TPIPP ดีเดย์ เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 5 เม.ย.นี้ เดินหน้าขยายอาณาจักรโรงไฟฟ้าอีก 3 โรง เพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งเป็น 440 MW หนุนการเติบโต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ หรือ TPIPP ผู้ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมถึงธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ (NGV) เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ 5 เม.ย.นี้ ด้านผู้บริหารเดินหน้าขยายอาณาจักรโรงไฟฟ้า เร่งก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่อีก 3 โรง คาดเริ่ม COD ได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ ดันกำลังการผลิตติดตั้งเพิ่มเป็น 440 MW จากปัจจุบันอยู่ที่ 150 MW พร้อมลงทุนปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้งที่มีอยู่เดิมและติดตั้งเครื่องคัดแยกขยะเพื่อใช้งานที่หลุมฝังกลบของบริษัทจัดการขยะ รวมถึงเตรียมลงทุนซื้อหม้อผลิตไอน้ำเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
          นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP เปิดเผยว่า บริษัทฯ พร้อมนำหุ้นเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 5 เมษายนนี้ เป็นวันแรก โดยใช้ชื่อย่อ'TPIPP' ในการซื้อขาย หลังได้เสนอขายหุ้น IPO จำนวน 2,500 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้น ประชาชนทั่วไปและนักลงทุนสถาบัน ในราคาหุ้นละ 7 บาท และได้รับความสนใจอย่างคึกคัก โดยบริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุน ไปใช้ลงทุนในโครงการต่างๆ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนรวมถึงชำระหนี้คงค้าง
          ทั้งนี้ TPIPP เป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมถึงธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทาง'ขยะเป็นศูนย์' หรือ Zero Waste เพื่อเป็นผู้นำในธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และมีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตไฟฟ้า รวมถึงคำนึงถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
          "เรามีวิสัยทัศน์ก้าวเป็นผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า โดยใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและมีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตไฟฟ้า จากการนำขยะจากชุมชนและขยะจากหลุมฝังกลบมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง RDF ที่มีค่าความร้อนสูง เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะเดียวกัน เรามีจุดยืนการทำธุรกิจด้วยแนวคิด Clean and Green Energy, Clean Up Country ที่จะช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจำนวนมากในแต่ละวัน" นายประชัย กล่าว
          นายภากร เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ TPIPP กล่าวว่า บริษัทฯ มีธุรกิจหลัก 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ได้แก่ ธุรกิจโรงไฟฟ้าที่มุ่งเน้นโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีโรงไฟฟ้าที่ COD แล้ว 4 โรง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 150 MW ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ 2 โรง กำลังการผลิตติดตั้งโรงละ 20 MW และ 60 MW รวมเป็น 80 MW ปัจจุบันมี กฟผ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจำนวน 73 MW และได้รับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ที่ 3.50 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มเติมจากค่าไฟฟ้าพื้นฐานเป็นเวลา 7 ปีนับจากวันที่เริ่มซื้อขายไฟฟ้า และมีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้งอีก 2 โรง กำลังการผลิตติดตั้งโรงละ 40 MW และ 30 MW รวมเป็น 70 MW โดยมี บมจ.ทีพีไอ โพลีน เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้า
          พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังมีสถานประกอบการผลิตเชื้อเพลิง RDF ที่นำขยะจากชุมชนและขยะจากหลุมฝังกลบในพื้นที่ต่างๆ มาผ่านกระบวนการคัดแยกและแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง RDF เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยปัจจุบันมีความสามารถรับขยะชุมชนเข้าสู่กระบวนการผลิต 4,000 ตันต่อวัน สามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF ได้ 2,000 ตันต่อวัน
          ส่วนธุรกิจหลักกลุ่มที่สองคือ ธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ (NGV) ภายใต้เครื่องหมายการค้า'ทีพีไอพีแอล' (TPIPL) รวม 12 แห่ง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีรายได้จากการขายอินทรียวัตถุที่เหลือใช้จากสถานประกอบการผลิตเชื้อเพลิง RDF ให้แก่บริษัท ทีพีไอ โพลีน ชีวะอินทรีย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตปุ๋ยชีวภาพ โปรไบโอติกส์เพื่อการเลี้ยงสัตว์และการกำจัดสิ่งปฏิกูลในน้ำอีกด้วย 
          กรรมการผู้จัดการใหญ่ TPIPP กล่าวว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงไฟฟ้าอีก 3 โรง คาดจะเริ่ม COD ได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ทั้งหมด ส่งผลให้มีกำลังการผลิตติดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 290 MW รวมเป็น 440 MW ประกอบด้วย 1.โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ 70 MW ซึ่งหลังก่อสร้างแล้วเสร็จจะนำกำลังการผลิตติดตั้งไปรวมกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง 30 MWเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ 100 MW เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. 2.โรงไฟฟ้าถ่านหิน 150 MW และ 3.โรงไฟฟ้าถ่านหินและพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ 70 MW ที่ออกแบบให้ผลิตไฟฟ้าสำรองป้อนให้แก่โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ60 MW หรือโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ 70 MW โรงใดโรงหนึ่ง ในกรณีที่เครื่องจักรชำรุด
          ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างขยายสถานประกอบการผลิตเชื้อเพลิง RDF ให้สามารถรับขยะชุมชนได้เพิ่มขึ้นเป็น 6,000ตันต่อวัน จากเดิม 4,000 ตันต่อวัน ซึ่งจะนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ตันต่อวัน จากเดิม 2,000 ตันต่อวัน นอกจากนี้ ยังมีแผนปรับปรุงโรงไฟฟ้าในปัจจุบัน ได้แก่ การปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้งเพื่อเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตไฟฟ้าและโครงการติดตั้งเครื่องคัดแยกขยะเบื้องต้นเพื่อใช้งานที่หลุมฝังกลบของบริษัทจัดการขยะ คาดว่าทั้ง 2โครงการจะแล้วเสร็จในไตรมาส 2 ปีนี้ รวมถึงมีโครงการลงทุนซื้อหม้อผลิตไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิง RDF อีก 2 เครื่อง เพื่อสำรองให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ 60 MW และ 70 MW คาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการได้ภายในไตรมาส 1 ปี 2561
          นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า ธุรกิจของ TPIPP มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี เนื่องจากอยู่ระหว่างขยายโรงไฟฟ้าอีก 3 โรง ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานในอนาคต ประกอบภาครัฐมีนโยบายให้การส่งเสริมธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นส่วนสำคัญในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศและเป็นช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานซึ่งเป็นเป้าหมายของประเทศ รวมถึงยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศระหว่างปี 2557-2579 ที่คาดว่าจะเพิ่มในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.7 ต่อปี
          นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าของ TPIPP มีจุดเด่นและความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน โดยมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการขยะ ตลอดจนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมในการคัดแยกขยะในประเทศไทย และสามารถนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง RDF ที่ให้ค่าความร้อนสูงซึ่งจะส่งผลดีต่อการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ TPIPP ยังได้รับประโยชน์จากการจัดหาความร้อนทิ้งในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ และการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ บมจ.ทีพีไอ โพลีน ในฐานะบริษัทแม่อีกด้วย
          นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า TPIPP เป็นบริษัทฯ ที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดี เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจด้านโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะและโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง โดยปี 2559 TPIPP มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีกำไรสุทธิ 1,824.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 270% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 493.36 ล้านบาท และมีรายได้รวม 4,433.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58.62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีรายได้รวม 2,794.83 ล้านบาท
TPIPP ดีเดย์ เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 5 เม.ย.นี้ เดินหน้าขยายอาณาจักรโรงไฟฟ้าอีก 3 โรง เพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งเป็น 440 MW หนุนการเติบโต
 
TPIPP ดีเดย์ เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 5 เม.ย.นี้ เดินหน้าขยายอาณาจักรโรงไฟฟ้าอีก 3 โรง เพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งเป็น 440 MW หนุนการเติบโต
 
 

ข่าวตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย+ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศวันนี้

จีเอเบิล ขึ้นเครื่องหมาย XD 30 เมษายนนี้ ในอัตราหุ้นละ 0.2703 บาทต่อหุ้น จ่ายปันผลในเดือนพฤษภาคม

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ GABLE เปิดเผยว่าภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทฯ มุ่งมั่นในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องภายใต้ผู้นำด้าน "Tech Enabler" ในปี 2567 บริษัทฯ ได้ต่อยอดความสำเร็จสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยกลุ่มบริษัท ขยายการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท ราวด์ ทู โซลูชั่นส์ จำกัด (R2) ในสัดส่วนร้อยละ 75 โดย R2 เป็นผู้นำด้านที่ปรึกษาระบบ Enterprise Resource Planning

ก.ล.ต. ผ่อนผันให้ SAM นำส่งรายงานผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งการให้บริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (SAM) ส่งรายงานผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ตามที่ SAM...

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDL... "เงินติดล้อ" ผนึกตลาดหลักทรัพย์ฯ แบ่งปันไอเดีย การสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีในองค์กร — บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โดย คุณมิ่งขวัญ ประเสริ...

"ออนไลน์ แอสเซ็ท" เปิดตัวโครงการ 'THE INF... เปิดตัวโครงการ 'THE INFLUENCER : FINANCIAL & INVESTMENT' ครั้งแรกในไทย ยกระดับการเผยแพร่ข้อมูลการเงินการลงทุนผ่านอินฟลูเอนเซอร์คุณภาพ — "ออนไลน์ แอสเซ็ท" ...

"น้าแดง" จรูญพันธ์ วัฒนวงศ์, หัวหน้าฝ่ายว... "จรูญพันธ์ วัฒนวงศ์ จาก Liberator" ร่วมเวทีสัมภาษณ์ในงานสมาคมนักวิเคราะห์ฯ 2568 ตัวแทนเสียงนักวิเคราะห์ไทย — "น้าแดง" จรูญพันธ์ วัฒนวงศ์, หัวหน้าฝ่ายวิจัย...

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิ... THNIC จับมือ SET และ ICANN จัดงาน UA Day 2025 ใช้โดเมนและอีเมลภาษาไทย ปูทางธุรกิจไทยก้าวสู่สากล — มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) ร่วมกับตลาดห...

นายสุรนาถ กิตติรัตนเดช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ... RBF โชว์ศักยภาพธุรกิจ-แผนขยายตลาด ตปท. งาน "Thailand Earning Call" ปังธง ปี 68 รายได้รวม โต 10-15% — นายสุรนาถ กิตติรัตนเดช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและก...

ดร. วิกร ภูวพัชร์ (คนกลาง) ประธานเจ้าหน้า... "FTI" Opportunity Day Year End 2024 สรุปผลงานปี 67 ฉายภาพธุรกิจปี 68 เดินหน้าขยายธุรกิจทั้ง Offline และ Online — ดร. วิกร ภูวพัชร์ (คนกลาง) ประธานเจ้าหน้า...

นางสาวสุภากาญจน์ กิจโกศล ประธานเจ้าหน้าที... "MEDEZE" โชว์ศักยภาพธุรกิจ ในงาน Opp Day Year End 2024 — นางสาวสุภากาญจน์ กิจโกศล ประธานเจ้าหน้าที่สายบัญชีและการเงิน บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรื...

4 เสาหลักองค์กรธุรกิจ "กรมพัฒนาธุรกิจการค... กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จับมือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมลงนาม MOU โครงการ Family Business Thailand — 4 เสาหลักอง...