กับตัวตลอดเวลา ทั้งแบบสายหรือแคปซูลที่มีเซนเซอร์ เพื่อส่งผลกลับมาที่ตัวเครื่อง ข้อดีคือ ทำให้เรารู้ในตัวรายละเอียดมากยิ่งขึ้น ว่าพฤติกรรมประจำวันของคนไข้ตรงไหนที่ไปกระตุ้นการหลังกรดมาก หรือยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่เพียงพอหรือไม่ต่อการยับยั้งการหลั่งกรดและผู้ป่วยมีโอกาสในการหยุดยาได้หรือไม่สำหรับกลุ่มคนไข้ที่เป็นกรดไหลย้อน ซึ่งจากเทคโนโลยีการตรวจเพิ่มเติมในลักษณะนี้ทำให้แพทย์ได้ข้อมูลในรายละเอียดเพิ่มเติม ประกอบกับเพื่อวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่มาด้วยอาการลักษณะของกรดไหลย้อนได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับการตรวจในผู้ป่วยกลุ่ม 2 ที่มีอาการท้องผูก เราจะใช้เทคนิคการตรวจวัดความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนัก แรงเบ่งจากลำไส้ตรงและวัดการรับรู้และการตอบสนองต่ออุจจาระที่มาอยู่บริเวณลำไส้ตรง โดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า High-Resolution Anorectal Manometry เป็นการตรวจวัดความสัมพันธ์ระหว่างการทำงาน 3 อย่างในระหว่างการขับถ่ายซึ่งถ้าผิดปกติจะที่สามารถส่งผลให้เกิดภาวะท้องผูกเรื้อรังได้ การรับรู้ถึงความรู้สึกของลำไส้ตรงต่ออุจจาระเคลื่อนมาอยู่ที่อยู่ในลำไส้ตรงโดยอาศัยบอลลูน การประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อในเชิงกรานที่มีผลต่อการเบ่งและแรงเบ่งถ่าย และ การประเมินการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนัก ถ้าทั้งสามสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นอย่างปกติและต่อเนื่องสอดคล้องกัน ก็จะก่อให้เกิดภาวะท้องผูกเรื้อรังชนิดหนึ่ง (Dyssynergic defecation) ได้ 30 – 40 % ของผู้ป่วยท้องผูกทั้งหมด ซึ่งก็นำไปสู่การรักษาที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น และเป็นภาวะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยไม่ต้องกลับไปใช้ยาระบายอีก ข้อดีของการตรวจในลักษณะนี้สามารถทำให้แพทย์แยกชนิดของผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูกออกมาได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น

นอกจากนั้นการตรวจวัดความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ เรายังสามารถนำมาตรวจและวินิจฉัยในผู้ที่ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ ( Fecal Incontinence ) ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschprungs' disease) และรวมถึงสามารถตรวจเพื่อประเมินการทำงานของแรงดันบริเวณลำไส้ตรงและกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนัก ก่อนทำผ่าตัด โดยเทคนิคการตรวจวัดแบบ 3 มิติ(3D High-Definition Anorectal Manometry) จะสามารถแสดงเป็นโครงภาพ 3 มิติ ซึ่งทำให้สามารถเห็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนัก หรือ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับถ่ายในเชิงกรานได้อย่างชัดเจนขึ้น ทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้นในผู้ป่วยที่มีการกลั้นอุจจาระได้ไม่ดี หรือ การวางแผนผ่าตัดในผู้ป่วยบางรายที่การผ่าตัดนั้นๆ อาจมีผลต่อกล้ามเนื้อหูรูดได้ด้วย ทั้งนี้การเลือกชนิดการตรวจต้องพิจารณาตามความเหมาะของโรคและดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการตรวจและรักษา นอกจากการตรวจแล้วยังสามารถใช้เทคโนโลยีในลักษณะเดียวกันเพื่อนำมาใช้ในการรักษาท้องผูกชนิด Dyssynergic defecation และ ภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence) ได้อย่างเป็นผลดีด้วย

รพ. กรุงเทพ เปิดตัวหน่วยการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร (GI Motility Unit) พร้อมเทคโนโลยีช่วยตรวจรักษาโรคท้องผูกและกรดไหลย้อน รพ. กรุงเทพ เปิดตัวหน่วยการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร (GI Motility Unit) พร้อมเทคโนโลยีช่วยตรวจรักษาโรคท้องผูกและกรดไหลย้อน รพ. กรุงเทพ เปิดตัวหน่วยการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร (GI Motility Unit) พร้อมเทคโนโลยีช่วยตรวจรักษาโรคท้องผูกและกรดไหลย้อน
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit